13 เม.ย. 2021 เวลา 05:51 • ปรัชญา
"ตัวตน" ของมนุษย์ สำหรับผมเอง น่าจะมีสองแบบหลักๆ คือ
6
(1) ตัวตนที่เลื่อนไหลไปตามเสียงของคนอื่น กับ...
(2) ตัวตนที่ยืนหยัดอยู่กับสิ่งที่ตนเห็นว่า "นี่แหละตัวเรา อย่าได้ไหลไปตามเสียงเรียกร้องของคนอื่นเลย"
1
คือ หากเราทำงานตามเสียง "ชอบ"ของมิตรสหายมากเข้า มากเข้า ที่สุดเราอาจสูญเสีย "ตัวตน"ของเราไป
4
มนุษย์สมัยใหม่ที่กำลังหรือพยายามมีตัวตนโดยถูกเชื่อมร้อยเข้ากับคนอื่นๆผ่านสื่อสังคมออนไลน์
1
อาจจะต้องคิดและตัดสินใจว่า จะบริหารตัวตนของเราอย่างไร
เรื่องนี้อาจดูผิวเผินแต่ผมกลับคิดว่าสำคัญ และเห็นด้วยกับวลีของ ซาร์ต (Jean-Paul Sartre) ที่ว่า "นรกคือคนอื่น" และก็ยังเห็นความสำคัญของมิตรสหาย
4
คำว่า"ปรโตโฆสะ" คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าเองก็สอนให้เราฟังคนอื่น เพราะยังไงซะ เราต้องสังกัดเชื้อชาติ สัญชาติ ประเทศชาติ และศาสนา... เช่นวัดที่เราเข้า บริษัทที่เราทำงาน หรือ ชุมชนที่เราอาศัย อะไรทำนองนี้
1
ดังนั้น เมื่อเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เราจำเป็นต้องอยู่ภายใต้กติกาของสังคม ซึ่งในกติกานั้น ส่วนหนึ่งก็จะบอกเราว่าอะไรบ้างทำได้หรือไม่ได้
2
แปลว่า เมื่อเข้ามาอยู่กับคนอื่นในสังคม เราต้องจำยอมที่จะถูกจำกัดเสรีภาพ อย่างที่รุสโซ (Jacques Rousseau) กล่าวว่า...
9
" มนุษย์เกิดมาเสรี แต่ในทุกที่.. เขาต้องอยู่ในพันธนาการ"
3
แน่นอนที่สุด เราอยู่ในโลกในฐานะสมาชิกของโลกนั้นไม่ง่าย... หนีไปก็ไม่ได้ เราต้องเชิญหน้ากับมัน
7
-วิรุฬหก-
โฆษณา