18 เม.ย. 2021 เวลา 09:18 • การศึกษา
คำนวณทุนประกันชีวิตที่เหมาะสม
ด้วยแนวความคิดเรื่อง รายได้สำหรับผู้อยู่ในอุปการะ (Capital Retention Approach)
เป็น 1 ใน 3 แนวคิด
เรื่องทุนประกันชีวิตที่เหมาะสม ได้แก่
1. แนวคิดเรื่องมูลค่าทางเศรษฐกิจของบุคคล
(Human Life Value Approach)
2. แนวคิดเรื่องความจำเป็น (Needs Approach)
3. แนวคิดเรื่องผลตอบแทนจากทรัพย์สิน (Capital Retention Approach)
การคำนวณหาความต้องการทางการเงิน โดยวิธี Needs Approach และ วิธี Human Life Value Approach นั้น จะมีการนำทรัพย์สินที่มีอยู่มาใช้ในการคำนวณด้วย
ซึ่งยังมีข้อจำกัดอยู่คือ หากมีผู้อุปการะที่ต้องการการดูแลในระยะเวลาที่ยาวนานกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ในเบื้องต้น จะทำให้ทรัพย์สินรวมถึงจำนวนเงินที่คาดการณ์ไว้ไม่เพียงพอ
ส่วนการคำนวณโดยวิธี Capital Retention Approach มีแนวคิดที่สำคัญ คือ จะไม่นำทรัพย์สินที่มีอยู่มาใช้ แต่จะใช้เฉพาะในส่วนของผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากทรัพย์สินนั้นๆเป็นหลัก ดังนั้น เมื่อทราบจำนวนเงินที่ต้องการแล้ว จึงค่อยคำนวณย้อนกลับไป ว่าเพื่อที่จะให้ได้จำนวนเงินตามที่ต้องการนั้นจะต้องมีเงินต้นหรือทรัพย์สินเท่าใด
🌻ตัวอย่าง🌻
นายสมชาย ต้องการรายได้สุทธิให้แก่ผู้อยู่ในอุปการะ จำนวน 200,000 บาทต่อปี ในขณะที่ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนเท่ากับ ร้อยละ 9 และอัตราเงินเฟ้อเท่ากับ ร้อยละ 2 ดังนั้น จำนวนเงินต้นหรือทรัพย์สินที่ต้องการ เท่ากับ
นายสมชาย จะต้องมีจำนวนเงินต้นหรือทรัพย์สินที่ต้องการ = 3,115,451.89 บาท เพื่อนำไปลงทุนและก่อให้เกิดรายได้สุทธิต่อปี = 200,000 บาท
ดังนั้น นายสมชาย ควรทำประกันในวงเงินเอาประกัน = 3,115,451.89 บาท เพราะหากนายสมชายเสียชีวิต ผู้รับประโยชน์ จะได้ทุนประกันดังกล่าวไปลงทุน เพื่อก่อให้เกิดรายได้ปีละ 200,000 บาท ในการเลี้ยงดูผู้อยู่ในอุปการะ
ทั้งนี้ การคำนวณหาจำนวนเงินที่ต้องการโดยวิธีนี้จะพบว่า มีวงเงินเอาประกันภัยที่ค่อนข้างสูง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปสู่เบี้ยประกันภัยที่ค่อนข้างสูงตามมาด้วย ซึ่งอาจจะทำให้ผู้เอาประกันไม่สามารถชำระเบี้ยประกันได้
แต่หากสามารถซื้อความคุ้มครองเท่านี้ได้ วิธีนี้เป็นวิธีที่จะสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้กับทายาทมากที่สุดค่ะ
ใน 3 วิธี วิธีที่นิยมใช้ จึงเป็นวิธีที่ 2 คือ แนวคิด Needs Approach เพราะเป็นการกำหนดการโอนย้ายความเสี่ยง สร้างทุนประกันชีวิตเพื่อปกป้องครอบครัว ตามความกังวลของลูกค้าว่าให้ความสำคัญกับเรื่องไหนเป็นพิเศษ
ท่านสามารถอ่านบทความอีก 2 แนวคิด ได้ที่ 👇
• ข้อมูลอ้างอิง •
หนังสือหลักสูตรวางแผนการเงิน
ชุดวิชาที่ 3 การวางแผนประกันภัย
โดย สมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย
ข้อแนะนำจากเพจ
1
☝ติดตามฟังสาระดีดีของการวางแผนการเงินส่วนบุคคลและการพัฒนาตัวเองได้ที่
โฆษณา