23 เม.ย. 2021 เวลา 08:38 • บันเทิง
นักวิจารณ์บันเทิงเกาหลี ตั้งข้อสังเกตการใช้โชเชี่ยลมีเดียของประชาชน ในการไล่ล่าคนดังในวงการบันเทิง!?
1
เมื่อเกิดเรื่องอื้อฉาวของคนดังขึ้นมาแต่ละครั้ง ทั้งเรื่องในอดีต เรื่องงาน หรือแม้แต่เรื่องส่วนตัว แนวโน้มของคนเกาหลี มักจะจัดตั้งกลุ่มก้อนทางออนไลน์ เพื่อพูดคุยกันในประเด็นเหล่านี้
1
แน่นอนว่า สุดท้ายมักจะจบที่การเรียกร้อง เพื่อแสดงความรับผิดชอบ
2
ฮา แจ-กึน นักวิจารณ์วัฒนธรรมบันเทิง ตั้งข้อสังเกตว่า ประชาชนเหมือนมีความรู้สึกพยาบาท ในการขับไล่คนดังที่มีเรื่องอื้อฉาวออกจากงานมากขึ้น?
“เมื่อประชาชนแสดงความคิดเห็น และบังคับให้รายการทีวียกเลิกรายการ หรือคนดังที่ต้องก้าวลงจากตำแหน่ง นั่นก็ทำให้รู้สึกถึงความพึงพอใจได้ และบางครั้งก็ทำให้พวกเขากลายเป็นนักวิจารณ์ที่รุนแรงขึ้น”
2
เขากล่าวเสริมว่า นี่ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอไป แต่ก็มีข้อดีในบางครั้ง
"เนื่องจากคนดังได้รับการพิจารณาอย่างจริงจัง และถูกมองว่ามีอิทธิพลต่อสังคมอย่างมาก การจัดการเรื่องอื้อฉาวจึงเป็นตัวอย่างสำหรับผู้คน"
1
"อย่างกรณี ถ้าหากคนดังที่เคยเป็นคนพาล ถูกถอดออกจากโปรแกรมของพวกเขา เด็กๆ เยาวชน จะสามารถเรียนรู้บทเรียนได้ว่า การกลั่นแกล้งจะมีผลตามมาในภายหลัง"
ในขณะที่ คิม เฮิร์น-ซิค นักวิจารณ์บันเทิงอีกคน แสดงความกังวลว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวสามารถกลายเป็นการล่าแม่มดได้อย่างรวดเร็วทันที
“เราควรมุ่งเน้นไปที่เรื่องอื้อฉาวแบบนี้ เช่นว่าเป็นข้อกล่าวหาทางอาญา หรือเป็นประเด็นส่วนตัวของคนดัง”
"แต่ตอนนี้ไม่มีขอบเขตสำหรับเรื่องอื้อฉาวดังกล่าว"
คิมกล่าวเพิ่มเติม...
1
“ในสังคมที่มีความแน่นแฟ้น(แบบเกาหลี) สื่อโซเชียลกลายเป็นช่องทางหนึ่งในการปลุกระดมความคิดเห็นของสาธารณชนได้อย่างง่ายดาย”
"ด้วยเหตุนี้ บริษัทต่างๆ จึงดำเนินการอย่างทันท่วงที โดยการยกเลิกข้อตกลงการโฆษณากับคนดัง เพื่อออกห่างจากความคิดเห็นเชิงลบโดยเร็วที่สุด"
@theKoreaTimes
#เกาหลีใต้
โฆษณา