Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นับหนึ่งให้ถึงล้าน
•
ติดตาม
16 เม.ย. 2021 เวลา 00:46 • หนังสือ
นับหนึ่งให้ถึงล้าน : 4
The 7 Habits
“7อุปนิสัยสำหรับผู้ทรงประสิทธิผลยิ่ง”
หลักการในการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลง
ทุกชีวิตผ่านการเจริญเติบโตเรียงไล่มาตั้งแต่เด็กทารกพลิกคว่ำขยับลุกนั่ง จากคืบคลานสู้การเดินและวิ่ง ทุกกระบวนการมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันและไม่อาจที่จะข้ามแต่ละขั้นตอนไปได้
ภาพ : sbntown.com
แต่ทว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราพยายามใช้ทางลัดในกระบวนการธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเรา คำตอบเห็นชัดในตัวว่าเป็นไปไม่ได้ ที่จะฝ่าฝืนไม่รับรู้หรือใช้ทางลัดในกระบวนการพัฒนาการ การฝืนธรรมชาติพยายามหาทางลัดจะทำให้พบแต่ความผิดหวัง และความสับสนวุ่นวายในสถานเดียว
ถ้าคุณไม่เปิดโอกาสให้ครูทราบว่าฝีมือของคุณอยู่ในระดับใด โดยการตั้งคำถามหรือเผยความโง่เขลา คุณจะไม่มีโอกาสเรียนรู้เรื่องใหม่ไม่มีโอกาสเจริญเติบโตจะเสแสร้งปกปิดก็คงทำได้ไม่นานความจริงจะเผยให้เห็นไม่ช้าก็เร็ว การยอมรับความโง่เขลาของตนเองเป็นก้าวแรกในการเรียนรู้เพิ่มเติม
ผู้เขียนได้เล่าว่า ครั้งหนึ่งมีการจัดงานวันครบรอบสามขวบของลูกสาว ผมพบว่าเธออยู่ที่มุมห้องโอบกอดของขวัญทุกชิ้นที่เพื่อนนำมามอบให้ ด้วยท่าทางขัดใจท้ารบ ไม่ยอมให้เป็นเพื่อนร่วมเล่นด้วย สิ่งที่ผมสังเกตเห็นคือสายตาของพ่อแม่เด็กคนอื่นที่จ้องมอง ความเห็นแก่ตัวของลูกสาว ผมอับอาย ผมทราบดีอย่างน้อยก็รู้สึกได้ถึงความคาดหวังของพ่อแม่กลุ่มนี้
ผมพูดกับตัวเองว่า ‘เราควรจะสอนให้ลูกรู้จักแบ่งปัน’ แรกสุดเขาเริ่มต้นด้วยกันร้องขอ “หนูจ๋าได้โปรดแบ่งปันของเล่นที่เพื่อนเพิ่งนำมอบมาให้ไม่ได้หรือ?” เธอตอบ “ไม่” ยืนยันหนักแน่น
วิธีที่สองเติมหลักเหตุและผลเข้าไป “ หนูจ๋าถ้าหนูเรียนรู้ที่จะแบ่งปันของเล่นกับเพื่อนๆ ตอนที่เขามาบ้านเราเวลาหนูไปเที่ยวบ้านเพื่อน เขาก็จะแบ่งปันของเล่นของเขาให้หนูเล่นด้วย” เธอส่งเสียงตอบกลับแม่ทันควัน ทันท่วงทีว่า “ไม่”
ผมรู้สึกอับอายขายหน้าเห็นได้ชัดว่า ไม่มีอำนาจควบคุมสั่งการ วิธีที่สามจะเป็นการติดสินบนผมเชิญชวนด้วยเสียงนุ่มนวล “หนูจ๋าพ่อมีของขวัญพิเศษ พ่อจะให้หมากฝรั่งด้วยล่ะ
“ไม่อยากได้หมากฝรั่ง” แม่หนูน้อยระเบิดอารมณ์ใส่ทันที
ผมเข้าตาจนแล้ว วิธีที่สี่ ต้องข่มขู่ให้กลัว “ถ้าไม่รู้จักแบ่งปันเดี๋ยวหนูโดนตีแน่เลยนะ” “ไม่สน”
หนูน้อยกรีดร้อง “ หนูไม่ต้องการที่จะแบ่งปันให้ใครเล่นด้วยหรอกนะ”
ท้ายที่สุดผมต้องใช้กำลังดึงของเล่นออกจากมือ ยื่นส่งให้เด็กคนอื่น “เอาละ เอาไปแบ่งกันเล่น”
ลูกสาวของผมควรที่จะเรียนรู้จากประสบการณ์การเป็นเจ้าของเสียก่อน จึงจะเรียนรู้ที่จะแบ่งปันให้กับผู้อื่น หากเราไม่เคยเป็นเจ้าของเราจะรู้จักการแบ่งปันได้อย่างไร เธอต้องหวังพึ่งพ่ออย่างผม ที่มีความมั่นคงทางอารมณ์ และพร้อมที่จะมอบประสบการณ์ที่ดีให้เธอได้เรียนรู้
แต่ในช่วงเวลานั้น ผมตั้งความหวังเอาไว้สูงลิ่วเกี่ยวกับพ่อแม่ของเด็กๆคนอื่น มากกว่าการเจริญเติบโต และการพัฒนาการของลูกและความสัมพันธ์ระหว่างกัน ผมด่วนที่จะตัดสินพิพากษาว่าเธอจะต้องรู้จักที่จะแบ่งปัน เธอเป็นคนที่ผิด ที่ไม่รู้จักแบ่งปันของเล่นให้กับเพื่อนๆ เล่นด้วยกัน
ประสบการณ์ที่ผ่านมา ทำให้ผมเข้าใจว่า ช่วงเวลาใดที่เราควรจะสั่งสอน และช่วงเวลาใดที่เราควรหยุด เพื่อลดความตึงเครียด กลับเปลี่ยนบรรยากาศของอารมณ์ การที่เราดันทุลังจะสั่งสอน จะเป็นเหตุให้เกิดการพิพากษาตัดสิน ผลักไสไม่ยอมรับ ซึ่งหากเราปล่อยให้เด็กอยู่คนเดียวเงียบเงียบตามลำพัง ในยามที่ความสัมพันธ์ราบลื่น ปกติ การที่เราจะอธิปราย สั่งสอน จะส่งผลกระทบมากกว่าแต่คุณเชื่อไหม? ว่าความมั่นคงทางอารมณ์อยู่ไกลเกินกว่าที่เราจะอดทนอดกลั้น และควบคุมตัวเองในช่วงเวลานั้น
การที่เรารู้สึกว่าตัวเองเป็นเจ้าของย่อมที่จะมาก่อนการแบ่งปันด้วยความจริงใจ จำเป็นที่ต้องมีความอดทนและเปิดโอกาสความรู้สึกถึงการครอบครอง และต้องมีความฉลาดเพียงพอที่จะสั่งสอนให้เขารู้จักคุณค่าของการแบ่งปันรวมทั้งการเป็นแบบอย่างที่ดี
บทความจากหนังสือ 7 อุปนิสัย สำหรับผู้ทรงประสิทธิผลยิ่ง
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
7 อุปนิสัยสำหรับผู้ทรงประสิทธิผลยิ่ง
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย