13 เม.ย. 2021 เวลา 14:33 • หนังสือ
วันนี้ผมจะมารีวิวและสรุปหนังสือที่มีชื่อว่า
'งานประจำสอนทำธุรกิจ'
หนังสือเล่มนี้เขียนโดย คุณนาฟิส อิสลาม
เจ้าของเพจ สมองไหล
ที่มีคนติดตามในเฟสบุคมากกว่า 3 แสนคน
1
หนังสือเล่มนี้บอกเล่าประสบการณ์ บทเรียนจากการทำงานประจำและวิธีทำธุรกิจจริงของคุณนาฟิส
ทำให้รู้ว่าแต่ละก้าวที่กว่าจะมาถึง 3 แสนผู้ติดตามของเพจสมองไหลและมียอดขายหนังสือจนแซงรายได้ประจำจนลาออกมานั้นเป็นอย่างไร
ไม่ได้มาง่าย ๆเลย
มีการลองผิดลองถูกมามากมายเลยครับ
วันนี้ผมจะมาสรุปบทเรียนนี้ให้ได้รับชมกันครับ
1
โดยหนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น 4 หัวข้อใหญ่ๆ นะครับ
1 ได้เวลาค้นพบตัวเอง
2 ค่าผ่านทางเลนด่วน
3 โรงเรียนธุรกิจที่มีชื่อว่า 'งานประจำ'
4 เวลาแห่งการเริ่มต้นที่ดี คือตอน 'ไม่พร้อม'
ในเล่มมีสิ่งหนึ่งที่บอกได้ว่าทำไมผมถึงชอบอ่านหนังสือ
เพราะมันเป็นการย่อหรือประหยัดเวลาในเรื่องนั้นหลายสิบปี
หนังสือเล่มนี้ก็เช่นเดียวกันครับ
ไม่ใช่แค่ทำให้รู้ถึงประวัติของคุณนาฟิส เพจสมองไหลประมาณ 2-3 ปีเพียงอย่างเดียว
แต่จริงๆมันคือการเล่าประสบการณ์ตลอดแทบจะ 23 ปีของคุณนาฟิสเลยก็ได้ครับ
3
เล่มนี้ยังมีรายละเอียดที่น่าสนใจอยู่
ไว้ผมจะมาสรุปให้ได้รับชมกันครับ
หนังสือเล่มนี้จะแบ่งเป็น 4 ส่วน ตามภาพเลยคือ
1 ได้เวลาค้นพบตัวเอง
2 ค่าผ่านทางเลนด่วน
ในทีนี้คือความรู้ครับ
3 โรงเรียนธุรกิจที่มีชื่อว่า 'งานประจำ'
บทนี้รวบรวมบทเรียนการทำงานประจำไว้ครับ
4 เวลาแห่งการเริ่มต้นที่ดี คือตอน 'ไม่พร้อม'
เรื่องนี้เป็นจุดเริ่มต้นของคุณนาฟิสเลยก็ได้ครับ
ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่เริ่มต้นได้ทันทีครับ
นั่นคือ การค้นหาตัวเอง
คุณนาฟิสเปรียบการค้นหาตัวเองเหมือนกับ ‘การชิมอาหาร’
มันคือกระบวนการ
‘การศึกษา ทดลอง และปรับใหม่’
เริ่มตั้งแต่ ความชอบจากการดูรายการเทควันโด
สู่ความฝันการเป็นทีมชาติ แม้ไม่ได้ตามหวัง
ก็ได้เปลี่ยนไปเป็นครูสอนเทควันโดแทน
เปิดเป็นธุรกิจ จนอิ่มตัวกับการสอน
สู่การเข้าร่วมแข่งขันสตาร์ทอัพของมหาวิทยาลัย
และชนะเลิศ 2 ปีซ้อน
เริ่มเข้าสู่การทำงานประจำ
แต่เนื่องจากอ่านหนังสือมาตลอด จึง Live สรุปให้เพื่อนฟัง
และเริ่มเขียน blockdit และทำเพจ ‘สมองไหล’ ขึ้นมา
ทั้งหมดที่ผมเล่ามา คุณนาฟิสกระบวนการที่ผมบอกข้างตนคือ
‘การศึกษา ทดลอง และปรับใหม่’
เพื่อหาว่าเมนูไหนที่เราชอบ
ผ่านการ ‘ทดลอง’ และ ‘ลงมือทำ’ ครับ
เรื่องนี้จะเกี่ยวกับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ของ
คุณนาฟิสสอนนะครับ
แต่เป็นการสอนผ่านการให้หาเงินเองเวลาอยากได้อะไร
อาจจะมาจากการรับจ้างล้างรถให้พ่อแม่
รับจ้างเป็นครูผู้ช่วยเทควันโด และอีกมากมาย
บทเรียนนี้คือการสอนให้เห็น ’คุณค่า’ ของสิ่งของนั้นๆ ที่ได้มา
เป็นมรดกทางความคิดที่มีค่ามากกว่าเงินทอง
ผ่านการสร้างความเชื่อในการ ‘ลงมือทำ’
เทคนิคการเขียนฉบับ ‘สมองไหล’
1 เรื่องเล่า
สมองของคนเราชอบการจำแบบเรื่องเล่าครับ
ลองนึกถึงเรื่องที่เราได้ยินหรืออ่านเป็นเรื่องเล่ามา
เราจะสามารถนำไปเล่าต่อได้เลย
ต่างจากที่การไปฟังแบบไม่มีเรื่องเล่า เราจะจำไม่ได้เลยครับ
เรื่องเล่านี้ต้องมี 4 อย่างเป็นองค์ประกอบคือ
- จุดเริ่มต้น เพื่อเปิดเรื่องราว โดยให้ข้อมูลที่จำเป็น คือ สร้างบริบท วางฉาก แนะนำตัวละคร
- อุปสรรค เพื่อทำให้เรื่องสนุกขึ้น หลักๆจะมี คน ธรรมชาติ สังคม สิ่งแวดล้อม และตนเอง
- ดิ้นรน จุดนี้เป็นจุดที่สำคัญที่สุด เพราะมันให้อารมณ่วมกับผู้ฟังได้มากที่สุด
เล่าถึงการต่อสู้จากอุปสรรคนั้นๆ
- ทางออก จุดคลี่คลายหรือจุดไคลแมกซ์ของเรื่องครับ
2
2 เขียนบทความ
เทคนิคที่เป็นโครงร่างได้ดีมากๆ คือ O-R-E-O Map
- Opinion(ความเห็น) นำเสนอความเห็นที่เป็นข้อสรุปของเรื่อง
- Reason(เหตุผล) พิสูจน์ข้ออ้างด้วยเหตุผลและหลักฐาน
- Example(ตัวอย่าง) ยกตัวอย่างประกอบ
- Opinion/Offer(ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอ) เน้นย้ำข้อสรุปของเรื่อง แต่ถ้าเป็นงานขายคือยื่นข้อเสนอ
1
3 เขียนขายบนโซเชียล
เรียกง่ายๆว่าเขียนป้ายยานั่นแหละครับ
คือการที่ใครอ่านแล้วอยากจะซื้อของของเราขึ้นมาทันทีครับ
โดยเริ่มจากขยี้ปัญหา ดำเนินเรื่องด้วยการแก้ไข
ดึงกลับมาในสถานะเดิม(คล้ายๆดึงลูกค้ากลับมาอยู่ที่ปัจจุบัน)
ยื่นข้อเสนอการแก้ปัญหา โดยกำหนดราคาในใจลูกค้าให้สูงกว่าความเป็นจริง
แล้วปิดท้ายด้วยเสนอราคาที่ต่ำกว่าในใจ
3
ผมชอบประโยคนี้มากครับ
สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะใช้เทคนิคไหน
ผู้คนก็จะจดจำงานเขียนได้จาก ‘ตัวตน’ ของคุณเท่านั้น
ลองเอาเทคนิคไปลองใช้กันได้เลยครับ
ส่วนผมรู้สึกว่าบทนี้มีประโยชน์กับผมมากๆครับ
ในเรื่องนี้จะเป็นการบอกถึงทักษะหนึ่งที่โรงเรียนไม่เคยสอน
นั่นก็คือ ‘การฟัง’ ครับ
ถามว่าทำไมมันถึงสำคัญ
เพราะการฟังจะทำให้เราเข้าใจถึงปัญหาได้
จากตัวอย่างในหนังสือที่ว่ามีผู้จัดการคนหนึ่งสามารถแก้ไขปัญหา
คนที่รู้สึกว่าลิฟต์ช้าได้ด้วยการนำกระจกมาติดรอบลิฟต์
ถามว่าเพื่ออะไร แล้วเกี่ยวกันยังไง
มันเกี่ยวที่ จริงๆลิฟต์ไม่ได้ช้า แต่การใช้เวลาในลิฟต์มันนานไปต่างหาก
การติดกระจกจะทำให้คนใช้เวลาไปกับการมองหน้าตนเองจนลืมเวลาได้
นี่คือตัวอย่างของการฟังอย่างแท้จริงครับ
คือการฟังในสิ่งที่ลูกค้าไม่ได้พูด
2
เรื่องนี้มีส่วนทีผมชอบอีกอย่างครับ
คือเรื่องที่พ่อของคุณนาฟิสได้คุยกับคู่ค้าทางธุรกิจว่า
ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตาม ให้ใช้หูฟังก่อนใช้ปากพูดเสมอ
เพราะการฟังคือ ‘กำไร’
แต่ถ้าเอาแต่พูด มันมีแต่จะ ‘เสมอตัว’ หรือ ‘ขาดทุน’
1
ประโยคนี้ผมชอบมาก ๆครับ แถมคุณนาฟิสก็จำและนำมาใช้จนถึงปัจจุบันด้วยครับ
การฟังเป็นทักษะที่สำคัญมากนะครับ แต่ก็เป็นที่น่าสงสัยว่าไม่มีสอนในโรงเรียนครับ
ถอดบทเรียนธุรกิจจากงานประจำ
บทนี้จะเป็นการสรุป 17 ข้อสิ่งที่คุณนาฟิสได้จากการทำธุรกิจตอนทำงานประจำครับ
1 เริ่มงานประจำด้วยเป้าหมายที่อยากทำธุรกิจและต้องการเรียนรู้จากงานประจำ
สิ่งนี้จะส่งผลต่อทัศนคติและการกระทำของเรา
เราจะไม่แค่ต้องการทำงานของตัวเอง
แต่ยังพยายามเรียนรู้สิ่งที่สามารถนำไปใช้กับธุรกิจในอนาคตได้
2 ในช่วงเริ่มต้นการทำงาน ถ้าอายุยังไม่มาก
ให้โฟกัส ‘คุณค่าของงานนั้น’ มากกว่าจำนวนเงิน
หากมันทำให้เราเข้าใกล้เป้าหมายของเรา
และไม่จำเป็นต้องรับเงินเดือนที่น้อยเกินไปนะครับ
1
3 การทำงานประจำต้องรู้ลึกแต่ธุรกิจต้องรู้กว้าง
คุณนาฟิสเปรียบงานประจำเหมือนตำแหน่งฟุตบอลตำแหน่งเดียว
แต่ธุรกิจคือโค้ช เพราะต้องรู้ว่าใครเหมาะสมกับงานไหน
รู้แบบตัว T (รู้ลึก 1 เรื่อง และรู้กว้าง) จึงเป้นสิ่งที่คนจะทำธุรกิจควรมี
1
4 ในองค์กรจะแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ
- กองหน้า เช่น ฝ่ายขายที่เปรียบเหมือนผู้ทำประตูให้กับทีม
- กองกลาง เช่น ฝ่ายการตลาด ฝ่ายผลิต
เป็นคนคอยทำเกมหรือวางผนกลยุทธ์ให้กับบริษัท
- กองหลัง จะมีหลายแผนก เช่น ฝ่ายบริการลูกค้า ฝ่ายบัญชี
ที่คอยตั้งรับทุกอย่างเข้ามา
1
5 ทำให้เข้าใจมุมมองของพนักงานที่มีต่อองค์กรและหัวหน้า
แบบไหนที่ดีแบบไหนที่ไม่ดี
เมื่อเราไปเป็นหัวหน้าแล้วเราก็จะได้ไม่ทำสิ่งที่เราคิดว่าไม่ดี
6 การได้ทำงานในบริษัทเล็กๆอย่างสตาร์ทอัพ
จะทำให้เราได้เรียนรู้หลากหลายตำแหน่ง
ต่างจากบริษัทใหญ่ที่จะให้คุณได้เป็นมืออาชีพในด้านนั้นๆอย่างเดียว
1
7 เมื่อเข้าทำงานแล้ว ต้องพยายามเรียนรู้ทุกอย่าง ทุกแผนกที่มีโอกาส
ยิ่งจดการทำงานเอาไว้เลยจะยิ่งดีมากครับ
2
8 องค์กรเล็กเงินทุนไม่มาก เมื่อมีสินค้าใหม่
จึงต้องมีการพลิกแพลงมากมาย เพื่อให้โปรเจกต์งานนั้นทำน้อยแต่ได้ผลมาก
เหมือนกับเราที่ต้องการทำธุรกิจแต่ไม่มีเงินทุน เลยได้ฝึกเรื่องนี้ไปเต็มๆครับ
9 เมื่อมีโปรเจกต์เกี่ยวกับการออกสินค้าและบริการให้รีบคว้าไว้ทันที
เพราะทั้งหมดนั้นมีผลต่อธุรกิจที่เราจะทำ
1
10 การสร้างวัฒนธรรมการทำงานตาม ‘ผลลัพธ์’ ดีกว่า ‘เวลา’
เพราะมันเป็นสิทธิ์ของคนที่ทำงานเสร็จก่อนเพื่อพัก
ไม่ใช่จะโดนว่า ว่าไม่ทำงานหลังจากที่ทำงานเสร็จ
อย่าคิดว่าจะใช้พนักงานให้คุ้ม
เพราะว่ามันได้ไม่คุ้มเสีย
4
11 อย่าเกี่ยงเวลาที่ได้รับมอบหมายให้สอนเพื่อนร่วมงาน
เพราะการ ‘สอน’ เป็นการวัดว่าเราจะเป็นผู้นำคนได้หรือไม่
จะตกผลึกความรู้ได้หรือเปล่า ถ้าทำได้จะเป็นสัญญาณดีว่าเรามีทักษะการสื่อสาร
เพราะเวลาทำธุรกิจ เราจะต้องมีห้าที่สอนคนอื่นให้ทำงานให้เป็นเหมือนเราด้วยครับ
12 นอกจากการทำงานในองค์กรแล้ว
จะยังมีการส่งพนักงานไปเข้าร่วมสัมมนาต่างๆ
ให้เราอาสาเลยครับ เพราะในนั้นจะมีไอเดียธุรกิจมากมาย เทคโนโลยีใหม่ๆ
ให้เราได้ไปศึกษาและเปิดหูเปิดตาครับ
เผลอๆอาจจะได้คอนเนกชันด้วยครับ
1
13 งานประจำจะเป็นก้าวแรกสู่การมีคอนเนกชัน ซึ่งเชื่อมโยงไปหาธุรกิจเราได้
แต่ถ้าเราไม่เจ๋งจริง คอนเนกชันก็ไม่มีใครอยากช่วยเหลือเราเหมือนกันครับ
1
14 คอนเนกชันไม่ใช่แค่ ’รู้จัก’ แต่คอนเนกชันต้องยอมรับใน ’ความสามารถ’ ของเราด้วย
เพราะตอนเราทำงานประจำ เราเหมือนเป็นตัวแทนบริษัท แต่ตอนทำธุรกิจมันเป็นอีกเรื่องครับ
15 การเมืองในบริษัทเป็นเรื่องปกติ เราไม่ควรออกตัวว่าอย่างไหน
ทำตัวเป็นผู้ฟังที่ดีก็พอครับ แต่ฟังข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อหาสาเหตุที่เกิดขึ้นนั้นๆก็พอครับ
2
16 การเมืองอาจจะเริ่มจากผู้นำองค์กรได้
จากระบบการทำงานและการสื่อสารที่ไม่ดี
ดังนั้นเมื่อเราทำธุรกิจควรจะสื่อสารกันให้ชัดเจนครับ
ไม่งั้นเราอาจจะกลายเป็นตัวถ่วงองค์กรได้ครับ
17 การสังสรรค์ควรสังสรรค์แต่ที่มีความสร้างสรรค์
คือไปแล้วได้อะไรดีๆกลับมา ไม่ใช่แค่ไปสังสรรค์กันในทุกวันศุกร์เย็น
อันไหนไม่สร้างสรรค์ก็ไม่ควรไปครับ
เป็น 17 ข้อทีดีมากๆครับ
บอกได้ดีมากๆทั้งข้อดีข้อเสียของงานประจำ
เราควรจะได้อะไรจากมัน และมีอะไรบ้างจะนำไปใช้กับการทำธุรกิจได้
เป็นข้อคิด ข้อสรุปบทเรียนจากงานประจำที่ดีมากๆครับ
1
ธุรกิจเริ่มต้นจากการใช้เงิน
เรื่องนี้เป็นเรื่องสำหรับคนที่คิดจะทำธุรกิจเลยครับ
เงินปกติของเราจะแบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ
เงินบริโภค และเงินลงทุน
ธุรกิจเริ่มต้นจากการใช้เงินตรงนี้ครับ
ผ่านสัดส่วนการใช้เงินทั้ง 2 แบบนี้
โดยปกติแล้วซึ่งไม่ได้ผิดอะไรนะครับ
เงินเดือนที่ได้มาทั้งหมดเราก็จะนำไปใช้ในการบริโภคจนหมด
แต่คุณนาฟิสมีแนวคิดการใช้เงินแบบนี้ครับ
1
นำเงินไปลงทุนในความรู้ ผ่านการ ‘เลือก’
ว่าสิ่งนั้นมันมีโอกาสให้ ‘ผลตอบแทน’
มากกว่าที่ลงทุนไปหรือไม่
เรื่องนี้ดีมาก ๆครับ และผมจะนำไปใช้อย่างแน่นอนครับ
โดยการที่เราจะลงทุนเพื่อนำไปสู่การทำธุรกิจนี้นั้นมี 3 ขั้นตอนครับ
1 ค้นหา
สิ่งที่คุณนาฟิสใช้ค้นหาความสามารถหรือสิ่งที่เราถนัดผ่าน ‘หนังสือ’
เพราะหนังสือสำหรับคนเขียนบางคน
มันคือการสรุปชีวิตของเขาที่ผ่านมาเลยก็ได้
แล้วราจะได้รู้ในตรงนี้ซึ่งมันคุ้มมากๆกับการลงทุนในราคาหลักร้อยครับ
อีกอย่างสำหรับมนุษย์เงินเดือนคือ การไปเข้าร่วมสัมมนาหรือการออกบูธต่างๆ
คุณนาฟิสอาสาไปหมดครับ เพราะเป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้อะไรดีๆมากมาย
และนี่คือสิ่งที่พนักงานจะได้รับโดยไม่ต้องเสียค่าบัตรเหมือนการทำงานอื่นๆครับ
2
2 พัฒนา
ถ้าเรา ‘ศึกษา’ อย่างเดียวแต่ขาดการ ‘ลงมือทำ’
สิ่งนั้นก็ไม่สามารถทำเงินได้
ถามว่าจะทำเงินได้อย่างไร ?
ดูว่าทักษะอะไรจำเป็นต่อสิ่งที่เราชอบบ้าง
ถ้ามันจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนก็ควรลงทุนครับ
จากนี้ก็จะนำมาสู่วงจรการ ‘ทำซ้ำๆ’ ครับ
เป็นจุดที่วัดเลยว่าเราชอบงานนั้นจริงหรือไม่
ถ้าเราไม่ชอบก็กลับไปที่ข้อที่ 1 หรือค้นหาใหม่นั่นเองครับ
3 ต่อยอด
เมื่อเราทำไปเรื่อยๆ จะเกิดความชำนาญขึ้นและสร้างรายได้ให้เราได้
จุดนี้ก็จะวัดการใช้เงินอีกครับ
เมื่อเราได้เงินมาควรจะนำเงินที่ได้ไม่มากก็น้อย
มาลงทุนในด้านที่เราถนัดเพิ่มขึ้นอีก
เช่น ใครชอบเที่ยวเมื่อมีรายได้ ก็นำไปซื้อกล้องเพื่ถ่ายให้สวยขึ้น เป็นต้น
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องดูด้วยนะครับว่า
มันจะให้ผลตอบแทนเรามากกว่าที่เราลงทุนไปหรือไม่
เมื่อชำนาญมันจะเกิดเป็นเอกลักษณเฉพาะตัวของเราที่ไม่มีใครเหมือน
และมันจะกลายเป็นว่าเราจะแยกความแตกต่าง
ระหว่าง ‘งาน’ กับ ‘การใช้ชีวิต’ ไม่ออก
เพราะถ้าเราทำมาจนถึงขั้นที่ 3 ได้
จะพบว่า ‘ชีวิตที่เราใช้มันจะกลายเป็นงานและทำเงินให้เราด้วยได้นั่นเองครับ’
3 เสาหลักเริ่มต้นธุรกิจ
ประกอบด้วยการตลาด การจัดการ และการเงิน
คนส่วนใหญ่ชอบเริ่มที่การเงินก่อน
จะติดคำว่า ‘ไม่มีเงินทุน’
จึงไม่ได้เริ่มทำซักที
ดังนั้น ลำดับที่ถูกต้อง ต้องเป็น
การตลาด --> การจัดการ --> การเงิน
- การตลาด
พูดง่ายๆ ว่ามันคือการทำให้ ’สินค้าของเรา’ กับ ’ลูกค้า’ มาเจอกัน
ที่ควรเริ่มที่การตลาดเพราะเป็นการ ‘ทดลอง’ ว่ามีคนต้องการสินค้าเราหรือไม่
ค้นหาว่าลูกค้าเราอยุ่ตรงไหน
แล้วเราก็ไปอยู่ตรงนั้น
เช่น ลูกค้าอยู่ในเฟสบุค แล้วเราขายขนม เราก็ไปเข้ากลุ่มขนมต่าง ๆ
แล้วลองโพสการทำอาหารของเรา
โดยยังไม่ขาย
ถ้ามีคนตอบประมาณว่า มีสูตรขายไหม รับสอนทำหรือเปล่า
แบบนี้แปลว่าตลาดเราผ่านแล้วครับ
เป็นต้น
1
- การจัดการ
คือการหาวิธีส่งสินค้าของเราไปหาลูกค้าโดยง่าย
เช่น เราจะหาสินค้ามาจากไหน
จะส่งช่องทางไหน
เป็นต้น
- การเงิน
ต้องเริ่มด้วยคำถามว่า
ใช้เงินทุนหรือไม่ ?
ถ้าทำ 2 อย่างแรก(การตลาด การจัดการ)
มาดีแล้ว
บางทีอาจพบว่าไม่ต้องใช้เงินทุนเลย
แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้จริงๆละ
ให้ดูว่าเราจำเป็นต้องใช้เงินทุนในส่วนไหน
แล้วเรามีเงินเก็บพอกับเงินทุนนั้นหรือไม่
หรือบางทีอาจจะทำเป็นพรีออเดอร์ก่อนก็ได้ครับ
โดยให้โปรโมชันกับคนที่พรีออเดอร์ไป
ค่อยๆปรับต้นทุนเพิ่มกำไรทีละนิด โดยไม่ต้องรีบนะครับ
ที่สำคัญแยกกระเป๋าเงินธุรกิจออกจากกระเป๋าเงินส่วนตัวด้วยนะครับ
1
สุดท้ายแล้วที่ให้เริ่มต้นจากการตลาดก่อนเพราะ
ให้เรา ‘ทดสอบ’ ว่ามีคนต้องการสินค้าเราจริงหรือไม่
ตามบทที่ผมเขียนไปก่อนหน้าเลยครับ
‘ทดลอง เรียนรู้และปรับใหม่’
จะเห็นได้ว่าคุณนาฟิสเน้นย้ำการตลาดมากๆครับ
โดยผมคิดว่าเป็นการทำให้เราเริ่มต้นลงมือทำที่ดีมากครับ
เพราะถ้าเริ่มการเงิน
ยังงถ้าเราไม่มีเงินทุน เราก็ไม่กล้าจะทำอะไรอยู่ดีครับ
เรื่องนี้จะเป็นเรื่องที่นับว่าแปลกใหม่สำหรับผมอีกเรื่องหนึ่งเลยก็คือ
‘หาคนต้องการซื้อก่อนแล้วค่อยหาคนขาย’
เป็นเรื่องจากที่มีแฟนเพจทักมาถามเกี่ยวกับการขายสินค้า
คุณนาฟิสจึงบอกให้ลองโพสขายไปเลยว่าถ้าเราขายอันนี้ๆ มีคนต้องการซื้อไหม
ถ้ามีค่อยสั่งผลิตหรือซื้อสินค้านั้นมา
เปรียบเหมือนตอนคุณนาฟิสทำเพจแรกๆนั้น
ใช้การโพสขายแล้ว เมื่อมีคนต้องการซื้อหนังสือ
ค่อยไปที่ร้านเพื่อซื้อแล้วค่อยส่งให้ลูกค้าไปเรื่อยๆก่อนครับ
เพราะออนไลน์เป็นที่ที่ทดสอบความต้องการของลูกค้าได้ในเพียงไม่กี่นาที
ทำให้เราไม่ต้องเอาเงินทุนไปละลายแม่น้ำ
เพราะการหาคนขายมาซื้อสินค้าที่ลูกค้าต้องการ นั้นง่ายกว่า
การหาลูกค้ามาซื้อสินค้าเราครับ
ขอบคุณสำหรับการรับชมครับ 😃
2
โฆษณา