27 เม.ย. 2021 เวลา 04:00 • ไลฟ์สไตล์
😃 สำหรับสายคาเฟ่ทั้งหลาย คำว่า “Cafe Hopping” คงไม่ใช่คำแปลกใหม่อะไร ยิ่งถ้าสายคาเฟ่ท่านไหนเป็นคอโซเชี่ยลด้วยแล้วนั้น เราเชื่อว่าคุณคงเข้าใจกับวิถี Cafe Hopping เป็นอย่างดี 👉🏻
☕️ เพราะในทุกวันนี้เราอาจพูดได้เต็มปากว่าธุรกิจร้านกาแฟในบ้านเรา รวมถึงหลายประเทศในอาเซียนนั้นเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงเวลา 10 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งในแต่ละปีมีคาเฟ่เปิดใหม่เป็นสิบๆ ร้าน จนทำให้เกิดเป็นกระแสตามรอยเช็คอินคาเฟ่คูลๆ เพื่อโพสต์ถ่ายรูปลงโซเชี่ยลมีเดียกันมากมาย แต่วันนี้ K AEC PLUS จะมาไขข้อสงสัย และบอกความหมายที่แท้จริงของคำว่า “Cafe Hopping” ว่าคืออะไรกันแน่ ถ้าพร้อมแล้ว ตามมาดูไปพร้อมกันเลยค่ะ ⏩
 
😅 Cafe Hopping มาจากคำว่า Cafe ที่หมายถึง ร้านกาแฟ และ Hopping ที่แปลว่ากระโดด เมื่อรวมคำกันแล้ว เลยกลายเป็นความหมายได้ว่า คนที่ชอบไปร้านกาแฟเป็นประจำ โดยไปหลายร้านในวันเดียว ไม่จำเป็นว่าต้องชอบกินกาแฟก็ได้ แต่ถ้าคุณเสพติดการไปคาเฟ่ในทุกๆ วัน คุณก็สามารถเรียกตัวเองว่า “Cafe Hopping” ได้แล้วละค่ะ และในโลกยุคปัจจุบัน อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับเหล่า Cafe Hopping ก็คือโทรศัพท์สมาร์ทโฟน พร้อมกับการถ่ายรูปเก๋ๆ เพื่อโพสต์ลงในช่องทางโซเชี่ยลมีเดียส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็น Instragram, Facebook หรือ Twitter โดยเฉพาะบน Instragram จะเห็นได้ว่าการติด #Cafehopping เฉพาะในประเทศไทยนับถึงเดือนมกราคม 2021 มีจำนวนมากถึง 1.7 ล้านโพสเลยทีเดียว ‼️
 
💚 จากเทรนด์ดังกล่าว จึงไม่ใช่เรื่องแปลว่าทำไมคาเฟ่ต่างๆ ที่เปิดใหม่ในช่วง 1-2 ปีให้หลังมานี้ ถึงเน้นไปที่ความสวยงามของร้าน คอนเซ็ปต์ที่ไม่เหมือนใคร มากกว่าการขายจุดเด่นของกาแฟ เพราะส่วนใหญ่เหล่า Cafe Hopper ที่คอยขับเคลื่อนร้านกาแฟให้ขายดิบขายดีนั่น ล้วนมองความสวยงามของร้าน เพื่อไปถ่ายรูปอัพโหลดลงโซเชี่ยล เป็นหลักนั่นเอง 🍪
 
🥤ซึ่งที่จริงแล้วนั้นกระแสของ Cafe Hopping เกิดจากปัจจัยการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในอาเซียน ทำให้คนทั่วไปมีรายได้มากขึ้นจากการขยับมาเป็น “คนชั้นกลาง” ซึ่งส่งผลให้ประชากรเหล่านี้มีกำลังซื้อในสิ่งฟุ่มเฟือยมากขึ้นนั้น ส่งผลให้ตลาดกาแฟในอาเซียนเติบโตขึ้นด้วยเช่นกัน จะเห็นได้จากการที่ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า “ในขณะที่คนชั้นกลางของประเทศกำลังพัฒนากำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้พวกเขาไม่รู้สึกว่ากาแฟเป็นสิ่งฟุ่มเฟื่อยในชีวิต เพราะสามารถเข้าถึงได้ทุกวัน จนกลายเป็นนิสัยไปแล้ว” นั่นเอง 😮
 
☕️ อย่างไรก็ตาม ถ้าเรากลับไปดูสถิติตลาดผลิตกาแฟของอาเซียนก็จะพบว่า อาเซียนของเราเองมีผู้ผลิตและส่งออกกาแฟรายใหญ่หลายประเทศ เช่น เวียดนามที่ส่งออกมากจนเป็นอันดับ 2 ของโลก อินโดนีเซียที่ส่งออกกาแฟเป็นอันดับ 4 ของโลก ส่วนประเทศอาเซียนอื่นๆ อย่าง ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทยเรา ก็เป็นประเทศที่ส่งออกเช่นกัน แต่ถือเป็นรายเล็กกว่ามาก เมื่อเทียบกับอินโดนีเซีย และเวียดนาม 🍰
 
🫖 โดยทุกท่านทราบหรือไม่คะว่า ความถ้าทายใหม่สำหรับตลาดกาแฟ และร้านคาเฟ่เก๋ๆ ของอาเซียนนั้น ไม่ใช่เชนร้านกาแฟจากต่างประเทศ แต่กลับเป็นกาแฟแคปซูลได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากความรวดเร็วและสะดวกสบาย ยกตัวอย่างเช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ และไต้หวัน ซึ่งเป็นประเทศพัฒนาที่มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจดี ต่างก็มีแนวโน้มของกาแฟแคปซูลที่เติบโตสูงมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา 🥤
👉🏻 ในอาเซียนอัตราการเติบโตของตลาดกาแฟแคปซูล ถ้าดูจากสถิติอาจยังไม่สูงมากนัก แต่ก็มีแนวโน้มที่ผู้ผลิตกาแฟ และร้านกาแฟ หรือคาเฟ่ท้องถิ่น ต้องจับตามอง เพราะถ้านับจากปี 2012 ถึงเดือนเมษายน 2017 จะพบว่า กาแฟแคปซูลสามารถตีตลาดคอกาแฟในประเทศมาเลเซียได้ถึง 4% สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย 3% หรือเจ้าตลาดผลิต และส่งออกกาแฟของเอเชียอย่างเวียดนามที่ 2% และไทยของเราอยู่ที่ 1% ตามลำดับ 🎖
 
✨จะเห็นได้ว่าในช่วงตลอด 10 มานี้ตลาดกาแฟในอาซียนนั้นเติบโตอย่างต่อเนื่อง บวกกับกระแส Cafe Hopping ที่ยิ่งส่งให้ผู้คนหันมาบริโภคกาแฟกันมากขึ้น แต่ความท้าทายใหม่อย่างกาแฟแคปซูลสำเร็จรูปที่ได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในยุโรป และอเมริกา ที่ถือโอกาสใช้ความสะดวก และรวดเร็วเข้ามาเป็นจุดขายในการตีตลาดใหม่แห่งนี้ค่ะ ⭐️
#KAecplus #KBankLive
โฆษณา