2 เม.ย. 2021 เวลา 14:08 • สุขภาพ
🔺หลังฉีดวัคซีนโควิด 19 ควรสังเกตอาการอะไรบ้าง?
🔺อาการลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดพบได้บ่อยไหม? และเกิดหลังฉีดวัคซีนชนิดใด ?
🔺VIPIT คืออะไร?
(ภาพจาก (tommy/DigitalVision Vectors, Getty Images)
ประเทศยุโรปที่มีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ของบริษัท AstraZeneca เป็นจำนวนมาก ถึง 5 ล้านโด๊ส (รายงานถึงวันที่ 10 มีนาคม 2021 ) ให้กับประชากรอายุ 18-64 ปี
ในจำนวนนี้ พบ 30 รายที่มีลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดดำ(Venous Thrombosis -VT)
☀️ลิ่มเลือดอุดตัน เป็นผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนหรือเป็นเหตุที่พบร่วมกันแต่ไม่เกี่ยวข้องกัน?☀️
คำถามนี้ค้างคาใจแพทย์ และนักวิจัยทางการแพทย์เช่นกันค่ะ
เขาต้องตามกลับไปดูในอดีต ว่า กลุ่มประชากร อายุ 18-64 ปี ตามปกติในยุโรปจะพบโรค VT (ลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดดำ)กี่รายในแต่ละปี
เส้นเลือดอุดตันที่ขา ภาพจากhttp://nursingexercise.com/deep-vein-thrombosis-causes-symptoms/
มีจดหมายจากประเทศเดนมาร์ก ลงเป็นบทความใน Lancet
( www.thelancet.com Published online March 30, 2021
รายงานการศึกษาประชากรของเดนมาร์ค ระหว่างวันที่ 1 มค 2010 ถึง 30 พย 2018
ในกลุ่มคนอายุ 18-64 ปีเพื่อดูว่า มีอุบัติการณ์เกิด VT จำนวนเท่าไร
พบผู้ที่เป็น VT 0.91 ต่อ ประชากร 1,000 ต่อปี หรือ ถ้าคำนวณต่อประชากร 5 ล้านคน (เท่ากับจำนวนที่ฉีดวัคซีน) จะพบ VT 91 รายต่อสัปดาห์ หรือ 398 รายต่อเดือน
เมื่อไปเทียบกับจำนวน VT ที่เกิดหลังฉีดวัคซีน AstraZeneca 30 ราย ต่อ 5ล้านคน ก็ถือว่า ไม่เกินจำนวนที่พบโรคนี้ในประชากรทั่วไปในกลุ่มอายุเดียวกัน
ดังนั้น EMA (European Medical Agency) จึงสรุปว่า
“เหตุการณ์ที่เกิดลิ่มเลือดในคนที่ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca ไม่สูงกว่าประชากรทั่วไป” และแนะนำให้ฉีดวัคซีนนี้ต่อไปได้ เพราะ
“🔺ประโยชน์ที่ได้รับจากการฉีดวัคซีน มีมากกว่าความเสี่ยง”🔺
อย่างไรก็ตามทางการแพทย์ก็ยังไม่นิ่งนอนใจ แต่จะมีการเฝ้าระวังอาการข้างเคียง VT ลิ่มเลือดอุดตันนี้ต่อไป
☀️VIPITคืออะไร?☀️
มีการรายงานในบทความที่ยังไม่ได้ ผ่าน peer review และยังไม่ได้ลงตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ เกี่ยวกับอาการเกล็ดเลือดต่ำ และมีลิ่มเลือดอุดตัน หลังจากฉีดวัคซีนของ AstraZeneca (อ้างอิง https://www.researchsquare.com/article/rs-362354/v1 )
เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า” VIPIT”
Vaccine -Induced Prothrombolytic Immune Thrombocytopenia
ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ และลิ่มเลือดอุดตัน จากการฉีดวัคซีน
1
จาก Scientific brief ของ COVID -19 Advisory for Ontario ประเทศ Canada ซึ่งใช้วัคซีนของ AstraZeneca ได้เขียนสรุปเรื่องเกี่ยวกับลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีนไว้ สรุปมาได้ดังนี้
Vaccine-Induced Prothrombotic Immune Thrombocytopenia (VIPIT)
เริ่มมีอาการ 4-20 วัน หลังฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ของ AstraZeneca
1
อาการ : ปวดศีรษะมาก ปวดคงที่ไม่หาย
มีอาการทางระบบประสาทเฉพาะที่ ,ชัก , ตามัว,หายใจไม่สะดวก ,เจ็บหน้าอก, ปวดท้อง ,แขน หรือขาบวมแดง .แขนหรือขา ซีด เย็น
VIPIT ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ และลิ่มเลือดอุดตันหลังการฉีดวัคซีนของ AstraZeneca มีอาการหลายอย่าง
คล้ายคลึงกับ Auto immune thrombosis ที่เกิดจากยา Heparin (Heparin- Induced Thrombocytopenia ย่อว่า HIT )
สถาบัน Paul Ehrlich Institute ของเยอรมัน พบว่า
ในคนไข้ที่เกิดอาการหลังฉีดวัคซีนดังกล่าว พบมี Antibody สารภูมิคุ้มกัน ที่กระตุ้นให้เกิด “ massive plalete activation” คือ เกล็ดเลือดทำงานมากขึ้นอย่างมโหฬาร จับกลุ่มกันเกิดลิ่มเลือดไปอุดตันตามเส้นเลือดต่างๆ
ต่อมา จึงมีปริมาณเกล็ดเลือดลดลง คล้ายกับภาวะ เกล็ดเลือดต่ำที่ชักนำให้เกิดโดย ยาHeparin (ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด)ที่เรียกชื่อว่า HIT (Heparin Induced Thrombocytopenia )
1.🌟พบภาวะ VIPIT ได้บ่อยแค่ไหน?
พบ 1/125,000 ถึง 1/ 1,000,000
คือพบได้น้อยมากๆค่ะ จริงๆแล้วก็ยังไม่มีหลักฐานว่า วัคซีนของAstraZeneca จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือด เมื่อเทียบกับประชากรทั่วๆไป
1
ตัวเชื้อโควิด 19 เอง ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันในคนไข้โควิดที่นอนในโรงพยาบาล 1 ใน 5 ราย
ดังนั้นทั้ง WHO อังกฤษ Canada และยุโรป ก็ยังแนะนำให้ฉีดวัคซีน AstraZeneca นี้ต่อไปได้
2. 🌟คนที่มีโอกาสเสี่ยงต่อ VIPIT คือใครบ้าง?
ไม่มีกลุ่มใดที่เสี่ยงมากกว่า คนอื่น ถึงแม้ว่าจะพบว่า ผู้หญิงอายุน้อยกว่า 55 ปี จะเป็นมากกว่า แต่ที่จริงในยุโรปก็ให้วัคซีนนี้ในกลุ่มคนที่อายุน้อยอยู่แล้ว
3. 🌟อาการอะไรบ้าง ที่ต้องคอยสังเกตว่าอาจเป็นVIPIT?
หลังจากฉีดวัคซีนไปแล้ว 4-20 วัน ให้สังเกตอาการต่อไปนี้
อาการของ เส้นเลือดดำใหญ่ในสมองอุดตัน เช่น ปวดศีรษะมาก หรือปวดตลอดเวลาไม่หาย , อาการทางระบบประสาทเฉพาะที่ ร่วมกับตามัว
อาการเส้นเลือดดำอุดตันที่อวัยวะอื่นๆ เช่น ปอด ช่องท้อง แขนขา
-อาการหายใจไม่สะดวก , เจ็บหน้าอก
-ปวดท้อง
-แขน หรือขา บวมแดง ที่เพิ่งเป็น
-แขน หรือขาสีซีด หรือ เย็น
1
ในเดือนหน้า ถ้าจะมีการฉีดวัคซีนนี้ในประชาชนจำนวนมากขึ้น ก็ควรมีการเตือนให้ระมัดระวังอาการที่อาจพบได้น้อยมากนี้ไว้ด้วยค่ะ
ภาพแผนภูมิสำหรับแพทย์ เพื่อสืบค้นต่อเมื่อพบผู้มีอาการสงสัย VIPIT หลังจากได้รับวัคซีนAstraZeneca
ถ้ามีอาการที่ต้องสงสัยหลังฉีดวัคซีน 4-20 วัน ให้ตรวจเลือดดูเกล็ดเลือด ถ้าต่ำกว่า 150,000/ mm3 ให้ส่งดู D dimer , blood smear และx ray อวัยวะที่สงสัย
ถ้าเป็นผลบวก ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา
☀️หลังฉีดวัคซีนป้องกีนโควิด เราจะเฝ้าระวังอาการอะไรบ้าง?
วัคซีนที่ฉีดขณะนี้มี 2 ชนิด คือ
1.วัคซีน Coronavac จากบริษัท Sinovac ประเทศจีน ทำจากเชื้อไวรัสที่ตายแล้ว ฉีดในคนที่มีอายุ 18-59 ปี
ผลข้างเคียงไม่รุนแรง หรือรุนแรงปานกลาง คือเจ็บบริเวณที่ฉีด และเป็นไข้ เกิดภายใน 7 วันหลังฉีด และ อาการเป็นอยู่ไม่เกิน 2 วัน
2.วัคซีนจากบริษัท AstraZeneca ร่วมกับ มหาวิทยาลัย Oxford เป็นชนิดที่ใช้ไวรัส ชื่อ Adenovirus เป็นพาหนะนำ (Viral vector)
ฉีดในผู้ที่อายุเกิน 60 ปี
พบอาการข้างเคียง
86% ในกลุ่มอายุ 18-55 ปี
77% ในกลุ่มอายุ 56-69 ปี
65% ในกลุ่มอายุเท่ากับและมากกว่า 70ปี
1
พบอาการข้างเคียงได้บ่อย แต่ไม่รุนแรง
อาการข้างเคียงที่พบได้ : เหนื่อยอ่อน หนาวสั่น ไข้ ปวดศีรษะ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้
บทความโดย พญ ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล กุมารแพทย์
อ้างอิง
2.Thromboembolism and the Oxford–AstraZeneca COVID-19 vaccine: side- effect or coincidence?
The Lancet
Published Online

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา