5 เม.ย. 2021 เวลา 14:04 • สุขภาพ
บรรดาแพทย์และนักวิจัยด้านการแพทย์ในต่างประเทศเริ่มให้ความสนใจอาการเรื้อรังของผู้ป่วยโควิด-19 ที่เรียกกันว่า “ลองโควิด” หรือ “โพสต์โควิด” มากขึ้นตามลำดับ
3
ด้วยเหตุผลสำคัญที่ว่า “ลองโควิด ซินโดรม” หรือกลุ่มอาการป่วยที่ยังคงปรากฏให้เห็นแม้ว่าจะไม่มีเชื้ออยู่ในร่างกายนานแล้วนี้ ไม่เพียงพบในสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ยังพบว่ามีรายที่มีอาการรุนแรงจนต้องกลับเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลอีกครั้ง หรือแม้กระทั่งเสียชีวิตไปเลย เพิ่มจำนวนมากขึ้นด้วยอีกต่างหาก
1
นั่นหมายความว่า โรค “ลองโควิด ซินโดรม” ที่เกิดต่อเนื่องจากการติดเชื้อและป่วยเป็นโควิด-19 นี้ไม่เพียงมีจำนวนมากขึ้น ยังรุนแรงขึ้นอีกด้วย
1
ลองโควิด ซินโดรม เป็นกลุ่มอาการครับ ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นอาการที่เกิดเมื่อติดเชื้อก่อโรคโควิด-19 นั่นเอง แต่แม้จะผ่านการรักษาจนหาย คือไม่มีเชื้อในร่างกายแล้ว อาการเหล่านี้กลับคงอยู่ ในบางกรณีนานหลายเดือน ในอีกบางรายแพทย์เชื่อว่าอาจกลายเป็นโรคเรื้อรังของผู้ป่วยรายนั้นๆ ไปด้วยซ้ำ
2
ในรายงานทางการแพทย์ของมาโยคลินิกในสหรัฐอเมริกา บอกว่ากลุ่มอาการที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยในระยะยาวได้ มีตั้งแต่อาการอ่อนล้า, หายใจหอบ สั้นๆ ถี่ๆ, ไอ, ปวดตามข้อและเจ็บหน้าอก เรื่อยไปจนถึงอาการปวดกล้ามเนื้อ, ปวดข้อ, ปวดหัว, หัวใจเต้นแรงและเร็ว, ไม่ได้กลิ่นและไม่รู้รส, มีปัญหาด้านความจำ สมาธิ หรือการนอนหลับ สุดท้ายคืออาการเกิดผื่นแดงและผมร่วง
3
อาการเหล่านั้นอาจเป็นๆ หายๆ อยู่อย่างต่อเนื่อง แต่ที่จะเป็นปัญหาหนัก เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการที่โควิด-19 เข้าไปทำลายบางส่วนของอวัยวะสำคัญอย่างปอด หัวใจ และสมอง
1
ผู้ป่วยโควิดที่มีอาการปอดอักเสบนั้น มีโอกาสสูงมากที่จะเกิดความเสียหายถาวรขึ้นกับปอด คือบริเวณเนื้อเยื่อที่มีถุงลมอยู่ถูกทำลาย ทำให้เกิดปัญหากับระบบการหายใจในระยะยาวได้
4
เชื้อโควิด-19 อาจสร้างความเสียหายให้กับกล้ามเนื้อหัวใจแบบถาวรได้เช่นกัน แม้ว่าตอนติดเชื้ออยู่จะแสดงอาการเพียงเล็กน้อยก็ตาม ผลเสียหายที่เกิดขึ้นอาจเป็นที่มาของภาวะหัวใจล้มเหลวหรืออาการแทรกซ้อนของโรคเกี่ยวกับหัวใจอื่นๆ ได้ในอนาคต
2
ส่วนที่น่าวิตกที่สุดคือ การที่เนื้อสมองถูกโควิด-19 เข้าไปสร้างความเสียหาย ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการชักเกร็ง ภาวะสโตรก และโรคจีบีเอส ที่เกิดจากการอักเสบของเส้นประสาท ซึ่งเป็นที่มาของอาการอ่อนแรง ชา กล้ามเนื้อใบหน้าผิดปกติ มีปัญหาการเคลื่อนไหวลูกตา การกลืน เป็นต้น ผู้ป่วยลองโควิดที่มีอาการเกี่ยวกับสมองนี้ จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นพาร์กินสัน หรืออัลไซเมอร์สูงขึ้นอีกด้วย
2
ในงานวิจัยทางการแพทย์ที่สหราชอาณาจักร (ยูเค) ของนักระบาดวิทยา แดเนียล อายุบคานี และคณะ ซึ่งเผยแพร่ในวารสารวิชาการ บริติช เมดิคัล เจอร์นัล (บีเอ็มเจ) เมื่อ 1 เมษายนนี้ ระบุว่า ในบรรดาชาวอังกฤษ 4 ล้านรายที่ติดเชื้อ ต้องเข้าโรงพยาบาลมากกว่า 450,000 ราย โดยที่ราว 30 เปอร์เซ็นต์ในจำนวนนั้นเสียชีวิตในโรงพยาบาล
2
แต่ภายในระยะเวลา 140 วันมีผู้ที่ถูกปล่อยตัวออกจากโรงพยาบาลแล้วมากถึง 1 ใน 3 ต้องกลับเข้ารักษาตัวใหม่ และ 1 ใน 10 ของผู้ที่หายป่วยออกจากโรงพยาบาลแล้วนั้นเสียชีวิต คิดเป็น 17.7 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลอีกครั้ง ซึ่งสูงมาก
2
ที่สำคัญก็คือ งานวิจัยชิ้นนี้บอกว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับการรักษาจนออกจากโรงพยาบาลได้แล้วนั้น มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจใหม่อีกครั้งสูงกว่าคนทั่วไปถึง 6 เท่า, เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสูงขึ้น 3 เท่า, โรคตับเรื้อรัง 2.8 เท่า, โรคไตเรื้อรัง 1.9 เท่า และโรคเบาหวาน 1.5 เท่าตัว เมื่อเทียบกับคนปกติทั่วไป
เหล่านั้นคืออิทธิฤทธิ์ของ “ลองโควิด ซินโดรม” ละครับ
2
ในงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งในยูเคบอกเอาไว้ว่า กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโควิด-19 ในอังกฤษ ยังคงมีอาการโควิด (หรือลองโควิด ซินโดรม) อยู่นานถึง 3 เดือนหลังจากถูกปล่อยตัวจากโรงพยาบาลให้กลับบ้าน
อาการป่วยลองโควิด ซินโดรมที่เกิดขึ้นแล้วร้ายแรงที่สุด เกิดกับผู้ป่วยโควิดที่อายุต่ำกว่า 50 ปีลงมา และเกิดกับผู้ป่วยสตรีมากกว่าผู้ชาย
งานวิจัยที่อินเดียพบว่า ปริมาณผู้ป่วยลองโควิด ซึ่งเดิมประเมินกันไว้ว่าจะอยู่ที่ราว 10 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยทั้งหมด กลับเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ในระยะหลัง
นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมแพทย์ทั้งที่อังกฤษและที่อินเดีย ถึงต้องออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลเพิ่มงบประมาณค้นคว้าวิจัยและช่วยบริหารจัดการเตรียมความพร้อมเพิ่มมากขึ้น ในการรับมือกับลองโควิด ซินโดรม
1
ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในระยะยาวในอนาคตอันใกล้นี้ครับ
โฆษณา