24 เม.ย. 2021 เวลา 12:00 • ธุรกิจ
รู้จัก “SOAR” เครื่องมือการวางแผนกลยุทธ์ ที่ดีกว่า SWOT Analysis
5
หลักการที่ผู้บริหารมักนำมาใช้ในการวิเคราะห์องค์กรหรือธุรกิจของตัวเอง เพื่อวางแผนกลยุทธ์ มักจะเป็น SWOT Analysis ที่มีการเริ่มใช้ครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1940
5
โดยหน้าที่ของ SWOT คือการวิเคราะห์ถึง จุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weaknesses) ภายในองค์กร และการมองหาโอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) ที่อยู่ภายนอกองค์กร
4
เมื่อวิเคราะห์ได้แล้ว ก็จะนำเอาข้อมูลที่ได้ มาวางแผนด้านกลยุทธ์ในลำดับถัดไป
ซึ่งในปัจจุบัน SWOT ค่อนข้างที่จะไม่นิยมใช้แล้ว เพราะมีข้อด้อยหลายอย่าง เช่น
1. เป็นมุมมองที่เกิดขึ้นจากผู้บริหารหรือกลุ่มคนเพียงกลุ่มเดียว ดังนั้นข้อมูลที่ได้ อาจไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้องทั้งหมด
2
2. เป็นการวิเคราะห์เพียงภาพรวมกว้าง ๆ ไม่ได้มีวิธีการหรือขั้นตอน ที่จะไปให้ถึงเป้าหมายนั้น
3
3. เป็นการวิเคราะห์ที่อ้างอิงจากสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เมื่อเวลาผ่านไป อาจทำให้หลักการนี้ ใช้ไม่ได้ผลแล้วนั่นเอง
3
ดังนั้นจึงเกิดหลักการ SOAR Analysis หรือที่อ่านว่า “ซออาร์” ซึ่งเป็นหลักการที่ใช้วิเคราะห์องค์กรหรือธุรกิจเพื่อวางแผนกลยุทธ์ เหมือนกับ SWOT เพียงแต่มีการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพและทันสมัยมากขึ้น
5
เพื่อให้เข้าใจอย่างละเอียด เราต้องย้อนกลับไปต้นกำเนิดของ SOAR กันก่อน
2
จริง ๆ แล้ว หลักการ SOAR เดิมคือหลักการ SWOT ที่นำวิธีคิดแบบ Appreciative Inquiry เรียกสั้น ๆ ว่า “AI” เข้ามาผสมผสาน โดยวิธีคิดนี้หมายถึง การตั้งคำถามเชิงบวกกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคน ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ จุดแข็ง (Strengths) โอกาส (Opportunities) แรงบันดาลใจ (Aspiration) และผลดีที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Results) ร่วมกัน
เพื่อใช้ค้นหาแนวทางที่ดีที่สุด สำหรับการนำไปปฏิบัติ ให้บรรลุเป้าหมาย
17
ที่น่าสนใจคือ วิธีคิดแบบ AI มีสมมติฐานว่า “ในทุกระบบหรือทุกคน มักมีเรื่องราวดี ๆ ที่ซ่อนเร้นอยู่เสมอ เมื่อเป็นเช่นนั้น แล้วทำไมเราไม่ดึงเรื่องราวดี ๆ มาสร้างการเปลี่ยนแปลง จากเรื่องที่ดูไม่น่าเป็นไปได้ ให้เป็นไปได้ขึ้นมา”
4
และถ้าย้อนกลับไปตั้งแต่ทศวรรษที่ 80 ผู้บริหารและนักพัฒนาองค์กรได้นำวิธีคิดแบบ AI ไปประยุกต์ใช้ ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงในหลายวงการ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการบริหาร, ด้านการแพทย์, ด้านวิศวกรรม, ด้านการพัฒนาองค์กร และการวางแผนกลยุทธ์ ซึ่งเป็นหลักฐานที่ยืนยันว่า วิธีคิดนี้ได้ผลนั่นเอง
หลังจากอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หลายคนอาจสงสัยว่า แล้ว SOAR ดีกว่า SWOT อย่างไร ?
1
ความแตกต่างระหว่าง SWOT และ SOAR คือ
SWOT จะวิเคราะห์ถึงสภาพแวดล้อมภายใน และสภาพแวดล้อมภายนอกขององค์กร ซึ่งเป็นการวิเคราะห์เพียงภาพรวมกว้าง ๆ ไม่ได้มีวิธีการหรือขั้นตอนที่นำไปสู่เป้าหมาย
2
แต่ในทางตรงกันข้าม SOAR จะวิเคราะห์ทั้งจุดแข็ง จุดอ่อน รวมถึงแรงบันดาลใจ และกำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการในอนาคต ดังนั้น SOAR จึงมีขั้นตอนที่ละเอียดกว่า สมเหตุสมผลกว่า และนำไปใช้จริงได้ง่ายกว่านั่นเอง
2
ซึ่งวิธีการนำ SOAR ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง จะเป็นการตั้งคำถามเชิงบวกในแต่ละประเด็น แล้วนำไปสอบถามผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนในองค์กร เมื่อได้คำตอบมาแล้ว ก็นำคำตอบนั้นมาร้อยเรียงตามตัวชี้วัด 4 ตัว ได้แก่
1) จุดแข็ง (Strengths)
2) โอกาส (Opportunities)
3) แรงบันดาลใจ (Aspiration)
4) ผลดีที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Results)
13
เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น จะขอยกตัวอย่างคำถามเชิงบวกใน 2 แง่มุม ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ และแรงจูงใจจากภายใน โดยเริ่มจากตัวชี้วัดแรก
2
1) จุดแข็ง (Strengths)
1
คือเรื่องราวดี ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กร โดยอาจเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไร กับใครก็ได้
และอาจอยู่ในรูปแบบของความรู้ ทัศนคติ ที่อยู่ในบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
1
ในกระบวนการค้นหาจุดแข็ง จึงเป็นเหมือนกระบวนการที่ใช้ค้นหาเรื่องดี ๆ จากความสำเร็จ
แม้เพียงเล็กน้อย จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนในองค์กร ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1
-การเรียนรู้
1
เริ่มด้วยการตั้งคำถามว่า “ถ้าให้นึกถึงครั้งที่เราทำงานได้มีประสิทธิภาพ แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
จุดเปลี่ยนนั้นมาจากอะไร” ยกตัวอย่างเช่น พนักงานคนหนึ่งเล่าเรื่องราวดี ๆ ว่า มีอยู่ครั้งหนึ่งได้สอบถามหัวหน้าไปตรง ๆ ว่า
1
จุดที่เราต้องปรับปรุงมีอะไรบ้าง และหลังจากที่หัวหน้าตอบ ผลงานของเราก็มีการพัฒนามากขึ้น
เพราะรู้จุดบกพร่องของตัวเอง ดังนั้นการให้ Feedback อย่างจริงใจ ระหว่างหัวหน้าและคนในทีม
ทำให้ทำงานได้ดีขึ้น เรื่องนี้จึงเป็นจุดแข็ง ที่สามารถนำมาเป็นหลักปฏิบัติถาวรในองค์กรได้
2
-แรงจูงใจจากภายใน
1
โดยให้นึกถึงเหตุการณ์ที่ทำให้เรา เต็มใจทำงานอย่างดีที่สุด โดยงานนั้นไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ขององค์กร งานนั้นคืองานอะไร ?
1
เช่น ตัวอย่างการสัมภาษณ์พนักงานรายหนึ่ง บอกว่า การที่บริษัทพาพวกเขาไปสร้างห้องสมุดให้กับโรงเรียนในชนบท ทำให้พวกเขารู้สึกมีความสุข
และมีความภูมิใจ ที่องค์กรได้พาไปทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
2
ดังนั้นเรื่องนี้จึงสามารถนำไปต่อยอด เป็นโครงการรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ในระยะยาว ที่ช่วยสร้างแรงจูงใจให้พนักงานได้
1
2) โอกาส (Opportunities)
คือสิ่งที่เกิดจากการวิเคราะห์จุดแข็ง โดยสามารถวิเคราะห์ออกมาได้ ดังนี้
1
-โอกาสในการส่งเสริมการเรียนรู้
การให้ Feedback ร่วมกันระหว่างทีม จะทำให้ทำงานได้ดีขึ้น มีประสิทธิผลมากขึ้น
 
-โอกาสในการสร้างแรงจูงใจจากภายใน
พนักงานได้ทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อสังคม ทำให้พนักงานมีแรงจูงใจในการทำงาน มีความภูมิใจในองค์กร ดังนั้นแสดงว่าองค์กรสามารถใช้กิจกรรมเพื่อสังคม เป็นตัวช่วยในการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานได้
2
3) แรงบันดาลใจ (Aspiration)
3
-แรงบันดาลใจจากโอกาสในการส่งเสริมการเรียนรู้
เมื่อพนักงานทำงานได้ดีขึ้น มีขีดความสามารถสูงขึ้น มีทัศนคติในเชิงบวก เนื่องจากผ่านการ Feedback ร่วมกันระหว่างทีม จึงทำให้งานที่ออกมามีคุณภาพ และ KPI ทุกตัวจากทุกแผนกก็สูงขึ้นตาม
3
-แรงจูงใจจากโอกาสในการสร้างแรงจูงใจจากภายใน
เมื่อองค์กรสร้างกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ได้ภาพลักษณ์ที่ดี
พนักงานมีความภาคภูมิใจ และมีความผูกพันกับองค์กรมากขึ้น
1
4) ผลดีที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Results)
-KPI จากการส่งเสริมการเรียนรู้
1
KPI ของทุกแผนกสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
1
-KPI จากการสร้างแรงจูงใจจากภายใน
1
อัตราการลาออกของพนักงานลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
1
เมื่อได้ข้อมูลครบถ้วนแล้ว สิ่งที่ต้องทำในขั้นต่อไปคือ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ซึ่งก็ต้องมีการวัดผล SOAR Analysis ระหว่างทางอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้แน่ใจว่าคำถามเชิงบวกที่เราใช้นั้น นำไปสู่ผลดีที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจริง ๆ..
4
อ้างอิง:
-งายวิจัยของ ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://so04.tci-thaijo.org/…/mba…/article/view/64500/52899…
1
โฆษณา