Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
บันทึกของต้นไม้
•
ติดตาม
8 ต.ค. 2022 เวลา 01:00 • การเกษตร
ความตั้งใจในวัยใกล้เกษียณ...ตอนที่ 2
"ตั้งใจจะสร้างป่าเล็กๆ เป็นของตัวเอง และแบ่งพื้นที่บางส่วนเป็นที่ทำกินในยามแก่เฒ่า ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ ๙"
ตอนที่ 2 แรงบันดาลใจและสิ่งยึดมั่นเป็นแนวทาง
บทพิสูจน์หลายๆครั้งที่ทำให้เราเห็นว่า ความเข้มแข็งของพื้นฐานด้านการเกษตร เป็นองค์ประกอบหลักที่ทำให้ชาติอยู่รอดได้ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 หรือวิกฤตโควิด-19 ในปี 2562-2565 ที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้
ในขณะที่ผลกระทบด้านเศรษฐกิจกำลังส่งผลต่อทุกสาขาอาชีพ ดูเหมือนว่าทางรอดของผู้ที่ได้รับผลกระทบคือ กลับบ้านในชนบทเพื่อพลิกฟื้นผืนดินที่มีอยู่ ประกอบอาชีพเกษตรเพื่อเลี้ยงตัวเองและครอบครัว ซึ่งหากใครมีทุนรอนอยู่บ้างก็ดีหน่อยเพราะสามารถซื้อหาเครื่องมือเครื่องทุ่นแรง ทำให้เห็นผลรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่คนที่ขาดแคลนทุนรอนก็คงต้องใช้เวลาในการพลิกฟื้นมากหน่อย...
จริงๆ แล้ววิกฤตไม่ว่าจะเป็นวิกฤตใด ย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ หากเราได้มีการเตรียมการรับมือเอาไว้ก่อนก็จะเป็นการดีมาก เพราะเมื่อวิกฤตเกิดขึ้นเราจะได้ไม่ต้องรับผลกระทบรุนแรงเกินไป
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ ๙ เป็นแนวทางที่พระองค์ท่านพระราชทานให้กับชาวไทยและชาวโลก ในการสร้างทางรอดให้กับตัวเองและประเทศชาติ อาจจะไม่ฟุ้งเฟ้อ โก้หรู ฟุ่มเฟือย แต่เรียบง่ายและมั่นคง อาจต้องแลกมาด้วยหยาดเหงื่อ แรงงาน ทว่าเปี่ยมด้วยความสุข
สุขที่ไม่ต้องแก่งแย่ง แข่งขัน สุขที่ได้เป็นผู้ให้เพื่อละลายความเห็นแก่ตัวของตนเอง สุขที่มีทรัพยากรเป็นของตัวเอง ไม่ต้องยื้อแย่งหรือเอาแต่บริโภคอาหารสำเร็จรูปที่นายทุนผลิตมาให้โดยแทบไม่มีทางเลือก สู้เราสร้างทรัพยากรเอง อยากกินปลาก็ขุดบ่อเลี้ยงปลา อยากกินผลไม้ก็ปลูกผลไม้ที่อยากกิน อยากกินผักปลอดสารพิษก็ปลูกผัก หากแม้อยากกินอะไรที่ตัวเองไม่มีก็แลกเปลี่ยนกันอย่างมิตรภาพอย่างนี้มิดีกว่าหรือ😗😗
ในวัยเด็กเราเห็นพ่อแม่ทำนาด้วยความยากลำบาก ถึงแม้จะมีเครื่องทุ่นแรง เช่นรถไถเดินตาม ที่ช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้นกว่าใช้วัวไถนา ก็ยังรู้สึกว่าการทำนามันช่างลำบาก ทำยังไงก็ยังฝืดเคืองเรื่องเงินทอง นอกจากมีข้าวไว้กินและเหลือขายบ้าง แต่ค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆก็ยังคงมีอยู่เสมอ
นั่นเป็นเพราะในสมัยก่อนเราทำนากันอย่างเดียว ต้องรอถึงฤดูฝนจึงจะได้เริ่มทำนา ถ้าปีไหนฝนน้อยหรือมากเกินไป ผลผลิตก็เสียหาย ระบบจัดเก็บน้ำก็ไม่มี ปุ๋ยก็ต้องพึ่งปุ๋ยเคมี คนทำนามีแต่จนลงแต่คนขายปุ๋ยกลับรวยขึ้น แต่ไม่ว่าจะลำบากยังไงพ่อแม่ก็ยังอุตส่าห์ส่งเสียลูกๆ จนเรียนจบและประสบความสำเร็จในชีวิตของตนเอง👨🎓👨🎓
นาข้าว (ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)
เมื่อเราโตขึ้นเริ่มทำงานแล้ว ก็เห็นความเปลี่ยนแปลงในการทำนาของพ่อ ด้วยความที่พ่อเป็นคนที่ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และมีความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง ช่วงหนึ่งก็พบว่าพ่อแบ่งเอาที่นาส่วนหนึ่งมาขุดบ่อและยกเป็นแปลงมีท้องร่อง และกันพื้นทีาอีกส่วนไว้ทำนา โดยได้รับความช่วยเหลือด้านงบในการขุดจากทางเกษตรอำเภอ และเริ่มปลูกไม้ผล เช่นกล้วย มะพร้าวน้ำหอม ฝรั่ง มะม่วงเบา ชมพู่ พืชผักสวนครัว มะกรูด มะนาว และอีกหลายอย่าง
ในบ่อก็เลี้ยงปลา พื้นที่บางส่วนบนท้องร่องก็ทำเล้าเลี้ยงเป็ด ไก่ และทำคอกเลี้ยงหมู เรียกกันในสมัยนั้นว่า "ไร่นาสวนผสม" ถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงในการทำเกษตรแบบนี้เป็นคนแรกๆ ในตำบลก็ว่าได้ ในช่วงแรกๆ มีคนที่ไม่เห็นด้วยเยอะ เพราะทำให้พื้นที่ทำนาเสียไป แต่เมื่อมีผลผลิตเริ่มมีแม่ค้าเข้ามาซื้อผลผลิตถึงในสวนเช่น กล้วย มะพร้าวน้ำหอม มะม่วงเบา หลายคนก็เริ่มหันกลับมามอง และเริ่มทำตามกันมากขึ้น🌴🌴🌴🌴🌴
ไร่นาสวนผสม
ตอนที่ทำไร่นาสวนผสม สิ่งที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนจากพ่อและแม่คือความสุขที่ท่านมีในการทำงาน ใช้เวลาในการดูแลต้นไม้ พืชผัก หมูไก่ อย่างไม่เหน็ดเหนื่อย เราจะเห็นรอยยิ้มของท่านเมื่อเราเข้าไปที่สวนแล้วเก็บผลผลิตมากิน และเห็นความภาคภูมิใจในแววตาของท่านที่ได้จากการกล้าเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบเดิมๆ แล้วประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง 😄😄😄😄😄
แรงบันดาลใจที่สำคัญของผมก็คือพ่อกับแม่ อยากมีความสุขในบั้นปลายของชีวิตบนความเรียบง่าย ส่วนแนวทางสำหรับยึดถือไว้เป็นแบบปฏิบัตินั้นขอรับเอาปรัชญาเศรษกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ ๙ มาใช้เป็นแบบอย่าง
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ความตั้งใจในวัยใกล้เกษียณ
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย