8 เม.ย. 2021 เวลา 08:39 • ปรัชญา
พุทธะ ได้เปรียบเทียบการตั้งสายพิณไว้ 3 ระดับ ธรรมะ"ทางสายกลาง"
1
เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ที่มีสายไว้ดีด หรือดึงเพื่อให้เกิดการสั่นเป็นเสียงดนตรีออกมา หลักการตั้งสายที่ดีเพื่อให้เกิดเสียงที่ไพเราะ ได้ถูกใช้สอนให้เห็นธรรมะหรือความจริง สำหรับยึดถือปฏิบัติเพื่อให้ผู้ที่ปรารถนาที่จะมุ่งสู่ความสำเร็จ หรือเข้าใจในหลักธรรมพ้นทุกข์
เมื่อเรามีความปรารถนาในบางสิ่งอย่างแรงกล้า และพยายามทุ่มเทเพื่อให้ได้มันมา แต่ทำทุกหนทางตามที่รู้ ที่เห็น ตามอย่างคนอื่นก็แล้ว จุดประกายจากตัวเองก็แล้ว ก็ยังไม่สำเร็จสักครั้ง ปัญหาและอุปสรรคก็มากมาย หนทางสู่ความสำเร็จก็ยังดูลางเลือน ทุกข์ ท้อ หมดหวังก็จะตามมา
จะทำอย่างไรดี จะสลัดทุกข์นี้พ้นได้อย่างไร
ทุกข์แบบไหนที่เรียกว่าทุกข์ที่สุด
ทุกข์คือความจริงอันประเสริฐ ข้อที่1 ในอริยสัจ 4 ซึ่ง เรียกว่า
ทุกขสัจ 11 อย่าง คือ อุปทานขันธ์ 5 นั้นเอง
เนื่องจากแอดมินเองก็ไม่ใช่ผู้ที่ปราดเปรื่อง เลื่องลือหรือลึกซึ้งในธรรมะในระดับที่จะสามารถอรรถาธิบาย ได้อย่างละเอียดละออ ขอทำความเข้าใจเพื่อให้ผู้ที่แสวงหา ความสงบในใจได้นำไปพิจารณาด้วยเหตุผลแห่งตนในกาลต่อไป
อริยสัจ 4 ได้แบ่งทุกข์เป็น 2 ชนิด
1.ทุกข์ ประจำ(สภาวทุกข์)ทุกข์จากสังขารไม่มียกเว้น ได้แก่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย
2.ทุกข์จร(ปกิณณกทุกข์) ทุกข์ที่เกิดขึ้นมาเป็นช่วงๆในขณะที่ยังมีชีวิต
ความเศร้าโศก เพ้อรำพัน ไม่ได้ดังปรารถนา พลัดพรากจากสิ่งที่ชอบ ความน้อยใจ เสียใจ ความคับแค้นใจ ความไม่สมหวัง
ถ้าเราตระหนักรู้ว่า สิ่งที่เราเป็นทุกข์นั้นเกิดจากข้อใดใน 2 เหตุข้างตนแล้ว ลองพิจารณาด้วยเหตุผล ว่าผลของทุกข์นั้นเป็นอย่างไร เมื่อได้พิจารณาด้วยสติเป็นข้อๆแล้วว่า ปัญหาแห่งความทุกข์นั้น มีหนทางที่จะแก้ไขได้อย่างไร
สภาวทุกข์ ปัญหาจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ใครเลี่ยงหรือหนีพ้นความจริง แม้ศาสตร์ทั้งหลายกำลังมุ่งจะพัฒนาเพื่อชะลอให้ช้าลง แต่ก็คงยังหนีไม่พ้นได้ในปัจจุบัน มีความลับดำมืด ที่ยังเป็นปริศนา ไม่สามารถหาคำตอบได้ แล้วจะทุกข์ทำไม การปล่อยให้สภาวะเหล่านี้เกิดขึ้น มุ่งปรับแต่งให้เป็นไป ตามสภาวะที่จำเป็นโดยไม่ทุกข์มากเกินไป การอาศัยในสังขารนี้ ก็ดูแลทะนุถนอมตามสมควร เพราะเป็นหน้าที่ของผู้ยึดครองสังขารที่มีระยะเวลาหนึ่งในสังขารนี้ และมุ่งสู่เส้นทางที่เกิดในภพภูมิมนุษย์ตามที่ท่านผู้รู้บอกว่า เหมาะที่สุดสำหรับการมุ่งสู่นิพพานได้
หยุดเวียนวายตายเกิดได้ คือหยุดทุกข์ ถ้าดวงจิตหรือวิญญาณไม่ได้มาเกิดอีกเรียกว่านิพพานนั้นคือสิ่งที่จะทำให้พ้นทุกข์ เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติให้ค้นพบด้วยตนเองได้ รู้แจ้งได้ด้วยตนเองคือจะสามารถพ้นทุกข์หรือหนีจากสภาวทุกข์นี้ได้
ทุกข์จร(ปกิณณกทุกข์) การใช้สติปัญญาพิจารณาหาเหตุและปัจจัยเพื่อทำความเข้าใจ เหตุแห่งทุกข์ การเรียนรู้ฝึกฝนเพื่อให้เกิดความเข้าใจในสาเหตุแห่งทุกข์นั้น เป็นเรื่องยาก
การร่ำเรียนมาสูง มีความรู้ ทั้งในตำรา ศาสตร์และศิลป ปริญญาติด
ข้างฝา ดีกรี คุณสมบัติ นำหน้าชื่อหลายแขนง ก็ใช่จะหลุดพ้นจาก
ทุกข์จร(ปกิณณกทุกข์) นี้ได้ และไม่ต้องพูดถึงว่าจะพ้นจากสภาวทุกข์ได้เช่นกัน
1
พุทธะใช้เวลาถึง 6 ปี สร้างความเพียรอย่างต่อเนื่องและสามารถเข้าสู่ ภาวะตรัสรู้ได้ในที่สุด เพราะความเพียรและตระหนักรู้ได้ด้วยตัวของท่านเอง เพราะความบังเอิญที่ไม่บังเอิญ ท่านได้ยินเสียงพิณ ที่ถูกบรรเลงจากพิณเครื่องดนตรีที่ใช้เส้นสายขึงเพื่อดีดให้เกิดเสียง สูงต่ำเป็นเสียงดนตรี (สิ่งหนึ่งที่ท่านกำลังสอนเราคืออย่าท้อและทำตัวเองให้มีความพร้อมเมื่อมีโอกาสดีๆผ่านมาเราจะได้ใช้สิ่งที่เรามีได้ทันท่วงที สติ
ที่จะเกิดปัญญา)
การขึงตึงจนเกินไปก็ขาด บรรเลงไม่ได้
การปรับหย่อนเกินไป เสียงก็ผิดเพี้ยน ไม่เสนาะเพราะหูแต่อย่างใด
ทางสายกลาง คือความพอดี เพื่อให้สิ่งที่ต้องการนั้น สำเร็จ
คงไม่ใช่ความสำคัญของเป้าหมาย ความยิ่งใหญ่ของความสำเร็จ
วิเคราะห์ถึงสิ่งที่ปรารถนา ความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ ลงมือรวบรวมข้อมูล เตรียมพร้อมสรรพกำลัง รวบรวมปัจจัยและสิ่งที่จะช่วยให้สำเร็จ ก่อนลงมือทำ ประเมินผล ติดตาม เมื่อเกิดปัญหาก็ลงมือแก้ไข
เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมาย การมุ่งสู่เป้าหมายอย่างมุ่งมั่นตามหลักความจริงจนสำเร็จ หรือถ้าไม่สำเร็จก็วิเคราะห์ หาเหตุและปัจจัยค้นคว้าหาความสำเร็จต่อไป ด้วยสติปัญญา
คนที่พร้อมสู้และอดทนจนผ่านมาได้ ย่อมเข้าใจเส้นทางที่กำลังเดินนั้นดีกว่าใครๆ และควรเป็นใครที่จะสำเร็จได้ดีกว่าคนที่เคยล้มลุกคลุกคลานกับมัน อย่าให้ทุกข์เพราะปัญหาทำลายความมุ่งมั่น เพราะในความเป็นจริงคุณยังเพียรไม่พอ ล้มไม่พอ และสิ่งที่คุณต้องการอาจเป็นสิ่งที่ตัวคุณเท่านั่นบอกได้ว่า
เป้าหมายที่คุณต้องการอย่างแท้จริงในชีวิตไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องการอย่างแท้จริง
พุทธะตรัสไว้ว่า สิ่งต่างๆล้วนมีอยู่ เกิดขึ้นแล้ว เพียงแต่ตัวเราเท่านั้นจะสามารถค้นหาหรือเจอด้วยตัวเองได้หรือไม่ ต้องเพียรและปฏิบัติเอง
1
ความสำเร็จเป็นของเรา ถ้าเราไม่ยอมแพ้ และมุ่งมั่นจะค้นหาก็ต้องเจอเข้าสักวัน ขอเพียงให้เข้าใจว่าสิ่งที่กำลังค้นหานั้นคือความต้องการที่แท้จริงของท่านหรือไม่ ถ้าท่านได้สมประสงค์แล้ว ท่านจะมีความสุขจากสิ่งนั้นไปชั่วชีวิต หรือว่าสิ่งนั่นที่ได้มาเป็นแค่สิ่งที่มาดับความกระหายจาก กิเลส ตัณหา เพียงชั่วคราว หมดสิ่งนี้ก็ต้องการสิ่งอื่นต่อๆไป
คำขำๆที่สะท้อนถึงความเพียรที่ผ่านตาจากtiktok
เมื่อได้เกิดเป็นมนุษย์เป้าหมายความสำเร็จแรก คือดับทุกข์จากความปรารถนา เพื่อละทิ้ง ทุกข์จร(ปกิณณกทุกข์) ที่จะจรมาทุกครั้งที่ขาดสติ
ขอบคุณที่อ่านจนจบ กัลยาณมิตรที่เข้าใจจะรู้ว่าแอดมินเองก็กำลังพยายามที่จะละลดเลิกกับทุกข์ บทความอาจไม่ละเอียดลึกซึ้งถูกต้อง
ตามพระวินัยหรือพระไตรปิฎก ต้องกราบขออภัย ถ้าเมตตาก็สามารถให้คำแนะนำจะเป็นกุศลผลบุญต่อทุกท่าน
reference
โฆษณา