19 เม.ย. 2021 เวลา 03:23 • ประวัติศาสตร์
สงครามยืดเยื้อที่เกิดขึ้นในแผ่นดินพม่า… ในพื้นที่รัฐกะฉิ่น (Kachin State) …มูลเหตุคือ การแย่งชิงทรัพยากรล้ำค่า
7
1 ในนั้นคือ “หยก” (Jade)
1
น้ำจืดที่ไหลมาจากภูเขาสูง ป่าไม้ อัญมณี แร่ธาตุที่เรียกว่า Rare Earth น้ำมันดิบ ก๊าซในทะเลขนาดมหึมา พื้นดินที่แสนอุดมสมบูรณ์ ฯลฯ …แผ่นดินพม่ามีพร้อมสรรพ
มาใส่ใจ สนในเรื่องของ “หยก” ในแผ่นดินพม่าครับ…
1
หยก (Jade) คือชื่อที่ใช้เรียกหิน ซึ่งเป็นอัญมณีอันล้ำค่ามากชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะชาวจีนถือว่าหยกเป็นเจ้าแห่งหินมีค่าทั้งมวล
2
ในอดีตเข้าใจกันว่าหยกมีเพียงชนิดเดียว ต่อมาเมื่อมนุษย์มีความรู้ทางด้านเคมีมากขึ้นจึงสามารถแยกหยกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1
เจไดต์ (Jadeite) มักมีสีเขียวเข้มสด จัดเป็นหยกชนิดคุณภาพดี อยู่ในระบบผลึกแบบหนึ่งแกนเอียง โดยธรรมชาติมักพบเป็นก้อนเนื้อแน่น ประกอบด้วยผลึกขนาดเล็กอยู่รวมกัน มีความวาวตั้งแต่แบบแก้วจนถึงแบบน้ำมัน หยกเจไดต์มีความแข็ง 6.5-7 มีสีในเนื้อเฉพาะตัว และมักไม่สม่ำเสมอ มีสีเข้มและจาง
4
เนฟไฟรต์ (Nephrite) อยู่ในระบบผลึกหนึ่งแกนเอียง โดยธรรมชาติมักพบเกิดเป็นผลึกกลุ่มที่มีขนาดเล็ก รูปเส้นใยเดียวกัน หยกเนฟไฟรต์มีความแข็ง 6-6.5 มีความวาวแบบแก้วถึงน้ำมัน
2
สีมีความเฉพาะตัวเหมือนหยกเจไดต์ แต่มีสีเข้มไม่เท่า และมีสีมืดมากกว่า
แหล่งแร่หยกเจไดต์ (Jadeite) ที่พบในพื้นที่ “รัฐกะฉิ่น” ทางตอนเหนือของเมียนมาเป็นแหล่ง “หยก” ที่มีคุณภาพสูงที่สุดในโลก
3
ชาวจีน…ยกย่อง บูชา-โหยหา หยกมาแต่โบร่ำโบราณ…
3
หยก หรือยู่ ในภาษาจีนกลาง หรือเง็ก ในภาษาจีนแต้จิ๋ว คืออัญมณีที่ชาวจีนยกย่องว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งคุณธรรม 5 ประการ คือ ใจบุญ สมถะ กล้าหาญ ยุติธรรม และมีสติปัญญา
5
ชาวจีนมีความผูกพันกับหยกตั้งแต่เกิดจนตาย ชาวจีนเชื่อว่าหยกเป็น “อัญมณีศักดิ์สิทธิ์” ที่นำมาซึ่งสิริมงคล เจริญรุ่งเรือง ร่ำรวย มีโชคแก่ผู้ครอบครองและทำให้อายุยืน…
2
ชาวจีน…เชื่อกันอีกว่า…หยกมีอำนาจคุ้มครองผู้สวมใส่ให้พ้นจากสิ่งชั่วร้าย เป็นเครื่องรางบอกเหตุได้…
4
ผู้สวมใส่กำลังมีโชค หรือมีเคราะห์อย่างไร สังเกตได้จากสีของหยก หากหยกมีสีสันสดใส นั่นก็หมายความว่า เจ้าของหยกกำลังจะมีโชค แต่ถ้าหากหยกมีสีหมองลง หรือมองเห็นรอยแตกร้าวชัดขึ้นก็แปลว่า เจ้าของหยกกำลังจะมีเคราะห์มาเยือน
2
หยกที่ชาวจีนใช้เป็นเครื่องรางมักจะแกะสลักเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น ปลา เต่า จิ้งหรีด หน้าเสือ
ทางด้านการรักษาโรค… ชาวจีนเชื่อกันว่าหากกินหยกบดละเอียดจะช่วยรักษาโรคไต โรคเจ็บสีข้าง โรคโลหิตจาง โรคหอบหืด ชาวจีนศรัทธาและยกย่องอัญมณีสีเขียวล้ำค่านี้มาก
3
ที่สำคัญคือ ราชสำนักจีน…นิยมชมชอบหยก ประดับบารมี…
2
พระจักรพรรดิใช้หยกเป็นตราพระราชลัญจกร พระธำมรงค์ พระคทา หรือพระที่นั่ง
ชาวจีนทั่วไปมักจะให้ลูกหลานของตนพกหยกติดตัวไว้เสมอ ถ้าเป็นเด็กหญิงจะสวมกำไลหยก แต่ถ้าเป็นเด็กชายก็จะพกเครื่องใช้ที่ทำด้วยหยก หรือจี้พระหยก เมื่อเสียชีวิตหยกก็จะถูกฝังลงไปพร้อมกับศพ
มีการขุดพบฉลองพระองค์หยกของพระจักรพรรดิในราชวงศ์ฮั่นที่ถูกฝังร่างเมื่อราว 2 พันปีที่แล้วพร้อมหยกเคียงกาย…
1
ตำนานการค้นพบหยกที่แสนจะพิสดาร
ในศตวรรษที่ 13 พ่อค้าชาวยูนนานเดินทางไปค้าขายต่างเมือง ต่างถิ่น… เมื่อตอนขากลับระหว่างข้ามพรมแดน เขาหยิบก้อนหินขึ้นมาก้อนหนึ่ง เพื่อถ่วงน้ำหนักในถุงใส่สินค้า…ให้ลาเดินได้อย่างสมดุล
2
เมื่อกลับไปถึงปลายทาง หินก้อนนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นหยกที่มีมูลค่ามหาศาล
2
เกิดการแตกตื่นว่ามีหยกมหาศาล-เรี่ยราด ในพื้นที่ตรงนั้น
ผู้ครองนครยูนนานส่งแรงงานทีมใหญ่เพื่อไปค้นหาหยก
1
เหมือนมีอาถรรพ์… แรงงานที่ไปขุดค้นเสียชีวิตด้วยโรคมาลาเรีย ไข้ป่า ป่วยตายเกือบหมดโดยไม่รู้สาเหตุ
2
แรงงานที่เหลือ…โดนชาวเขา-เจ้าถิ่น เข้าทำร้ายตายเกลี้ยง
หลังจากนั้น…ราชสำนักจีนหยุดส่งคนไปค้นหาหยก
กาลเวลาผ่านไปนานหลายทศวรรษ ชาวกะฉิ่นขยายเผ่าพันธุ์ มีอัตลักษณ์ตัวเอง ยืนยันว่าไม่ใช่คนจีน ประกาศครอบครองดินแดนบนที่สูง (ในขณะที่รัฐบาลพม่ากำลังรวบรวมดินแดนเป็นประเทศ)
1
ท่ามกลางความอัตคัด ขัดสนบนที่สูง …พระเจ้าได้ประทานสินแร่ที่มีค่าให้อาณาจักรของชาวกะฉิ่น (Kachin)
1
ว่ากันตามเนื้อผ้า…ตรงไป-ตรงมา ชาวกะฉิ่นประกาศตัวเป็นเจ้าของดินแดน เจ้าของหยกในดิน ที่น่าจะทำเงินกินกันไปได้นาน 7 ชั่วโคตร
1
หยก (Jade)… เป็นก้อนขนาดย่อมๆ เท่ากำมือ…บางก้อนน้ำหนักเป็นตัน…คือเรื่องที่พบได้มานานนับร้อยปี …นี่คือ ทรัพย์สินที่ชาวกะฉิ่นจะปล่อยให้ “ชาวพม่า” มาครอบครองดินแดนนี้ไม่ได้…
1
เรื่องของเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ประเพณี วัฒนธรรม …ชาวกะฉิ่นมีความกลมกลืน ผูกพัน มีหน้าตาออกไปทาง “ชาวจีน”
ถิ่นที่อยู่…ก็ชิดใกล้กับจีน …แต่ก็ “ไม่ยอมรับว่าเป็นชาวจีน”
1
ดินแดนของกะฉิ่นมียอดเขาชื่อ คากาโบราซี (Hkakabo Razi) สูง 5,881 เมตร ถือเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้…มีหิมะปกคลุมเกือบทั้งปี…สวยงาม มีเสน่ห์ …มีนักท่องเที่ยว…สร้างรายได้ให้ท้องถิ่นก้อนโตมานาน
1
ชามข้าวของใครก็กินในชามตัวเองสิ (เว้ย)
2
(แทบทุกชนเผ่าในแผ่นดินพม่าตั้งกองกำลังติดอาวุธเพื่อปกป้องทรัพย์ในดิน สินในน้ำ ต้องการทำมาค้าขายเอง ไม่ต้องการให้รัฐบาลทหารพม่ามาแบ่งปัน…)
พ.ศ.2504 ชาวกะฉิ่นก่อตั้งกองทัพเอกราชกะฉิ่น (Kachin Independent Army : KIA) เป็นหนึ่งในกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ที่แสวงหาความเป็นอิสระทางการเมืองและต้องการเพื่ออำนาจการจัดการที่ดินและทรัพยากร
1
การก่อรัฐประหารของนายพล เนวิน เมื่อ พ.ศ.2505 ทหารพยายามลดบทบาทของชนกลุ่มน้อย กองทัพเอกราชกะฉิ่นตั้งมั่นจะสู้รบต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า ปกป้องดินแดนที่แสนร่ำรวย…
การแข็งข้อ…เริ่มจากการต่อสู้เพื่อความเป็นเอกราช มาเป็นการต่อสู้เพื่อสิทธิในการปกครองตนเอง เคยมีการลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกกับกองทัพพม่าใน พ.ศ.2537 ทำให้ความรุนแรงลดลง
กองทัพกะฉิ่นถือไพ่เหนือกว่ากองทัพพม่า…เป็นการหยุดยิงแบบ “หล่อเลือกได้” มีอำนาจต่อรอง…
กองทัพเอกราชกะฉิ่นไม่ได้ถูกปลดอาวุธและคงมีกำลังทหารต่อไป ฝ่ายรัฐบาลทหารพม่าต้องการให้กลุ่มติดอาวุธทุกกลุ่มปลดอาวุธก่อนการเลือกตั้ง… แต่กองทัพ
เอกราชกะฉิ่นได้ประกาศอย่างเด็ดขาดที่จะไม่ยอมปลดอาวุธ
แปลว่า…กองทัพพม่าก็ทำอะไรไม่ได้…ปราบไม่สำเร็จ
เรื่องของชีวิตความเป็นอยู่ การเมือง การปกครอง …ชาวกะฉิ่นค่อนข้างจะห่างเหิน เมินหมางกับรัฐบาลทหารพม่าในย่างกุ้งมาตลอด
5
รายได้จากการค้าหยก…ควรต้องเป็นของคนในท้องถิ่น มิใช่ต้องส่งเข้าไปปรนเปรอคนในส่วนกลาง… คนในท้องถิ่นขุดค้นหาหยก
2
การขุดค้นในช่วงแรกๆ ก็จอบเสียม เครื่องจักรขนาดย่อมแบบตามมีตามเกิด ก็พอมีโชคมีลาภ ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง
ยิ่งขุด…ยิ่งเจอ…ชาวจีน คือ ลูกค้าผู้ยิ่งใหญ่…
กองทัพพม่าส่งกำลังเข้าไปปราบปราม…กองทัพ KIA ก็ตอบโต้เต็มพิกัดด้วยสงครามกองโจร กองทัพพม่าเจอของแข็ง…
1
รัฐบาลทหารที่ผ่านมาหลายทศวรรษ ทั้งเจรจา ทั้งสู้รบ แต่ก็หาข้อยุติไม่ได้ เพราะกองทัพ KIA แข็งแกร่ง
2
กลุ่มกะฉิ่นก็มิได้เก่งคนเดียว…ผู้นำฯ ไปผูกไมตรี สร้างพันธมิตรทางการเมืองกับชาวเผ่าอีก 6 เผ่าในมณฑลยูนนานของจีน ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียและรัฐกะชีนในพม่า ส่วนใหญ่มีฐานที่มั่นใกล้ชายแดนจีน…เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
3
ชาวกะฉิ่น…ดิ้นรนทำเหมืองขนาดเล็ก …ขุดหาหยกได้อย่างอิสระแต่ต้องจ่ายภาษีนอกระบบให้กับกองทัพ KIA เป็นเกลือข้าวและเงินสด บ้างก็ขุดหาแบบ “อิสระชน” ผืนดินกลายเป็นหลุมขนมครก
5
ปลายยุค 1990 นายทุนของจีนขอเข้ามาลงทุนทำเหมืองหยก
บริษัทเล็กๆ และชาวบ้านที่ขุดหาหยก… ถูกบีบออกจากพื้นที่
ต้นทศวรรษ 1990 บริษัทของจีนได้รับอนุญาตจาก KIA และกองทัพให้เข้ามาการจัดการธุรกิจเหมืองหยก…
จีนทำอะไร…ต้องใหญ่ ต้องโต…เครื่องจักรขนาดมหึมาถูกนำมาใช้ทำเหมือง ขุดเจาะ หาหยกแบบ “พลิกโลก”
3
ผืนธรณีในดินแดนกะฉิ่นกลายเป็นบ่อขนาดยักษ์ที่น่าจะเป็นฟาร์มเลี้ยงปลาวาฬได้สบายๆ (ดูภาพ)
1
ชาวกะฉิ่น เจ้าถิ่นอดอยากปากแห้ง… จ้องมอง หาโอกาสเข้าร่วมค้นหาในกองดินแบบแทงหวย เพื่อหาเศษชิ้นหยก ซึ่งก็พอมีลาภลอยปะทังชีวิตไปได้…
2
9 กุมภาพันธ์ 2557 มีข่าวกระหึ่มโลก… สำนักข่าวดีวีบีรายงานว่า ได้มีการขุดค้นพบหยก ซึ่งมีน้ำหนักมากถึง 37 ตัน ที่อำเภอไวก่า เขตเหมืองหยกผ่ะกาน รัฐกะฉิ่น โดยทางการพม่าได้เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ขุดพบหยกอย่างเข้มงวด และไม่อนุญาตให้ประชาชนเข้าใกล้บริเวณดังกล่าว
2
16 ต.ค.2559 สำนักข่าวบีบีซีรายงานกระแสฮือฮาในประเทศพม่า …ขุดพบก้อนหยกขนาดมหึมา สูง 4.3 เมตร ยาว 5.8 เมตร และคาดว่ามีน้ำหนักมากถึง 175 ตัน ในรัฐกะฉิ่น
1
มูลค่าที่ประเมินในเบื้องต้นสูงกว่า 170 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 5,950 ล้านบาท
เหมืองหยกที่ใหญ่ที่สุด คือ บริษัทยาดานาร์ ต่อง ตัน เจมส์ และกระทรวงเหมืองแร่เมียนมา ภายใต้ข้อตกลงร่วมทุน 60 : 40 หยกขนาดยักษ์อยู่ลึกใต้ดิน 60 เมตรในภูเขา
เหมืองหยกในรัฐกะฉิ่นเป็นแหล่งหยกที่มีค่าและใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีมูลค่ามหาศาลเกือบเทียบเท่ากับครึ่งหนึ่งของ GDP ทั้งประเทศ สร้างมูลค่ามากกว่า 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (กว่า 9 แสนล้านบาท) ต่อปี
1
มีการเจรจา (ลับ) เรื่องผลประโยชน์การทำเหมืองหยก…
1
ต่อมา…การค้าหยกถูกควบคุมโดยกองทัพเมียนมาที่แนบแน่นกับจีน ข้อมูล ตัวเลข การทำธุรกิจหยก นับแสนล้าน…เป็นความลับ ดำมืดตลอดมา ไม่ค่อยมีใครทราบ เงินก้อนใหญ่ไปไหน
2
กองทัพเมียนมาตั้งบริษัทและเข้าถือหุ้นในอุตสาหกรรมหยกผ่านบริษัท Myanma Economic Holdings Limited และ Myanmar Economic Corporation
ข่าวเหมืองถล่มมีคนตาย…ก็เกิดขึ้นต่อเนื่องเสมอมา…
3 ก.ค.63 ฝนตกหนักต่อเนื่องหลายวัน เกิดเหตุดินถล่มครั้งใหญ่ในรัฐกะฉิ่น ฝังร่างคนงาน 162 คนหายไปในทะเลโคลน
1
มวลดินขนาดมหึมาเทียบเท่าภูเขาพังถล่ม ดิน โคลนนับหมื่น นับแสนตัน ไหล กวาด กลืนชีวิตผู้คนแบบธรณีสูบในนิทานพุทธประวัติ
2
แทบทุกวัน… ชาวบ้านนับร้อย…ต้องคอยวิ่งเข้าหากองดินที่รถบรรทุกนำมาเททิ้งแบบไม่คิดชีวิต เพื่อมอง ควานหาชิ้นหยกที่อาจติดมากับเศษดิน เพื่อนำไปขาย หาเงิน ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง…
3
ในรัฐกะฉิ่น…มีเหมืองหยกราว 20 แห่ง เป็นของนายทุนจีนและทหารในกองทัพเกือบทั้งนั้น…ชาวเมืองยังยากจน ขาดการพัฒนา
แถมท้ายครับ…หลังการยึดอำนาจเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564 กองทัพกะฉิ่นประกาศไม่เห็นด้วยกับผู้นำกองทัพพม่า…
11 มีนาคม 2564 ทหารกองทัพ KIA ได้บุกเข้าโจมตีที่ตั้งทหารพม่า…ค่ายทหารพม่าถูกเผาทิ้ง
3
ประมาณกันว่า…หยกที่ขุดมาจากรัฐกะฉิ่น….คิดเป็นสัดส่วนถึง 90% ของ “หยกเนื้อดี” ทั้งหมดที่มีอยู่ในโลก
หลังยึดอำนาจ…เอกชนของจีนน่าจะต้องคุยกับกองทัพพม่าและ KIA จะดำเนินธุรกิจต่ออย่างไร…
3
ไอ้พวกที่รบ ก็รบกันไป… ไอ้พวกที่ทำมาหากิน ก็ต้องเอาไปแบ่ง
1
“หินสีเขียว” ที่มีค่านับแสนล้านนี้…เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสงคราม….
โฆษณา