12 เม.ย. 2021 เวลา 01:50 • สุขภาพ
อย่าให้เลือกว่า ใครจะได้รอด !
อย่าให้ประเทศเรา
ต้องเป็นเหมือนในอิตาลี หรือสเปน
ที่หมอต้องเลือกว่า ใครควรอยู่
หรือใครจะไม่ได้หายใจอีกต่อไป ?
2
ฟังวันนี้อาจดูเหมือนไกลตัว
อาจดูไกลตัวพอ ๆ กับที่เราคิดว่า
โควิดไกลตัวเรามากนั่นแหละ
หลายคนถึงหละหลวม
ใช้ชีวิตตามใจต้องการ
2
แต่มาถึงจุดนี้ จุดที่จำนวนคนป่วยล้น
ในหลาย ๆ รพ. มันไม่มีอะไรไกลตัวอีกแล้วค่ะ
เราเข้าใกล้คำว่า
1
" COVID Disaster " หรือ
ภัยพิบัติจากโควิด มากขึ้นทุกวัน
1
ถ้าถึงจุดที่ ความต้องการ > ทรัพยากร
(Need > Resource)
หมายความว่า จำนวนคนป่วย และคนที่สงสัยว่าป่วย > บุคลากรทางแพทย์, อุปกรณ์เครื่องมือ และเตียงรักษาพยาบาลมาก ๆ
ถึงตอนนั้นจะเรียกว่า ภัยพิบัติ !!
ภัยพิบัติอาจฟังดูเหมือนต้องเป็น
น้ำท่วม, สึนามิ, แผ่นดินไหว, ภัยแล้ง
แต่เปล่าเลย ภัยจากมนุษย์สร้างขึ้นก็เป็น
ภัยพิบัติได้เหมือนกัน
2
แต่ถึงตอนนั้น ไม่รู้ว่า
จะกล้าคุยความจริงกันไหม ?
ยังต้องใส่เครื่องหมาย 'คำถาม' ไว้ในใจ
📌 เมื่อถึงจุดนั้น สถานการณ์ทุกอย่างจะพลิก !
✔️ ต้องเลือก คนที่มีโอกาสรอดสูงสุดก่อน
คือคนที่ป่วยน้อย ใช้ทรัพยากรน้อย
มีโอกาสกลับมาทำประโยชน์ได้
1
❌ ต้องปล่อยให้คนที่มีโอกาสหายน้อย
และใช้ทรัพยากรจำนวนมาก ๆ เสียชีวิต
คนกลุ่มนี้เช่น คนที่ครองเตียงนาน ๆ
ใช้ของ, ใช้อุปกรณ์, ต้องการทีมดูแลเยอะ ๆ
เช่น คนไข้ในหอผู้ป่วยหนัก/วิกฤต (ICU)
แค่นั่งพิมพ์อยู่ตอนนี้ ยังรู้สึกสะเทือนใจ
รับได้ยาก ยิ่งถ้าเกิดกับคนที่คุณรักล่ะ
คุณไหวหรอ ?
🥺 ไม่ได้ทำให้ตระหนก แต่เล่าตามหลักการ
📌 สมมติเรื่องนี้เกิดขึ้นจริง ลองจินตนาการตาม
1️⃣ จะใช้การจัดการ "แบบกรณีภัยพิบัติ"
จะใช้วิธีนี้ได้ทุกจังหวัดไหม?
✔️ ถ้าจังหวัดไหน ยังเลือกรักษาคนไข้หนักก่อน
ญาติ ๆ จะพาคนป่วย เดินทางข้ามจังหวัดไปรักษาไหม?
อ่านตอนนี้อาจขำ !
แต่อย่าดูถูกความพยายามของคนไทยค่ะ
เป็นญาติคุณ คุณจะตัดสินใจยังไง?
❌ ถ้าจังหวัดไหนเลือกการจัดการ
แบบภัยพิบัติ > คือ รักษาคนที่มีโอกาสรอดมากที่สุดก่อน ประเด็นทางจริยธรรม คงว่อนเหนือโลกโซเชียล มากกว่าเหตุผลร้อยพันเป็นแน่ !
❌ ไม่ต้องสงสัยเลยว่า
นโยบายนี้จะใช้กับ รพ.เอกชนได้ไหม ?
ใครอยากเสี่ยงถูกฟ้อง ?
และยิ่งถ้าไม่มีกฎหมายรองรับชัดเจน
หรือกฎหมายเปลี่ยนได้เรื่อย ๆ ล่ะ ?
🥺 แค่คิดเล่น ๆ ยังเห็นถึงความเป็นไปได้
ของความแตกต่าง ความไม่มี consistency
ที่ ' อาจ ' จะเกิดขึ้นเลย..
ไม่ได้มโนลอย ๆ
แต่ดูจากการตรวจ Swab, ตรวจ PCR
ยังมีการแบ่งชนชั้น มีความเหลื่อมล้ำเลย
2
2️⃣ หาบุคลากรที่ไหนมารักษาคนไข้โควิด ?
✔️ บุคลากรที่มาดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้
ไม่สามารถสลับไปดู ผู้ป่วยกลุ่มอื่นได้
ถ้าจะไปต้องกักตัวก่อน 14 วัน
1
ถ้าคนกลุ่มนี้โชคร้ายติดเชื้อขึ้นมา
จะดึงคนที่ไหนมาทดแทน ?
1
✔️ บุคลากร ส่วนที่ดูแลโรคเจ็บป่วยอื่น
มี workload เพิ่มขึ้น เพราะคนช่วยอยู่เวรลดลง
ต้องขึ้นเวรบ่อยขึ้น ทำงานหนักขึ้น
1
เพราะอัตราคนไข้เดิม ก็ไม่ได้ลดลง
เบาหวาน ไม่ได้หลีกทางให้โควิดแต่อย่างใด !
1
✔️ ถ้าญาติบุคลากรเจ็บป่วย
คงต้องรอ 14 วันกว่าจะไปเยี่ยมได้ ถูกไหม?
เครียดทั้งกาย เครียดทั้งใจ
1
3️⃣ ทีมสนับสนุนพอไหม ?
✔️ การรักษาคนไข้คนนึง ไม่ได้มีแค่หมอกับพยาบาล ลองมองให้ลึกลงไป ถึงเจ้าหน้าที่ห้องบัตร, เจ้าหน้าที่แล็ป, เภสัชกร, แม่บ้าน,
เจ้าหน้าที่เวรเปล, คนขับรถพยาบาล
2
ถ้าคนกลุ่มนี้ ต้องแบ่งไปดูคนไข้ติดเชื้อ
คนที่เหลือ งานจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่?
1
❌ งานหนัก พักผ่อนน้อย
ทานอาหารไม่เป็นเวลา
จะเอาภูมิต้านทานที่ไหนมาสู้กับเชื้อ
นั่งหายใจใส่ mask ก็ยังเสี่ยงอยู่ดี 😷
1
4️⃣ คนไข้หนักจากโรคเรื้อรังทำยังไง ?
✔️ คนไข้ที่เป็นหลอดเลือดสมองตีบ
ที่ต้องให้ยาละลายลิ่มเลือด ภายใน 3.5-4 ชม.,
คนไข้เส้นเลือดหัวใจตีบ ที่ต้องสวนหัวใจด่วน,
คนไข้อุบัติเหตุ ที่ต้องผ่าตัดด่วนล่ะ?
ปัจจัยเรื่องเวลา มีผลต่อการรักษาคนไข้กลุ่มนี้
มีโอกาสหายถ้ารักษาทันเวลา แต่เสี่ยงต่อ
ความทุพพลภาพในระยะยาว หากล่าช้า
1
จะยังดูแลได้เหมือนเดิมไหม ?
#ไม่ไหวบอกไหว
มีการวางแผนรับมือกับคนไข้กลุ่มนี้อย่างเป็นระบบไหม ? หรือจะให้ส่งต่อ ? ส่งไปไหน
ที่ไหนมีทรัพยากรเหลือ ?
1
แค่คิดแค่นี้ ก็ไม่อยากนึกภาพต่อละ 🤦
ไม่ได้อยากสร้างความตระหนกตกใจ
แค่คิดเผื่อในกรณีเลวร้ายที่สุด
(Worst Case Scenario)
มีจินตนาการล่วงหน้าบ้าง
มี Self-Awareness บ้าง
1
อาจช่วยทำให้เรา พยายามแก้ไขปัญหา
และวางแผน อย่างเป็นระบบมากขึ้น
(รวมถึง ทุกเรื่องในชีวิต)
ขออย่าให้ทุกอย่างตึงมือ จนต้องใช้การจัดการ
แบบภัยพิบัติ ในประเทศของเราเลย 🥺🙏
แต่ถ้ายังเป็นทรงนี้ต่อไป... 🐢🐢🐢
ก็แค่ชวนคิส.. เรื่องเบา ๆ เช้าจันทร์ค่ะ
กราบสวัสดีค่า
🤗🙏

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา