5 เม.ย. 2021 เวลา 13:05 • ประวัติศาสตร์
นี่คือ…“คนสำคัญ” ที่ทุกฝ่ายกำลังจ้องมอง “การขยับตัว” หลังจากเหตุการณ์ยึดอำนาจในประเทศเมียนมาที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564
เป็นผู้นำกองทัพรัฐชานภาคใต้ ดำรงตำแหน่ง ประธานสภาเพื่อการกอบกู้รัฐชาน (RCCS) และเป็นหัวหน้ากองกำลังกู้ชาติไทใหญ่
2
พลเอก เจ้ายอดศึก (General Sao Yawd Serk)
ท่านสำเร็จการศึกษา รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี…พูดภาษาไทยได้ชัดเจน เคยให้สัมภาษณ์สื่อไทยนับไม่ถ้วน…
ใกล้ชิด สนิทกับ บุคคลสำคัญของไทย มีท่าทีชัดเจน ตรงไป-ตรงมา เป็นผู้นำทางทหาร เป็นนักการทูต นักพัฒนา
2
เคยปรากฏเป็นข่าวในงานรับปริญญาของภรรยาในประเทศไทย…
3
19 มกราคม 2563 นางอำนวยพร ยอดบัญชา หรือนางเหลินคำ หรือพี่เดือน ภรรยาของ พล.อ.เจ้ายอดศึก เข้ารับปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ ณ มหาวิทยาลัยนอร์ธ-เชียงใหม่
หลังจากรับปริญญาแล้ว พล.อ.เจ้ายอดศึก ได้เข้าบันทึกภาพร่วมกับคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
2
ผศ.บงกช สุทัศน์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยอธิการบดี กล่าวว่า นางอำนวยพรเรียนจบอยู่ในเกณฑ์ระดับดี มีความตั้งใจในการเรียนดีมาก ตั้งใจจะนำวิชาความรู้ที่ได้ไปใช้บริหารพัฒนารีสอร์ตที่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ (ข่าวสด 19 ม.ค.63)
4
เจ้ายอดศึก…เป็นผู้มีบทบาทนำในหลายวิกฤตการณ์ของเมียนมา…
3
การสู้รบยาวนาน ยืดเยื้อกว่า 60 ปี ในแผ่นดินเมียนมา ประชาชนลำบากยากแค้น แบ่งฝ่ายสู้รบกันเอง แถมยังต้องรบกับกองทัพพม่า
1
สงครามในเมียนมา มีกลุ่มติอาวุธมากมาย หลายกลุ่ม จับคู่เปลี่ยนข้าง ย้ายค่ายกัน จำไม่ไหว ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง
2
การยึดอำนาจของกองทัพพม่าครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 1 ก.พ.64 กลายเป็น “จุดผกผัน” ที่ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ที่เคยกระจัดกระจายต่างคนต่างอยู่…หันมา “จับมือกัน” เป็นปึกแผ่น “ขอคัดค้านการยึดอำนาจ”
1
ผ่านมาราว 60 วัน…พอเห็นภาพได้ว่า… กองทัพพม่ากำลังเผชิญกับ กองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ราว 10 กลุ่ม… การสู้รบเกิดขึ้นแล้วใน “ลักษณะจำกัด”
3
หลังการยึดอำนาจ พล.อ.เจ้ายอดศึก จัดประชุมทางซูม (Zoom) เป็นผู้แทนของกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมาแถลงต่อสังคมโลก “ไม่เห็นด้วย”
9
เป็น “ท่าที-ก้าวย่าง” ที่แหลมคม บาดใจต่อกองทัพพม่ายิ่งนัก
1
พล.อ.เจ้ายอดศึก เป็นใคร …
พล.อ.เจ้ายอดศึกเกิดเมื่อ พ.ศ.2502 ในเขตรัฐชานภาคใต้ เมื่อเป็นหนุ่มฉกรรจ์ อายุ 17 ปี เข้าร่วมกับกองกำลังปฏิวัติแห่งชาติรัฐชาน (Shan United Revolution Army : SURA)
4
SURA ภายใต้การนำของเจ้ากอนเจิง (โมเฮง) ที่ต่อมาไปเข้ารวมกลุ่มกับกองทัพเมิงไต (เมืองไต) ของ “ขุนส่า” ราชายาเสพติดในอดีต
1
พ.ศ.2539 ขุนส่าประกาศหยุดยิง นำไพร่พลประชาชนนับหมื่นหันไปสวามิภักดิ์กับรัฐบาลทหารพม่า ส่งมอบอาวุธของกองทัพเมิงไตให้กับกองทัพพม่า
5
เจ้ายอดศึกที่ไม่เห็นด้วย… ขอแยกตัวออกมาตั้งกองทัพของตนเองขึ้น จากกำลังพลเริ่มแรกราว 600-800 คนในอดีต (ปัจจุบัน SSA มีกำลังทหารที่ประเมินกันว่าอาจจะมากถึง 20,000 นาย)
3
ศึกสงครามในเมียนมา รบกัน-หยุดพัก-เจรจา-รบกัน เกิดกลุ่มใหม่ มีองค์กรใหม่ เป็นวังวนเช่นนี้…เป็นเรื่องที่สับสนอลหม่าน…ยากที่จะจำ
1
ที่ไหนรบกัน ที่นั่นก็มักจะมีการแอบเจรจา ไม่ใช่เรื่องแปลก…
ในช่วงที่ เต็ง เส่ง เป็นประธานาธิบดีเมียนมา (ระหว่าง พ.ศ.2550-2554) เจ้ายอดศึก คือ บุคคลสำคัญที่นำสภาฟื้นฟูรัฐชาน (RCSS) เข้าสู่กระบวนการเจรจาสันติภาพ
2
ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ของพม่า ได้ตกลงในหลักการที่จะให้มีผู้แทนของ RCSS นั่งร่วมกับรัฐบาลพม่า
2
ชาวไทใหญ่ที่เบื่อหน่ายการสู้รบ ที่ลำบากยากแค้น…แสนจะดีใจ
3
คนงานอพยพชาวไทใหญ่ในเชียงใหม่ประเทศไทยพูดว่า “ถ้าเราสามารถสร้างสันติภาพได้ก็จะดีสำหรับคนรัฐชานเพราะเราจะได้กลับบ้าน”
3
การเจรจา พูดคุย ต้องมีกองกำลัง ต้องมีอำนาจต่อรอง…
2
กลุ่มของเจ้ายอดศึก และ รัฐบาลพม่า เคยมีปัญหาในการพูดคุย ประเด็นหลักคือ “สถานที่พูดคุย” อันเป็นประเด็นที่ไม่ไว้ใจกัน ระแวงกันมาตลอด
รัฐบาลพม่า…ประสงค์ที่จะประชุมที่ “เมืองท่าขี้เหล็ก” ซึ่งเป็นเมืองของพม่าในรัฐชานติดชายแดนไทย ในขณะที่กลุ่มของเจ้ายอดศึกยืนกรานที่ อ.แม่สาย ตรงข้ามท่าขี้เหล็กใน จ.เชียงราย
1
เจ้ายอดศึก เป็นผู้นำกองกำลังกลุ่มรัฐชานทางใต้ (SSA-S)
1
ป่าง ฟ้า เป็นผู้บัญชาการกองทัพรัฐชานเหนือ (SSA-N)
2
ทั้ง 2 กลุ่ม เป็นพันธมิตรกัน อยู่ในรัฐชาน เคยกอดคอกันต่อสู้กับกองทัพพม่า เพื่อเรียกร้องการปกครองตนเอง เจ้ายอดศึก คือ บุคคลที่กดดันรัฐบาลของ เต็ง เส่ง ให้จัดการเลือกตั้งในเมียนมาในปี พ.ศ.2554
1
เจ้ายอดศึก มีความเป็นผู้นำสูง ที่ผ่านมาประสบความสำเร็จในความร่วมมือกับพันธมิตรที่ต่อต้านรัฐบาลพม่า ทั้งปะโอ ละหู่ มอญ ว้า ฯลฯ เดินงานการเมืองเรียกร้องให้พม่าปฏิบัติตามสนธิสัญญาปางโหลง
1
7 กุมภาพันธ์ของทุกปี ถือเป็น “วันชาติไทใหญ่”
เมื่อปี พ.ศ.2554 เจ้ายอดศึก ผู้นำ SSA-S ได้เปิดพื้นที่ดอยไตแลง จัดงานฉลองโอกาสครบรอบ 64 ปี วันชาติไทใหญ่ ท่ามกลางแขกเหรื่อ ซึ่งเป็นผู้นำทางการทหาร ผู้นำทางการเมือง ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในพม่า ที่ต่างเดินทางมาร่วมในงานนี้อย่างคับคั่ง
2
เจ้ายอดศึก มีบารมีเปล่งประกาย ควบคุมการรบ และเจรจา
2
ชาวไทใหญ่ที่เคยพลัดบ้าน พลัดเมือง คนที่เคยได้รับผลกระทบจากรัฐบาลทหารพม่า…ทยอยคืนถิ่นฐาน เข้ามาอยู่ร่วมมากขึ้น
1
เจ้ายอดศึก…สร้างโรงพยาบาลขนาด 20 เตียง สามารถถอนฟัน ทำคลอด ผ่าตัดเอากระสุนปืนออก ห้องแล็บตรวจเชื้อ มาลาเรีย HIV วัณโรค มีจานดาวเทียมที่รับข่าวสารทั่วโลกผ่านทางวิทยุ โทรทัศน์ ตลอดจนสถานีวิทยุคลื่น FM 103.25 MHz ที่ถ่ายทอดเสียงไปไกลถึงรัฐชานตอนกลาง
7
เจ้ายอดศึกจัดตั้งโรงเรียนนานาชาติดอยไตแลง ให้การศึกษาแก่ลูกหลานคนรุ่นใหม่ของชาวไต รวมถึงกลุ่มเด็กกำพร้าชาวไทใหญ่ ที่รับเข้ามาดูแล ส่งให้เรียนหนังสือ มีการสอน 3 ภาษาคือ ภาษาไต ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
5
ชาวไทใหญ่เริ่มเป็นปึกแผ่น แน่นหนา ได้รับการบ่มเพาะความรู้เรื่องความเป็นมาของชาติพันธุ์ให้กับชาวไต มีเป้าหมาย “เป็นเอกราช” เป็นอิสระจากการปกครองของรัฐบาลทหารพม่า
3
เจ้ายอดศึกและภรรยา สำเร็จการศึกษาในประเทศไทย ประกาศว่าจะจัดตั้งมหาวิทยาลัยเพื่อเยาวชนในรัฐชาน
2
ทำอะไรก็ “ได้ใจ-โดนใจ” ประชาชนชาวไทยใหญ่และกลุ่มชาติพันธุ์ที่มารวมตัวเป็นกลุ่มเดียวกันเป็นปึกแผ่น …เพื่อทวงคืนเอกราชจากพม่า
3
เจ้ายอดศึกเคยให้สัมภาษณ์ว่า… แม้ว่าพม่าจะผ่านการเลือกตั้งครั้งทั่วไปครั้งประวัติศาสตร์ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2553
1
เป็นการเลือกตั้งที่ไม่ได้รับการยอมรับ…จอมปลอม
เมื่อชนกลุ่มน้อยที่กระจัดกระจาย ต่างคนต่างอยู่ มีโอกาสได้พบปะพูดคุย มีผู้นำตัวจริงเกิดขึ้น ตัวแทนชน กลุ่มน้อยไม่ต่ำกว่า 12 กลุ่ม ทั้งที่เป็นกองกำลังติดอาวุธที่เคยทำสัญญาหยุดยิง และไม่ทำสัญญาหยุดยิงกับรัฐบาลพม่า รวมถึงตัวแทนจากกลุ่มการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย ได้ประชุมร่วมกันที่ชายแดนไทย-พม่าด้านจังหวัดตาก
2
โดยที่ประชุมได้มีมติตั้งชื่อกลุ่มว่า Union Nationalities Federal Council หรือ UNFC และได้แต่งตั้ง พล.อ.มูตู ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองทัพสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงอิสระ (Karen National Union: KNU) เป็นประธานกลุ่ม
2
การประชุมครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่องค์กรคะฉิ่น (KIO) องค์กรการเมืองของกองทัพเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independent Army) พรรครัฐมอญใหม่ (NMSP) และกองกำลัง Shan State Army เหนือ (SSA-N) ได้จับมือร่วมเป็นพันธมิตรกัน
2
ผ่านมาตั้งแต่ ปู่ ย่า ตา ทวด ทุกฝ่ายเคยต่อสู้กับรัฐบาลทหารพม่าเพื่อสิทธิความเสมอภาค การปกครองตนเองของชนกลุ่มน้อย และเพื่อให้เกิดประชาธิปไตยแบบสหพันธรัฐในพม่า
4
เรื่องปากท้อง การทำมาหากิน รายได้ ของชาวชานเป็นเรื่องที่ต้องดิ้นรน พี่จีนที่อยู่ทางตอนเหนือ ใส่ใจ ไม่ทอดทิ้ง เล็งเห็นการลงทุนขนาดใหญ่ในรัฐชาน
3
จีนไม่พลาดโอกาสทอง…โครงการท่อก๊าซธรรมชาติ และท่อน้ำมันของจีน จากทะเลอันดามัน พาดผ่านรัฐอาระกันของพม่ายาวราว 2,500 กิโลเมตร ขึ้นไปถึงมณฑลยูนนานของจีน ซึ่งบางส่วนต้องผ่านรัฐชาน ก็ตกลงกันได้
1
จากประสบการณ์ของผู้เขียน…มั่นใจเสมอว่า ปัญหาการสู้รบ ข้อพิพาท ทั้งปวงในโลกนี้…เป็นเรื่องของผลประโยชน์ เงิน ทอง… ถ้า “ลงตัว” ก็แฮปปี้
2
พญามังกรจีน คิดโครงการพัฒนาเส้นทางคมนาคม ทั้งถนน เส้นทางรถไฟ จากชายแดนจีน เข้าสู่ชายแดนพม่าแบบพลิกแผ่นดิน มีผลประโยชน์พาดผ่านเขตอิทธิพลของกองกำลังของคะฉิ่น และ SSA
5
ท่อก๊าซและน้ำมัน งานสร้างระดับโลก ประสบปัญหาไม่น้อย แต่ก็ลุล่วงไปได้ พื้นที่ที่ท่อพาดผ่าน ประชาชนได้รับการดูแล ทำให้พื้นที่สู้รบ ยากจน กลายเป็นสนาม
การค้า ผู้คนมีงานทำ มีรายได้ กินอิ่ม นอนอุ่น…
3
รัฐชาน มีพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ (Golden Triangle) ที่โด่งดังระดับโลกเรื่องยาเสพติด เป็นพื้นที่ชายแดนจีน-ไทย-ลาว แม่น้ำโขงไหลผ่าน เป็นประตูสู่จีนตอนใต้ มีทรัพยากรธรรมชาติอันอุดม
1
เมียนมา มีรายได้จากก๊าซและทรัพยากรธรรมชาติ มีต่างชาติ “ขาใหญ่” คือ ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ฝรั่งเศส รวมทั้งไทย เข้าไปลงทุนแบบท่วมท้น กำลังไปได้สวย แต่ก็สะดุดหยุดลงหลังจากวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564
1
โรงงานอุตสาหกรรมของจีน ถูกเผา 32 แห่ง …ประชาชนส่วนหนึ่งเชื่อว่า จีนสนับสนุนการยึดอำนาจ…มีการขู่จะทำลายท่อก๊าซและน้ำมัน
ชนกลุ่มน้อยส่วนใหญ่…ฝังใจ เชื่อว่าการสู้รบที่ฆ่าแกงกันทุกวันนี้ เพราะกองทัพพม่าเป็นผู้รุกราน เอาเปรียบ ดังนั้นการบรรลุข้อตกลงหยุดยิงที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพจึงต้องเริ่มจากกองทัพพม่า
ระหว่างเขียนต้นฉบับ ประชาชนในประเทศเมียนมาต่อสู้ ประท้วงอย่างหนาแน่นบนท้องถนน ในหลายเมือง ประชานชนสู้ยิบตา
5
ตำรวจในเมืองก็ปราบแบบ “มือหนัก” เต็มพิกัด ประชาชนเสียชีวิตไปแล้วกว่า 500 ราย ถูกจับกุมคุมขังอีกราว 2 พันคน เจ้าหน้าที่ของรัฐนัดหยุดงาน บ้านเมืองโกลาหล สหรัฐ และประเทศต่างๆ ในยุโรป สั่งให้เจ้าหน้าที่ทางการทูตของตน ทยอยออกนอกประเทศ…มันคือ สัญญาณร้ายของแผ่นดิน
1
การสู้รบเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ในป่าเขา ชนบท กองทัพอากาศพม่านำเครื่องบินรบมาทิ้งระเบิดในที่มั่น ชุมชนกะเหรี่ยงที่ติดกับชายแดนไทย จ.แม่ฮ่องสอน
4
ราชการไทยต้องรับมือกับผู้หนีภัยสงครามพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน
2
การ “จับกลุ่ม-รวมกำลัง” ของกลุ่มต่อต้านรัฐบาลเมียนมา กำลังดำเนินต่อไป มีมาเพิ่มอีก 3 กลุ่ม
1
… ปลายเดือนมีนาคม 2564 กองทัพของอาระกัน (AA) กองทัพของกลุ่มทะอาง (Ta Ang) และกลุ่ม MNDA ประกาศขอเข้าร่วมกับกลุ่มของเจ้ายอดศึก
1
“รัฐบาลคู่ขนาน” (CRPH) ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปี 2008 ที่ร่างโดยรัฐบาลทหาร …เรียกเสียงเชียร์จากทุกกลุ่มชาติพันธุ์
1
ศึกนี้ใหญ่หลวงนัก…“ไม่ง่าย ไม่หมู” เหมือนเหตุการณ์ปี 1988
4
เจ้ายอดศึก ผู้ถือหางเสือของกองกำลังฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหาร กำลังคิดอะไร จะกำหนดทิศทางการต่อสู้ จะเดินหมากตัวไหนอย่างไร
2
เหตุการณ์ตรงนี้…คือ จุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุด…อาจจะพลิกโฉมหน้า “ระบอบการปกครอง” ของประเทศนี้ไปชั่วนิรันดร์
1
ชาวพม่าประกาศว่า… “นี่ไม่ใช่สงครามของกลุ่มชาติพันธุ์ กับ กองทัพพม่า…
1
มัน คือ สงครามระหว่างฝ่ายประชาธิปไตย กับ ฝ่ายเผด็จการ…”
ขอแถม…เป็นข้อมูลของเจ้ายอดศึกนะครับ…
24 พ.ค.2562 พล.อ.เจ้ายอดศึก ประธานสภากอบกู้รัฐชาน (RCSS/SSA) ได้มาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ วัดแม่แตง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่โยมมารดาที่เสียชีวิต พร้อมลูกหลาน รวมทั้งสิ้น 8 คน
1
คนไทยที่เป็นเพื่อนบ้าน…ขอภาวนาให้ทุกฝ่าย พูดจาตกลงกัน แบ่งปัน สร้างความสงบสุขให้แผ่นดิน ลูกหลาน…
ช่วงเทศกาลสงกรานต์… ขอ “สันติภาพ” จงเกิดขึ้นในแผ่นดินเมียนมา
2
พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก
โฆษณา