ต้นนางพญาเสือโคร่งขุดล้อมย้ายปลูกอย่างไรดี?
จากที่ได้กล่าวไว้ในบทความเรื่อง EEC กับผลกระทบสู่ต้นนางพญาเสือโคร่ง
ที่ว่าบริษัทผู้รับเหมาไม่ควรดำเนินการขยายถนน 304 ฉะเชิงเทร่า - กบินทร์บุรีด้วย วิธีการโค่นต้นนางพญาเสือโคร่งทิ้ง ในวันนี้เราจึงอยากจะมานำเสนอวิธีการขยายถนนโดยไม่ต้องสูญเสียทรัพยากรที่มีความสำคัญอย่างมากทั้งต่อมนุษย์และระบบนิเวศ วิธีการนั้นก็คือการขุดล้อมย้ายปลูกต้นไม้
การขุดล้อมย้ายปลูกต้นไม้ (Transplanting) หมายถึง การดำเนินการย้ายต้นไม้จากที่เดิมไปยังที่แห่งใหม่ โดยที่ต้นไม้นั้นยังคงมีชีวิตอยู่ หรือ หมายถึงเปลี่ยนทิศทางของกิ่ง การยกระดับคอรากให้สูงขึ้นหรือต่ำลง เพื่อปรับปรุงระดับดินบริเวณที่ต้นไม้นั้นขึ้นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นชั่วคราวหรือถาวร แต่ความหมายโดยทั่วไปคือ การปรับเปลี่ยนตาแหน่งที่ตั้งของต้นไม้ จากสถานที่เคยเจริญเติบโตเดิม ไปยังสถานที่แห่งใหม่ ด้วยวิธีการขุด ตัดราก มีการห่อหุ้มราก การตัดแต่งใบ กิ่ง ตามความจำเป็น เพื่อให้ต้นไม้นั้นเจริญ งอกงามต่อไป (เกษม, 2555)
เมื่อการขุดล้อมย้ายปลูกต้นไม้คือการย้ายต้นไม้จากที่เดิมไปยังที่ใหม่โดยที่ต้นไม้นั้นยังมีชีวิตอยู่ แล้วจะต้องทำอย่างไรในการขุดล้อมให้ถูกวิธีมี ในลำดับแรกเราต้องพิจารณาปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงก่อนการขุดล้อมย้ายปลูกต้นไม้ซึ่งมีดังต่อไปนี้
1. ชนิดของต้นไม้ที่จะทำการขุดล้อม เนื่องจากต้นไม้ก็นับเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งจึงทำให้มีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นความต่างของระบบราก ลำต้น และใบ โดยระบบรากเป็นมีความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะมีทั้งรากที่แข็งแรงอย่างรากแก้ว หรือรากที่อ่อนแออย่างรากฝอย ทำให้ต้นไม้บางต้นไม่มีความเหมาะสมในการขุดล้อม หากขุดล้อมขึ้นมาก็อาจตายได้ ไม่ว่าจะเป็นการตายที่ใช้เวลาเพียงไม่กี่วัน หรือการตายที่ต้องใช้เวลาเป็นปีถึงจะสามารถสังเกตเห็น
2. คุณภาพของต้นไม้ที่จะขุดล้อม ต้นไม้ต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ แข็งแรง แตกกิ่งได้อย่างสมดุล ไม่มีโรคและแมลงเข้าทำลายโดยเฉพาะลำต้น และควรเป็นต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในดินเหนียว หรือดินร่วนเหนียวเพราะมีการยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคเยอะทำให้รับแรงบีบอัดได้มาก
3. ฤดูกาลในการขุดล้อม ข้อนี้มีความเกี่ยวโยงกับชนิดของต้นไม้อย่างมีนัยยะสำคัญด้วยเช่นกัน เพราะชนิดของต้นไม้ทำให้ความพร้อมในการขัดล้อมแตกต่างกันไป ดังนี้
3.1) ต้นไม้ชนิดไม้ไม่ผลัดใบมีการเจริญเติบโตเกือบตลอดปีทำให้สามารถขุดล้อมและย้ายปลูกได้ตลอดปี แต่ฤดูที่เหมาะสมที่สุดคือ ฤดูฝน เนื่องจากต้นไม้จะได้รับความชื้นซึ่งช่วยลดอาการเหี่ยวถาวรได้ ช่วงเดือนที่เหมาะสมได้แก่ เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป
3.2) ต้นไม้ชนิดผลัดใบจะหยุดการเติบโตในฤดูแล้ง ฤดูกาลที่เหมาะสมที่สุดจึงเป็นช่วงเวลาที่ต้นไม้มีใบแก่จัดเต็มต้นก่อนผลัดใบ เนื่องจากขณะนั้นต้นไม้จะสะสมอาหารไว้ในส่วนต่าง ๆ อย่างเต็มที่ ทำให้สามารถแตกกิ่งใบได้ดีหลังการขุดล้อมย้ายปลูก เดือนที่เหมาะสมคือช่วงเดือนกันยายน - ธันวาคม
4. สภาพพื้นที่ที่จะนำต้นไม้ที่ขุดล้อมไปปลูก จะต้องอยู่ในสภาพที่เตรียมพร้อมที่จะปลูกต้นไม้โดยการจัดการพื้นผิวให้สะอาดเรียบร้อยปราศจากเศษวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ ก่อนทำการถมดินทรายเพื่อปรับพื้นที่และเริ่มปลูกต้นไม้
5. การดูแลรักษาหลังการย้ายปลูกต้นไม้ มีวิธีการดังนี้
5.1) รดน้ำอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึงทันทีที่ปลูกแต่ต้องอย่าให้น้ำท่วมขังในปากหลุม
5.2) ค้ำยันต้นไม้ให้มั่นคง ไม่สั่นคลอน และป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับลำต้น
5.3) ตรวจดูแผล ถ้าหากมีแผลให้ทำการสมานแผลด้วยฟลิ้นโค๊ต
5.4) ไม่ใส่ปุ๋ยเคมีขณะขุดล้อมใหม่ ๆ จนกว่าระบบรากจะเจริญดีแล้ว
5.5) สำรวจโรคและแมลงศัตรูพืชที่จะเข้าทำลายต้นไม้
6. เครื่องมือและอุปกรณ์ในการขุดล้อมขึ้นกับขนาดและชนิดของต้นไม้ สถานที่ดำเนินการ และรูปแบบดำเนินการ โดยอุปกรณ์ต้องมีความพร้อมในการใช้งาน เช่น ถ้าเป็นมีดก็ต้องคม ถ้าเป็นเสียมก็ต้องสั่งทำพิเศษให้มีความคมและได้น้ำหนัก สามารถตัดรากได้โดยที่ต้นไม้สั่นสะเทือนน้อยที่สุด เป็นต้น
เมื่อพิจารณาปัจจัยทั้งหมดแล้วเราก็ต้องหารูปแบบการขุดล้อมที่มีความเหมาะสมกับการขุดล้อมต้นไม้แต่ละชนิดโดยรูปแบบการขุดล้อมต้นไม้ทั้งหมดมีดังนี้
1. การขุดล้อมแบบไม่มีดินติดไปกับระบบราก (Bare root) เหมาะสมกับต้นไม้ขนาดไม่เกิน 3-3.5 นิ้วเท่านั้น
2. การขุดล้อมโดยมีดินติดไปกับระบบราก (Balled & burlaped or Soil ball) โดยขนาดของ ก้อนดินที่ติดไปกับต้นนั้นควรมีปริมาณดินน้อยที่สุดหรือมีเท่าที่จาเป็นเพียง พอที่จะหุ้มป้องกันระบบรากที่ติดไปกับต้นไม้เท่านั้น มี 3 วิธี
2.1) การขุดล้อมสด หรือ การขุดล้อมเคลื่อนย้ายในขันตอนเดียว คือ การขุดล้อมที่สามารถยกและเคลื่อนย้ายต้นไม้ที่ทาการขุดล้อมออกจาก หลุมได้ทันที เหมาะสาหรับพืชที่แข็งแรงทนทาน ขนาดใหญ่
2.2) การขุดล้อมคาหลุม คือ การขุดล้อมที่พักต้นไม้ไว้กับหลุม ระยะหนึ่งเหมาะสาหรับพืชที่ต้องการการปรับตัวระยะหนึ่ง หรือพืชที่ผลัดใบ ที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทันที มี 2 ลักษณะ
- การขุดล้อมเตือนใช้กับต้นไม้ที่ขุดล้อมยากจำเป็นต้อง อาศัยเวลานานเป็นปี โดยขุดดินรอบโคนต้น แล้วค่อยๆ ตัดรากออกทีละด้าน เหมาะกับต้นไม้ที่มีอายุมาก เปลือกบาง
- การขุดล้อมเพื่อให้ใบร่วง เป็นการลดการคายน้ำใช้กับ ต้นไม้ขนาดเล็กและขนาดกลาง
2.3) การขุดร่องเป็นรูปสี่เหลียม (Box method) วิธีนี้เหมาะกับ ต้นไม้ที่ต้องการดินติดไปกับระบบรากแต่สภาพพื้นที่เป็นดินปนทรายหรือ ทรายล้วนๆ
ลักษณะของนางพญาเสือโคร่ง
ตันนางพญาเสือโคร่งจัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง เปลือกต้นเรียบเป็นมัน สีเหลือบน้ำตาล พบว่าขึ้นในป่าที่ระดับความสูงประมาณ 500-1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นตามภูเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000-2,000 เมตร เช่น บนดอยเชียงดาว ดอยอินทนนท์ ฯลฯ
ตารางสรุปสิ่งที่เหมาะสมกับต้นนางพญาเสือโคร่ง
ชนิดของต้นไม้
ฤดูที่เหมาะสมในการขุดล้อม
วิธีขุดล้อมที่เหมาะสม
สถานที่ที่ควรย้ายไปปลูก
ไม้ยืนต้นผลัด
ช่วงเวลาที่ต้นไม้มีใบแก่จัดเต็มต้นก่อนผลัดใบ
หรือ เดือนกันยายน-ธันวาคม
การขุดล้อมคาหลุมแบบการขุดล้อมเพื่อให้ใบร่วง
อยู่ที่เดิมหรือถ้าหากไม่สามารถทำได้ให้ย้ายไปตามไหล่เขา
หรือดอยตามที่เชียงใหม่ เช่น ดอยฟ้าห่มปก
ตัวอย่างการขุดล้อมเพื่อให้ใบร่วง
)