2 พ.ค. 2021 เวลา 13:35 • ประวัติศาสตร์
#เรื่องเก่าเล่าสนุก,
#สี่มะเส็ง,(ตอนที่ 2)
สวัสดีครับ เพื่อนๆ
วันนี้ขออนุญาตส่งเรื่องเก่าเล่าสนุก ของสี่มะเส็ง กันต่อนะครับ..และขอลงจันทร์เจ้าขาตอนใหม่ ในวันพรุ่งนี้นะครับ ❤️😇💙🎶🎵
5
ความเดิมตอนที่แล้ว:
#สี่มะเส็ง(ตอนที่1)
เมื่อครั้งย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรี มาฝั่งพระนครในปัจจุบัน เมื่อปีพุทธศักราช 2325
และได้มีการวางเสาหลักเมืองพระนคร เริ่มต้นรัชสมัยกรุงรัตนโกสินทร์..
ในเวลานั้น ขณะที่กำลังเอาเสาหลักเมืองย้อนลงหลุม
ก็ปรากฏมีงูสี่ตัวเลื้อยลงไปอยู่ก้นหลุม ..
ครั้นจะเกณฑ์คนลงไปเอางูออกก็ไม่ทันกาล เพราะถึงพระฤกษ์ และการลงเสาไม้ชัยพฤฏษ์อันแสนหนัก ดังนั้นเสาหลักพระนครจึงทับงูสี่ตัวตายอยู่ก้นหลุม และเกิดเป็นอวมงคลนิมิต..
เกี่ยวกับการเสียบ้านเสียเมือง..
..
..
ซึ่งในที่สุดแล้วอวมงคลนิมิต ในเรื่อง สี่มะเส็ง ก็ได้การรับการแก้จากเทวดาในเหตุการณ์พระอสุนิบาตพาดสายตกติดหน้าบันมุขเด็จเบื้องทิศอุดร ไหม้ตลอดทรงบนปราสาท ปลายหักฟาดลงพระปรัสซ้ายเป็นสองซ้ำ ลงซุ้มพระทวารแต่เฉพาะไหม้
3
ราว 7 ปี 7 เดือน ให้หลัง จึงเสร็จสิ้นพระเคราะห์เมือง พร้อมกับคำทำนายว่า จะถาวรลำดับกษัตริย์ถึง 150 ปี..
1
พระโองการนี้คือคำพยากรณ์ของรัชกาลที่ 1 ที่ทรงไขปริศนางูเล็ก 4 ตัวในวันพระราชพิธีฝังเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ
#การยกเสาหลักเมืองครั้งที่2ในสมัยรัชกาลที่4,
คำเล่าลือ ถึงคำพยากรณ์ นี้นำความวิตกกังวล สืบเนื่องเรื่อยมา พร้อมกับการเข้าสู่ยุคล่าอาณานิคมจากชาติตะวันตก..ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 เป็นต้นมา..
จนเมื่อผ่านมาถึงในสมัยรัชกาลที่ 4 พระองค์จึงได้โปรดฯ ให้ถอนเสาหลักเมืองเดิม และประดิษฐานเสาหลักเมืองใหม่ พร้อมผูกดวงเมืองขึ้นใหม่ให้เป็นสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล มีอุดมมงคลฤกษ์ ณ วันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือนอ้าย (เดือน 1) ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2395 (รัชกาลที่ 9 ทรงประสูติในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2470 ซึ่งในเรื่องความเชื่อมโยงนี้ ผมจะขอนำไป เล่าเพิ่มเติม ในเรื่องเก่าเล่าสนุก ในตอนต่อไปนะครับ ❤️🙏💙)
3
พร้อมกับทรงเปลี่ยนคำในชื่อ กรุงเทพฯ ในคำว่า บวร เป็น อมร ..
1
และเปลี่ยนคำว่า มหินทอยุธยา โดยวิธีการสนธิศัพท์เป็น มหินทรายุธยา และเติมสร้อยนามต่อ
1
ทั้งเปลี่ยนการสะกดคำ
จากสินท์ เป็น สินทร์ จนเป็นที่มาของชื่อเต็มของกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งนำคำว่า โกสิ สนธิ กับ อินทร์
เป็นการอัญเชิญพระอินทร์ซึ่งเป็นประธานของเทวดาทั้งปวงใน กรุง(เทพ) มาปกปักรักษา แก้อวมงคลต่างๆ และเป็นการต่อชะตาเมือง ให้ก้าวข้ามผ่านคำบอกเล่าคำทำนาย 150ปี ในสมัยรัชกาลที่ 1,
#เจ้านายสี่มะเส็ง,
อย่างไรก็ตาม เมื่อ พ.ศ. 2475 กรุงรัตนโกสินทร์ จะมีอายุครบ 150 ปี
ประชาชนต่างก็วิตก ว่าจะเกิดเหตุการณ์ขึ้นดังคำทำนาย..ดังกล่าว
เช่นเดียวกันกับ
เจ้านาย "สี่มะเส็ง"
ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เพราะ รัชกาลที่ 7 ท่านประสูติในปีมะเส็ง (ปีมะเส็ง ปีงู เป็น งูเล็ก ) พระองค์จึงเร่งสร้างสาธาณูปโภค สาธารณะต่างๆ มากมาย
รวมถึง การสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้า เชื่อมกรุงเทพกับฝั่งธนบุรี 6 เมษายน 2475
1
ซึ่งตรงกับงานฉลองพระนครครบ 150 ปี และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสิ่งที่เป็นอนุสรณ์ถึงความรำลึกในพระกรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้ทรงสถาปนากรุงเทพมหานคร
1
โดยมีพระราชดำริว่าควรสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมจังหวัดพระนครกับธนบุรีเข้าด้วยกัน
1
โดย เสด็จเปิดสะพานอย่างเป็นทางการ ทำนองว่าให้ทั้ง 2 ฝั่งเป็นแผ่นดินเดียวกัน เชื่อมกันเป็นแผ่นดินเดียวกัน เหตุการณ์ที่ว่าจะเกิดขึ้นคือสิ้นพระเจ้าแผ่นดิน สิ้นกรุงเทพนั่นก็ถือว่าหมดไปแล้ว ไม่เป็นไรแล้ว เพราะรวมเอาฝั่งธนบุรีเข้ามาเชื่อมแล้ว เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ หวังว่าการลงเสาหลักเมืองใหม่
ครั้งรัชกาลที่ 4 นั้น จะทำให้เหตุร้ายจะกลายเป็นดี..
1
นอกจากนี้ ยังมีเคล็ดอีกประการหนึ่ง คือ สะพานพุทธ ยังได้รับการออกแบบที่แปลกตา ..
ให้โครงสร้างสะพานมีรูปทรงเป็นรูปลูกศร โดยหัวลูกศรหันไปทางฝั่งธนบุรี  รูปลูกศรนี้ออกแบบตามพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 7..
5
และสีของสะพานแห่งนี้นั้น
เป็นสะพานสีเขียวแห่งเดียวในกรุงเทพฯ เพราะเป็นสีประจำวันพระราชสมภพของ รัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 7 อีกด้วย
3
ส่วนอีกสามมะเส็ง ที่มักมีการกล่าวถึงในเรื่องราว สมัยนั้น ได้แก่
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวง เพชรบุรีราชสิรินทร
1
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนคร สวรรค์วรพินิต
1
และสมเด็จเจ้าฟ้ากรมกำแพงเพชรอัครโยธิน
1
#งานเลี้ยงสี่มะเส็งสู่
ตึกสี่มะเส็ง
1
ในปี พ.ศ. 2472 ได้มีงานเลี้ยงระดมทุน ครั้งยิ่งใหญ่งานหนึ่งที่วังบางขุนพรหม
เรียกว่า "งานสี่มะเส็ง"
โดยสาเหตุก็เช่นเดียวกันกับรัชกาลที่ 7 คือ เร่งสร้างกุศล ร่วมสะเดาะเคราะห์ให้เหตุการณ์ที่ร้ายกลายเป็นดี..
โดยมีเจ้านายพี่น้องที่ประสูติในปีมะเส็ง แม้จะต่างรอบ แต่ก็นับร่วมสหชาติเดียวกันจำนวนสี่พระองค์ ประกอบด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน และพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์
ทุกพระองค์ต่างก็ได้ ทรงร่วมบริจาคเงินสมทบทุนสร้างตึกถาวรวัตถุเป็นพระอนุสรณ์ชื่อว่า "ตึกสี่มะเส็ง" ที่สถานเสาวภาภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อเลี้ยงสัตว์พิษ รวมถึงการตั้งกองทุนเพื่อรักษาคนไข้จากการถูกสัตว์พิษกัด..
1
#เกร็ดเพิ่มเติม
ในคราร่วมสร้างตึกสี่มะเส็งนั้น เจ้านายทั้งสี่พระองค์ที่ได้ทรงประทานพระราชทรัพย์ เพื่อเป็นทุนในการก่อสร้าง ได้แก่
-สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต(2424-2487...63 ปี)
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน(2424-2479...55 ปี)
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ(2424-2477...53 ปี)
-พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองเจ้าพิสมัยพิมลสัตย์(2424-2479...55 ปี)
สวัสดี และขอจบเพียงเท่านี้
ขอบคุณครับ
ข้อมูล และภาพประกอบบางส่วน: อาถรรพ์งู ๔ ตัว ในหลุมหลักเมือง(โรม บุนนาค), “จดหมายเหตุความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์) ตั้งแต่จุลศักราช ๑๑๒๙ ถึงจุลศักราช ๑๑๘๒ เป็นเวลา ๕๓ ปี”, หนังสือมิติลี้ลับสุดมหัศจรรย์ (สำนักพิมพ์สยามบันทึก)
โฆษณา