16 เม.ย. 2021 เวลา 23:41 • หุ้น & เศรษฐกิจ
THAI เปิดซื้อขายวันนี้ ปรับตัวลงไปกว่า 50 %
การบินไทย เป็นรัฐวิสาหกิจ ที่มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และในเวลาไม่ถึง 10 ปี ก็มีเส้นทางบินครอบคลุมเมืองสำคัญในเอเชียทั้งหมด ซึ่งรัฐวิสาหกิจคือ State Enterprise แปลว่าเป็นองค์กรธุรกิจที่มีรัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่จุดประสงค์เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรม และสังคม เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
2
หากคุณซื้อหุ้นกาารบินไทยตอนปี 2010 ในราคา 54.50 บาทเป็นจำนวน 100,000 บาท แล้วถือไว้เป็นเวลา 11 ปีในปี 2021 ซึ่งราคาเหลือแค่ 2.06บาท (-96.3%) จากเงิน 100,000 บาทจะเหลือแค่ 3670 บาทในปี 2021
ซึ่งปัญหาที่ทำให้การบินไทยติดลบมากขนาดนี้เนื่องจาก
1.มีต้นทุนที่สูงเกินไป มากกว่าสายการบินอื่น เช่นการจัดซื้อเครื่องบิน, ต้นทุนการโฆษณา, ค่าใช้จ่ายพนักงานค่าใช้จ่ายของการบินไทย คือการมีตำแหน่งของพนักงานในองค์กรที่ทับซ้อนกันมากจนเกินไป ในขณะที่พนักงานระดับปฏิบัติการมีปริมาณไม่ได้เพิ่มขึ้นจากเดิม แต่พนักงานในระดับบริหารนั้นมีจำนวนมากขึ้น ฯลฯ ซึ่งเมื่อมีต้นทุนสูงแต่ไม่มีความสามารถในการลดต้นทุนให้ต่ำลงได้ ทำให้การบินไทยแก้ปัญหาด้วยการตั้งราคาขายสูงมากกว่าที่อื่น ซึ่งนั่นทำให้เจอปัญหาทันที เพราะเวลาไปแข่งกับโลว์คอสต์ก็แพ้เพราะราคาแพงกว่าเยอะ หรือจะแข่งกับสายการบินระดับพรีเมียม คุณภาพก็สู้ไม่ได้
3
2.การบินไทยมีเส้นสายภายในเยอะเกินไป มีระบบราชการมาครอบงำ ส่งคนของฝ่ายการเมืองที่ไม่มีความรู้เรื่องการบิน มานั่งเป็นบอร์ดบริหาร ไม่มีความสามารถพอ แต่ได้นั่งตำแหน่งที่สำคัญ เงินเดือนสูง โดยธรรมนูญเคยเสนอให้เอามืออาชีพด้านการบริหารเข้ามา บริหารการบินไทย แต่โดยบอร์ดบริหารปฏิเสธ
3.ปรับตัวให้ทันกับยุคสมัครใหม่ไม่ได้ สู้คู่แข่งที่เป็นสายการบินจากทั่วโลกไม่ไหว ซึ่งจริงๆแล้วการปรับตัวตามสถานการณ์ต้องอัพเดทกัน เดือนต่อเดือน แต่ด้วยความเคลื่อนที่ช้าขององค์กร ทำให้นโยบายต่างๆ เดินเกมช้าเกินไป และในที่สุด การบินไทยก็อยู่ในภาวะขาดทุนอย่างต่อเนื่อง
ปี 2556 ขาดทุน 12,047 ล้านบาท
ปี 2557 ขาดทุน 15,611 ล้านบาท
ปี 2558 ขาดทุน 13,067 ล้านบาท
ปี 2559 กำไร 15 ล้านบาท
ปี 2560 ขาดทุน 2,072 ล้านบาท
ปี 2561 ขาดทุน 11,605 ล้านบาท
ปี 2562 ขาดทุน 12,017 ล้านบาท
ปี 2563 ขาดทุน ALL TIME HIGH 141,170.74 ล้านบาท !!
1
หากเป็นบริษัทอื่นๆ การขาดทุนหนักขนาดนี้ อาจต้องปิดกิจการไปแล้ว แต่ด้วยความที่การบินไทย มีรัฐเป็นเจ้าของ โดยกระทรวงการคลังคือผู้ถือหุ้นหลัก ดังนั้นแปลว่ารัฐจำเป็นต้องเข้ามา “อุ้ม” องค์กร เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
2
4.บริษัทที่รัฐอุ้มไม่ได้แข็งแกร่งเสมอไป ซึ่งรัฐบาลตัดสินใจอุ้มการบินไทยแบบนี้ มีหลายคนออกมาวิจารณ์เช่น ดร.ประจักษ์ ก้องกรติ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทวีตข้อความว่า “ดูจากแนวโน้มอนาคตอุตสาหกรรมการบินหลังโควิด-19 ที่น่าเป็นห่วง บวกกับภาวะการขาดทุนสะสมต่อเนื่องของการบินไทย และ ความไม่มีประสิทธิภาพในการบริหาร การอุ้มการบินไทยด้วยจำนวนเงินหลายหมื่นล้าน อาจเข้าข่ายตำน้ำพริกละลายแม่น้ำครั้งประวัติศาสตร์ ด้วยภาษีของประชาชนไทยทุกคน”
5.ยื้อไปเรื่อยไม่จบไม่สิ้น การยื้อเอาไว้โดยรัฐบาลถือหุ้นใหญ่ ก็มีแต่จะขาดทุนอย่างเดียว รัฐก็ต้องอุ้มตลอดไป เอาภาษีประชาชนจ่ายให้การบินไทยต่อไป เพราะด้วยสภาวะแบบนี้ ยากมากที่การบินไทยจะพลิกมาเป็นกำไรได้ 15/05/2020 รัฐบาลจะให้การบินไทยกู้เงิน 50,000 ล้านบาท และตามคำของพล.อ.ประยุทธ์ นี่จะเป็นการอุ้มครั้งสุดท้ายแล้ว ซึ่งถ้าหากการบินไทย ยังไม่
สามารถมีแผนธุรกิจหรือฟื้นฟูธุรกิจเพื่อหยุดการขาดทุนได้ ก็มีแนวโน้มเช่นกัน ที่รัฐบาลจะตัดสินใจปฏิรูปการบินไทย ให้ออกจากรัฐวิสาหกิจในอนาคต
บทเรียนนี้ได้สอนให้กับพวกเราเยอะมากว่าการบริหารงานแบบไหน ที่ทำให้ธุรกิจ ล้มเหลว !!
สุดท้ายทางพวกเราก็ขอเป็นกำลังใจให้นักลงทุนที่มีหุ้นไทย ทุกท่านผ่านวิกฤตนี้ไปให้ได้นะครับ สู้ๆครับผม
1
โฆษณา