30 เม.ย. 2021 เวลา 02:56 • สุขภาพ
ทำไม คนถึงเสียชีวิตจากโควิด 19 กันมากขึ้น !
Learning Never Ends
จากการระบาดของ Covid 19 ระลอกนี้ ถือว่าเข้าขั้นวิกฤติกันเลยทีเดียว เพราะในแต่ละวันพบผูติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึง มีผู้เสียชีวิตในแต่ละวันเพิ่มมาปขึ้นด้วยเช่นกัน
หลายคนก็อาจจะสงสัยว่า ทำไมบางคนถึงต้องตาย ทั้งๆที่คิดว่าก็น่าจะรักษาให้หายได้ วันนี้ทางเพจของเราจะมาคลายข้อสงสัยกันว่า ทำไมถึงมีคนเสียชีวิตด้วยโรค Covid 19 เพิ่มกันมากขึ้น เพื่อที่จะได้ระมัดระวังตัวเอง และรีบรักษากันให้เร็วที่สุด
🔥 ปัจจัยเสี่ยงของผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิต 🔥
การระบาดของ Covid 19 ในแต่ละระลอกนั้น เราจะเห็นได้ว่าจุดเสี่ยงของแต่ละระลอกไม่แตกต่างกันเท่าไหร่เลย นั่นคือ เป็นการติดเชื้อหรือแพร่ระบาดมาจาก สถานบันเทิง บ่อนการพนัน สนามมวย แหล่งชุมชน/ตลาด รวมไปถึงการติดเชื้อจากคนรอบข้างหรือคนในครอบครัว
🔥 สาเหตุของผู้ที่เสียชีวิต 🔥
สาเหตุของผู้ที่เสียชีวิตส่วนใหญ่ จากสถิติและข้อมูลในปัจจุบัน ยังคงเป็นผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว และมีภูมิคุ้มกันของร่างกายที่อ่อนแอ ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ป่วยที่อายุน้อยและไม่มีโรคประจำตัว
Jung Yeon-je / AFP
ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา  คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้บอกเอาไว้ว่า การระบาดของ Covid 19 ในระลอกใหม่นี้ มีความรุนแรงมากกว่าระลอกที่ผ่านๆมา เพราะว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไม่ยอมเปิดเผยตัว จึงทำให้เจ้าหน้าที่สืบหาต้นตอและที่มาของโรคได้ยากขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยหรือประชาชนกลุ่มเสี่ยง ที่ปอดทำงานได้ไม่เต็มที่ หากไวรัสเข้าไปทำลายระบบทางเดินหายใจ ก็อาจจะทำลายปอดไปถึง 10-20% เลยทีเดียว จนไม่สามารถทำให้ปอดกลับมาทำงานเป็นปกติได้ ซึ่งได้แก่
3
🔥 ผู้สูงอายุ
🔥 คนที่มีโรคประจำตัวเดี่ยวกับปอด เช่น โรคปอด ถุงลมโป่งพอง หรือมะเร็งปอด หากปอดได้รับเชื้อหรือถูกทำลายไปแม้แต่นิดเดียวก็จะทำให้เสี่ยงต่อชีวิตได้
🔥 คนที่มีน้ำหนักมาก อ้วน มีไขมันใต้ผิวหนังมาก หรือใต้ช่องท้องมาก
🔥 ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการหายใจมากกว่าเดิม เพราะกระบังลมเคลื่อนไหวได้ยาก จึงเป็นสาเหตุทำให้ปอดทำงานน้อยลง
1
‼️ ส่วนใหญ่แล้วความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยแต่ละรายจะมีการแสดงอาการที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่คิดเป็น  80% จะแสดงอาการค่อนข้างน้อย มีอาการเหมือนไข้หวัดทั่วไป ซึ่งสามารถหายเองได้  20% จะมีอาการรุนแรง เกิดการติดเชื้อที่ปอด และเกิดอาการปอดอักเสบ ‼️
🔥อายุโดยเฉลี่ยของผู้ที่เสียชีวิตจากโรค Covid 19 🔥
1
การระบาดโควิด-19  ระลอกช่วงปี 2563 : พบผู้เสียชีวิตอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 58 ปี
การระบาดโควิด-19  ระลอกเดือน ม.ค.-มี.ค. 2564 : พบผู้เสียชีวิตอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 64 ปี
การระบาดโควิด-19  ระลอกเดือน เม.ย. 2564 : พบผู้เสียชีวิตมีอายุน้อยที่สุด คือ เฉลี่ย 56 ปี
‼️ โดยการระบาดรอบที่ 3 ในปี 2564 นี้ พบว่ามีราว 50% ของผู้เสียชีวิต เกิดขึ้นจากการติดเชื้อในครอบครัวและผู้ที่เสียชีวิตน้อยที่สุด คือ อายุเพียง 24 ปี‼️
1
🔥 ระยะเวลานับจากเริ่มป่วยจนถึงเสียชีวิต 🔥
ค่ากึ่งกลางของระยะเวลาจากวันทราบผลตรวจพบเชื้อ จนถึงวันที่เสียชีวิต
การระบาดโควิด-19  ระลอกช่วงปี 2563 : ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 12 วัน
การระบาดโควิด-19  ระลอกเดือน ม.ค.-มี.ค. 2564 : ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 7 วัน
การระบาดโควิด-19  ระลอกเดือน เม.ย. 2564 : ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 6 วัน
https://www.matichon.co.th/lifestyle/tech/news_2132966
🔥 ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นมี "โรคประจำตัว" 🔥
ส่วนใหญ่อยู่ที่กลุ่มผู่ป่วยสูง อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และมี "โรคประจำตัว" เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคปอด หลอดเลือดหัวใจ/หลอดเลือดสมอง ไทรอยด์ ไตวาย ป่วยติดเตียง
การระบาดโควิด-19  ระลอกช่วงปี 2563 : เสียชีวิตจากโควิดและมีโรคประจำตัว 43 ราย (64%)
การระบาดโควิด-19  ระลอกเดือน ม.ค.-มี.ค. 2564 : เสียชีวิตจากโควิดและมีโรคประจำตัว 24 ราย (89%)
การระบาดโควิด-19  ระลอกเดือน เม.ย. 2564 : เสียชีวิตจากโควิดและมีโรคประจำตัว 13 ราย (93%)
🔥 เมื่อผู้ป่วยโควิด-19 เสียชีวิต 🔥
ควรมีแนวทางจัดการศพผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ดังนี้
1. เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตสารคัดหลั่งที่อยู่ในศพยังสามารถแพร่กระจายเชื้อได้
2. ควบคุมสารคัดหลั่งโดยเก็บศพไว้ในถุงซิปกันน้ำอย่างน้อยสองชั้นและใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคทาด้านนอกถุงเก็บศพ
3. ห้ามเปิดถุงเก็บศพโดยเด็ดขาด ไม่มีการอาบน้ำศพ รดน้ำศพ และฉีดยารักษาศพ
4. บรรจุศพพร้อมถุงลงในโลงศพ และปิดฝาโลงให้สนิท ญาติสามารถนำศพไปทำพิธีกรรมทางศาสนาได้อย่างปลอดภัย
5. การเผาหรือฝังศพจะไม่ก่อให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อ
1
เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือผู้สูงอายุ ควรจะระมัดระวังและดูแลตัวเองให้ดี ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ที่รักษาโรคประจำตัวอย่างเคร่งครัดรวมทั้งป้องกันตนเองจากการได้รับเชื้อไวรัสด้วยการล้างมือให้สะอาด เว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร สวมหน้ากากอนามัย ไม่ไปในจุดเสี่ยงหรือจุดที่แออัด และหากมีข้อสงสัยหรือมีอาการผิดปกติใด ๆ ควรสอบถามไปยังโรงพยาบาลเพื่อรับคำปรึกษา
1
Reference
กรมควบคุมโรค , ศูนย์ข้อมูล COVID-19 , กรุงเทพธุรกิจ , องค์การอนามัยโลก (WHO) ประเทศไทย, โรงพยาบาลเวชธานี
โฆษณา