20 เม.ย. 2021 เวลา 15:40 • หนังสือ
ในอีก 10-20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วได้หรือไม่
ประเทศพัฒนาแล้ว คือ ประเทศที่มีความมั่งคั่งเชิงเศรษฐกิจ มีอุตสาหกรรมการผลิต ภาคบริการ รวมถึงการมีระบบสาธารณูปโภค และระดับคุณภาพชีวิต ในเกณฑ์ที่ดี
ปัญหาฝนตก น้ำท่วม รถติด การศึกษา เทคโนโลยี และอื่นๆ ที่เป็นปัญหาของประเทศเรา
อยากให้คุณลองคิด และตั้งคำถาม ดูว่า ในฐานะที่คุณเป็นคนไทยคนหนึ่ง คุณจะช่วยแก้ปัญหา หรือทำอะไรได้บ้าง
ผมขอยกตัวอย่าง ศ.ดร สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
เขาจะตั้งคำถามทุกครั้งว่าในฐานะพลเมืองคนหนึ่งเราจะช่วยแก้ปัญหาหรือทำอะไรได้บ้างอย่างแรก เขาเป็นอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เขาพร้อมผลักต้นงานวิจัยที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติเพื่อให้เกิดการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และทุกครั้งที่เขาไปบรรยาย เขามักจะบอกเสมอว่าโลกกำลังเปลี่ยนแปลงแบบ “หักศอก” เราจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกวันนี้
เขาเป็นนายกสภาวิศวกร ในช่วงที่เกิดวิกฤติน้ำท่วมที่จังหวัดอุบลราชธานี เขาพร้อมนำทีมวิศวกรกว่า 200 ชีวิตเพื่อลงพื้นที่ช่วยพี่น้องชาวอุบลฯ ที่ประสบภัยน้ำท่วม
และเขาเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง ผ่านการบอกเล่าเรื่องราวสิ่งที่เขาคิด และได้พบเจอจากการทำงาน การเดินทางทั่วโลก ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่สะสมมาตลอดชีวิตการทำงาน ให้คนในวงกว้างที่ไม่เคยได้รู้จัก “เขา” ได้อ่านผ่านแนวคิดและมุมมองตลอดจนเรื่องราวดี ๆ ที่เขามองว่าเป็นประโยชน์กับผู้อ่านทุกคน
ด้วยหน้าที่หลายบทบาทที่เขาตั้งใจผลักดันสร้างการเปลี่ยนแปลงหลายคนจึงเรียกเขาว่า“ The Disruptor เมืองไทย ซึ่งเขาก็เชื่อว่าทุกท่านก็เป็น Disrupter ได้ด้วยเช่นกัน
เขาหวังว่าสักวันเราจะเปรียบเหมือนมือที่ประสานพลังกันเพื่อร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง
มาร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกันนะครับ
คนส่วนใหญ่ อาจเชื่อไปแล้วว่า ปัญหาฝนตก น้ำท่วม รถติด การศึกษา เทคโนโลยี และอื่นๆ เป็นปัญหาที่คลาสสิค ที่ไม่มีทางแก้ได้ ซึ่ง “ไม่จริงแน่นอน”
โตเกียวสมัยหลังแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 เร่งเครื่องเรื่องอุตสาหกรรมอย่างหนักสมัยนั้นโตเกียวเป็นแหล่งอุตสาหกรรมต้องใช้น้ำมากมีการสูบน้ำบาดาลมาใช้ผลก็คือโตเกียวในยุคทศวรรษ 1960 มีปัญหาเรื่องแผ่นดินทรุดตัวมหาศาลยิ่งกว่ากรุงเทพฯแผ่นดินโตเกียวต่ำกว่าแม่น้ำสุมิดะและอ่าวโตเกียวอยู่เป็นเมตร
ฉะนั้นในยุคหลังสงครามโลกโตเกียวเจอศึกหนักทั้งเรื่องน้ำท่วมและแผ่นดินไหวเวลาฝนตกมาทียิ่งกว่าหายนะเมื่อเทียบกับกรุงเทพฯแล้วพูดได้ว่าเป็นมวยคนละชั้นแถมโตเกียวเจอพายุไต้ฝุ่นปีหนึ่ง ๆ เฉลี่ย 10-12 ลูกซึ่งในปี ค.ศ. 1959 มีคนต้องเสียชีวิตจากพายุไต้ฝุ่นและน้ำท่วมกว่า 5,000 คน (ดูเพิ่มเติมที่ https://www.mofa.go.jp/policy/disaster/21st/2.html) แต่สุดท้ายรัฐบาลก็แก้ปัญหาแบบเบ็ดเสร็จได้
สิ่งที่น่าสนใจที่ทำให้ประเทศญี่ปุ่นพัฒนาได้จนถึงทุกวันนี้
1. คนญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมสนใจการเรียนรู้ การอ่าน การแก้ปัญหาและการพัฒนาตัวเองมานานแล้ว
1
2. คนญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่เน้นหน้าที่ความรับผิดชอบ ความมีเกียรติในการทำงานเพื่อกลุ่ม เพื่อองค์กร เพื่อแคว้น เพื่อประเทศ มากกว่าการแสวงหาความมั่งคั่งส่วนบุคคล
3. การมีอุดมการณ์เป้าหมายเพื่อส่วนรวม แม้จะมีการแข่งขันและขัดแย้งในเรื่องตัวบุคคลและความคิดนโยบายบ้าง แต่พวกเขาก็ร่วมมือกันทำงานไปในทิศทางใหญ่ได้อย่างต่อเนื่อง
4. ญี่ปุ่นมองเรื่องการปฏิรูปทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม การศึกษา วัฒนธรรม อย่างครบวงจร และประชาชน เช่น พ่อค้า นักธุรกิจ ชาวนารวย ปัญญาชน มีบทบาทในการพัฒนาทั้งเรื่องเศรษฐกิจ การศึกษา เรื่องอื่นๆ มาก
บางอย่างไทยและประเทศอื่นก็ทำคล้ายกัน แต่ไม่ได้ปฏิรูปอย่างกว้างขวางลึกซึ้ง รวดเร็ว เอาจริง รวมทั้งไม่ได้กระจายความรู้และทรัพย์สินรายได้สู่ประชาชนทั้งประเทศมากเท่ากับญี่ปุ่น ทั้งๆ ที่รัฐบาลญี่ปุ่นในยุค 150 ปีที่แล้วก็ไม่ได้ร่ำรวยอะไร ต้องเผชิญและแก้ปัญหาเรื่องงบประมาณการคลังอยู่มาก (ญี่ปุ่นมีปัญหาภัยพิบัติ ปัญหาความแห้งแล้ง ผลผลิตเสียหายในบางปีด้วย)
แต่ผู้นำญี่ปุ่นในยุคนั้นมีวิสัยทัศน์มองการณ์ไกล กล้าปฏิรูปภาษีทั้งระบบ กล้ากู้ยืมธนาคารต่างชาติ ออกพันธบัตรกู้ยืมจากประชาชน และรัฐบาลมุ่งทำงานเพื่อส่วนรวมมากกว่าที่จะทุจริตฉ้อฉลเห็นแก่ตัว
ประเทศฟินแลนด์ เมื่อประมาณ 40 ปีก่อน ฟินแลนด์เป็นประเทศที่ค่อนข้างยากจนที่มี เศรษฐกิจ การเกษตร และระบบการศึกษา ที่ไม่เต็มประสิทธิภาพ ผู้นำประเทศทราบดีว่า หากต้องการทำให้เศรษฐกิจอยู่รอด จะต้อง “พลิก” ระบบการศึกษาทั้งหมด และพัฒนาขีดความสามารถของคนรุ่นใหม่ เพื่อให้เป็นนวัตกร และผู้ประกอบการ ฟินแลนด์ยังติด 1 ใน 5 ของประเทศที่มีนวัตกรรมสูงสุด ซึ่งนำหน้า สหรัฐอเมริกา ด้วย
ประเด็นสำคัญของการ “พลิก” ระบบการศึกษาของฟินแลนด์
1) เขาพลิกอาชีพครูผู้สอน โดยยกเครื่องหลักสูตรเตรียมความพร้อมครูใหม่ทั้งหมด
2) เขาตัดทอนหลักสูตรเหลือแค่แนวคิดไม่กี่ข้อที่เข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง ต่างจากหลักสูตรหนาปึกที่ยึดข้อเท็จจริงและการทดสอบเป็นหลักซึ่งสร้างภาระให้นักเรียนมัธยมปลายและนักศึกษาของเราโดยสิ้นเชิง
3) เขาเห็นคุณค่าการศึกษาเชิงวิชาชีพและเชิงเทคนิคในการเรียนระดับมัธยมปลาย และอุดมศึกษา (ร้อยละ 45 ของนักเรียนมัธยมปลายเลือกอาชีพเชิงเทคนิคมากกว่าเส้นทางสายวิชาการ)
4) เขาเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างอิสระและตัดสินใจเองว่าจะเรียนอะไร
5) เขาเปิดรับนวัตกรรมการเรียนการสอนทุกระดับ
6.สังคมที่มีความเสมอภาคและเท่าเทียมซึ่งเอื้อต่อความก้าวหน้าของชีวิต จากการศึกษาพบว่าเด็ก นักเรียนจะมีผลการเรียนที่ดีในสังคมที่มีความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
7.การทำให้โรงเรียนเป็นความสุขของเด็ก ๆ โดยเด็กจะได้เรียนรู้อย่างผ่อนคลาย สนุกสนาน และได้รู้จักตัวเอง ในโรงเรียนจะไม่มีการสอบประเมินผลในช่วง 5 ปีแรก เพราะการสอบทำให้เด็กไม่สามารถใช้ความคิดได้อย่างอิสระ และสิ่งสำคัญของการเรียนไม่ใช่การสอบผ่าน แต่เป็นการพัฒนาความสงสัยใคร่รู้โดยธรรมชาติของเด็ก
2
การปฏิรูปทางการศึกษาของฟินแลนด์จะไม่สำเร็จและเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมเช่นนี้หากขาดปัจจัยที่สำคัญอีก ประการนั่นคือ “ความร่วมมือ” จากทุกฝ่าย (ปัญหาอย่างหนึ่งของคนไทยคือ เหมือนเราจะเป็นมิตร แต่พอเรื่องงาน เรามักไม่ค่อยคุยกัน เราคุยกัน แต่ไม่เชื่อมโยงกัน)
สิ่งที่ทำให้แต่ละภาคส่วนนำระบบนี้ไปปรับใช้อย่างจริงจัง คือ ความรู้สึก “มีส่วนร่วม” หลายประเทศล้มเหลวในการพยายามปฏิรูปการศึกษา เพราะใช้การบังคับใช้ระบบแบบการส่งให้ทำ ซึ่งจะทำให้เกิด การตั้งค่าถามโต้แย้งมากกว่าการปฏิบัติตาม
แต่ฟินแลนด์ใช้การสร้างความรู้สึก “มีส่วนร่วม” ให้คนในประเทศผ่านการสอบถามความคิดเห็นก่อนนำระบบมาปรับใช้ วิธีนี้จะทำให้ผู้ตอบคำถามเกิดความรู้สึกในทางบวกพร้อมเปิดใจ นำไปสู่การนำไปปรับใช้และเกิดการเปลี่ยนแปลงในที่สุด
ปัจจัยเหล่านี้เป็นกลไกที่คอยขับเคลื่อนวงล้อแห่งการพัฒนาประเทศ ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษากว่า 30 ปีของฟินแลนด์ไม่ใช่ตัวเลขคะแนนสอบหรือเกรดของนักเรียน แต่เป็นการเติบโตทางเศรษฐกิจ สิทธิและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชากร
ซึ่งตัวชี้วัดเหล่านี้ชี้ให้เห็นแล้วว่าฟินแลนด์ก้าวหน้าอย่างมากและกลายเป็นต้นแบบด้านการเรียนการสอน รวมทั้งสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนารากฐานของประเทศ อย่างประชาชนให้กับหลาย ๆ ประเทศได้เช่นกัน
เราลองดูว่าสิ่งที่น่าสนใจ 4ข้อ ที่ทำให้ประเทศญี่ปุ่นพัฒนาได้จนถึงทุกวันนี้ พบว่ามีถึง 3 ข้อ ที่เน้นการร่วมมือกัน ของทุกคน (ข้อ 2-4) และให้ความสำคัญกับการทำเพื่อประเทศชาติ และสังคม มากกว่า ความรวย และความสำเร็จส่วนตัว
เราอาจเคยได้ยินว่า ประเทศญี่ปุ่น คนมีวินัย บ้านเมืองสะอาด แต่ผมมองว่า การร่วมมือกันของทุกคน และการให้ความสำคัญกับส่วนรวม มากกว่าส่วนตน เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ(ถ้าไม่สำคัญ คงไม่มีถึง 3ข้อ จาก 4 ข้อหรอก)
ประเด็น 7 อย่างของการพลิกระบบการศึกษาที่ประเทศฟินแลนด์ ก็เกิดจากการร่วมมือกัน ของทุกคน ซึ่งคนที่จะร่วมมือกัน ก็จะต้อง ให้ความสำคัญกับส่วนรวม มากกว่าส่วนตน เช่นเดียวกันกับประเทศญี่ปุ่น
ถ้าเราดูสิ่งที่ผมได้เขียนไว้ในบทความนี้ และดูสิ่งที่ ศ.ดร.สุชัชวีร์ กล่าว “ผมหวังว่าสักวันเราจะเปรียบเหมือนมือที่ประสานพลังกันเพื่อร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง” เราจะเห็นว่า การร่วมมือกันสำคัญแค่ไหน
ถ้าเรา บอกว่า ถ้าคนทุกคนพัฒนาตัวเอง เพื่อประสบความสำเร็จ และมีความสุข ก็จะส่งผลให้ประเทศ และสังคมพัฒนา ก็จริงส่วนหนึ่ง แต่ถ้าทุกคนหรือคนส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญกับส่วนตนมากกว่าส่วนรวม หรือให้ความสำคัญกับความสุขของตนเองมากกว่าสิ่งใด
ประเทศ และสังคม อาจพัฒนาช้า และไม่ได้พัฒนาอย่างแท้จริง และ ชีวิตของคนส่วนใหญ่ล่ะ จะมีความสุขหรือเปล่า? (เราอยากมีความสุข แต่ถ้าเราไม่ร่วมมือกัน เราจะมีความสุขหรือเปล่า?)
ที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ใช่เป็นการเปรียบเทียบเพื่อให้ทุกข์ และไม่ได้มีเจตนาที่จะไปพูดถึงใครในทางที่ไม่ดี แต่ต้องการให้ทุกคนเห็นว่าประเทศ และสังคมเราก็สามารถพัฒนาไปข้างหน้าได้อีกมาก จนเราอาจคาดไม่ถึงด้วยซ้ำ
และผมเชื่อว่า ถ้าเรา “ร่วมมือกัน” ในอีกประมาณ 10-20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยมีโอกาสได้เป็น “ประเทศพัฒนาแล้ว” แน่นอนครับ
อ้างอิง: หนังสือ คิดต่าง สร้างการเปลี่ยนแปลง
โฆษณา