6 พ.ค. 2021 เวลา 07:00 • การตลาด
เปรียบเทียบ 2 แพลตฟอร์ม E-Commerce เจ้าดัง Shopee VS Lazada
เนื่องด้วยความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ความสะดวกสบายของการซื้อสินค้าออนไลน์ และสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ทุกคนต่างลดการออกจากบ้าน และลดการจับจ่ายใช้สอยที่ต้องเจอหน้าสัมผัสกัน ปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้ทำให้ตลาดอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ของไทยเติบโตขึ้นกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ในปี 2563 ที่ผ่านมา และมีมูลค่าถึง 220,000 ล้านบาท
และนาทีนี้คงแทบไม่มีใครรู้จักแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชื่อดังอย่าง Shopee และ Lazada ที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด แพลตฟอร์มเหล่านี้เปิดโอกาสให้ทุกคนมีช่องทางในการเลือกซื้อสินค้าที่หลากหลายจากทั้งในไทยและต่างประเทศ รวมถึงผู้ใช้งานทุกคนยังเป็นได้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย สามารถลงขายสินค้าได้สะดวก ผ่านช่องทางที่ปลอดภัย และได้รับการรับรองโดยแพลตฟอร์ม ทำให้หลายคนมั่นใจในการซื้อขายผ่านรูปแบบนี้มากกว่าการซื้อและโอนเงินให้กับผู้ขายออนไลน์โดยตรง
Lazada เดิมทีเป็นเว็บอีคอมเมิร์ซสัญชาติเยอรมัน ก่อตั้งโดย Rocket Internet เริ่มเข้ามาตีตลาดในไทยเมื่อปี 2555 หลังจากนั้นจึงถูก Alibaba เข้าซื้อกิจการไปในปี 2559 ในส่วนของแอปพลิเคชัน Lazada ในสมาร์ทโฟนนั้นมีการพัฒนาขึ้นมาในปี 2556 และได้รับความนิยมชนะแพลตฟอร์มในเว็บไซต์ไปโดยปริยาย
Shopee เป็นบริษัทสัญชาติสิงคโปร์ เป็นบริษัทลูกของบริษัท SEA Group ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทเกมออนไลน์ชื่อดังอย่าง Garena และมีบริษัทสัญชาติจีนยักษ์ใหญ่อย่าง Tencent ถือหุ้นใหญ่อยู่ โดย Shopee เน้นให้บริการแอปพลิเคชันทางสมาร์ทโฟนเป็นหลัก Shopee เปิดตัวในไทยเมื่อปี 2558 ซึ่งถือว่ามาช้ากว่า Lazada ถึง 3 ปี
หลายคนคงเห็นแล้วว่าทั้งสองแพลตฟอร์มมีฟังก์ชันการใช้งานที่แทบจะเหมือนกันเปี๊ยบ เรียกได้ว่าเป็นคู่แข่งกันเลยทีเดียว วันนี้ Sertis ได้ไปรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ มาเพื่อเปรียบเทียบให้ดูกันว่าสองแพลตฟอร์มนี้แตกต่างกันตรงส่วนไหน และตัวไหนได้รับความนิยมกว่า ไปดูกันเลย
อ่านแล้วคิดเห็นอย่างไร หรือติดใจแพลตฟอร์มไหนมากกว่าในส่วนไหน มาแชร์กันได้นะครับ
Comparing 2 Big E-Commerce Platforms in Thailand Shopee VS Lazada
Due to advancements in technologies, the convenience that online shopping provides, and the Covid-19 pandemic that forces everyone to avoid going out and physical contact, Thai E-Commerce market has grown more than 35% in 2020 and has had 220,000 million value.
Shopee and Lazada are one of the biggest E-Commerce platforms in Thailand. They expose buyers to various products, national and international. Also, users can be both buyers and sellers. They can sell and buy things easily on its guaranteed platform that ensures more safety than buying directly from sellers. And that’s why these two platforms have been growing exponentially.
Lazada is originally German web e-commerce, founded by Rocket Internet. They entered Thai market in 2012, then got acquired by Alibaba in 2016. Lazada mobile application was developed in 2013 and became more popular than its web platform.
Shopee is a Singaporean company. Its parent company is SEA Group, owner of a famous online gaming platform, Garena. Tencent, Chinese technology company, also owns a huge portion of SEA Group shares. Unlike Lazada, Shopee mainly focuses on developing its mobile application. It entered Thai market in 2015, three years after Lazada.
These two platforms’ functions and features are almost identical. They are the biggest rival of each other. So, today, Sertis collected data to make a comparison of these two platforms. Let’s see the difference and find out which one suits your needs.
เรามาเริ่มดูกันที่ข้อมูลทั่วไปของทั้งสองแพลตฟอร์มกันก่อน แม้จะเปิดตัวมาช้ากว่า แต่ Shopee ดูเหมือนจะได้รับความนิยมแซงหน้า Lazada ไปแล้ว โดยมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 54 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ Lazada มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 46 เปอร์เซ็นต์ เรียกได้ว่าสูสีพอสมควร ส่วนยอดดาวน์โหลดในทั้ง App Store และ Play Store Shopee ครองอันดับ 1 ไปโดยปริยาย
อีกข้อมูลที่ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อควรทราบคือค่าธรรมเนียมในการขายสินค้า ซึ่งมีผลอย่างมากต่อการตั้งราคาสินค้า จะเห็นได้ว่า การคิดค่าธรรมเนียมของ Shopee ค่อนข้างแพงกว่า โดยมีการคิดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม (การโอนชำระค่าสินค้าผ่านระบบต่าง ๆ ) อยู่ที่ 2-5 เปอร์เซ็นต์ แตกต่างกันไปตามรูปแบบการชำระ ในขณะที่ Lazada คิดเพียง 2 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ในส่วนของค่าคอมมิชชันหรือค่าธรรมเนียมการขายของ Shopee อยู่ที่ 3-7 เปอร์เซ็นต์ คิดแตกต่างกันไปตามสินค้าแต่ละหมวดหมู่ รวมถึงหากเข้าร่วมแคมเปญต่าง ๆ ค่าธรรมเนียมจะสูงขึ้น ส่วน Lazada คิดอยู่ที่ 3-5 เปอร์เซ็นต์ แตกต่างกันไปตามสินค้าแต่ละหมวดหมู่เช่นกัน
ตามมาที่สินค้าขายดีในแต่ละแพลตฟอร์มกันบ้าง ซึ่งข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์กับทั้งผู้ซื้อและผู้ขายมาก เนื่องจากจะช่วยแสดงให้เห็นว่าสินค้าชนิดไหนเหมาะจะซื้อและขายในแพลตฟอร์มใน สำหรับในปี 2562 สินค้าขายดี 3 อันดับของ Shopee ได้แก่ เสื้อผ้าแฟชัน ของเล่น สินค้าแม่และเด็ก สาเหตุที่เสื้อผ้าแฟชันมาแรงเพราะใน Shopee มีเสื้อผ้าให้เลือกหลากหลาย และมีแหล่งขายจากประเทศจีนที่แม้จะซื้อจำนวนน้อยก็ได้ราคาที่ถูกมาก และอาจเป็นผลมาจากสถิติที่ว่าผู้ใช้กว่า 58% ของ Shopee เป็นเพศหญิง
ส่วน Lazada นั้น สินค้าขายดี 3 อันดับคือ เครื่องใช้ไฟฟ้า ของเล่น เสื้อผ้าแฟชัน เนื่องจาก LazMall ใน Lazada ที่เน้นขายแบรนด์ดัง รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า มักมีโปรโมชันนำสินค้ามาลดราคาบ่อย และสามารถผ่อนชำระได้ รวมถึงผู้ใช้ Lazada กว่า 57% เป็นเพศชาย ซึ่งเป็นสาเหตุให้สินค้าจำพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าขายดีใน Lazada
แต่ในปี 2563 อันดับสินค้าขายดีก็เปลี่ยนไปตามสถานการณ์ สินค้าขายดีใน Shopee ได้แก่ ของใช้ในบ้าน สมาร์ทโฟน แก็ดเจต เนื่องจากตลอดปีเกิดการล็อคดาวน์ คนมีเวลาอยู่บ้านมากขึ้น อาจทำให้คนซื้อเสื้อผ้าน้อยลงและหันมาซื้อของใช้ในบ้านแทน ส่วน Lazada อันดับสินค้าขายดีค่อนข้างคล้ายเดิม ได้แก่ สมาร์ทโฟน เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้าแฟชัน ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับโปรโมชันของสินค้าในปีนั้น ๆ
Even though Shopee entered Thai market after Lazada, it became more popular. Shopee's market share is 54%, while Lazada's is 46%. Shopee’s rank in both App Store and Play Store is No. 1 while Lazada ranks in second place.
Transaction fees and commission in the platforms should be considered by both buyers and sellers, because they affect the product prices. Shopee has 2-5% ) transaction fee (depending on payment methods and 3-7% commission (depending on product categories), while Lazada has 2% transaction fee and 3-5% commission.
The top-selling products on each platform allow users to know where their product suits and also allow buyers to know where they can find most of the products they want. For 2019, top-selling products in Shopee were fashion products, toys, and mommy and baby products. Fashion products, especially women’s wear, acquired most sales in Shopee because its users are 58% percent women. Also, it has Chinese wholesalers selling clothes at great prices. For Lazada, its top-selling products were electronics, toys, and fashion products because 57% of its users are men. Besides, people mostly buy in LazMall, Lazada’s guaranteed virtual mall, which sells big electronics brands. They also have a lot of promotions and allow paying by installments.
However, in 2020, top-selling products changed according to the situation. Top-selling products in Shopee were home appliances, smartphones, and gadgets, which might be due to the Covid-19 pandemic and lockdown. People stayed more at home and did fewer outside activities. For Lazada, its top-selling products didn’t change much. They were smartphones, electronics, and fashion products. The rank might depend on the promotions of each category.
มาเปรียบเทียบกันด้านฟังก์ชันในการใช้งานกันบ้าง หากดูจากภาพรวมของแอปพลิเคชัน ความเห็นที่วิเคราะห์ไว้ในอินเทอร์เน็ต รวมถึงประสบการณ์ใช้จริงของผู้รวบรวมข้อมูลเองมองว่า Shopee มีดีที่ระบบแนะนำ มีสินค้าแนะนำที่หลากหลายและจำนวนเยอะ ในขณะที่ Lazada แนะนำน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม Lazada กินขาดเรื่องการดาวน์โหลดรูปต่าง ๆ ได้รวดเร็วกว่า รวมถึงมีหน้าตาแอปพลิเคชันที่รายละเอียดดูสะอาดตากว่า
รูปแบบการชำระเงินในแต่ละแพลตฟอร์มก็มีให้เลือกหลายหลาย ทั้งการโอนเงินผ่านโมบายล์แบงก์กิ้ง โอนเงินที่ตู้เอทีเอ็ม ตัดผ่านบัตรเดบิตและบัตรเครดิต รวมถึงทั้งสองแพลตฟอร์มยังมีบริการ Lazada Wallet และ Shopee Pay ที่ให้เติมเงินเข้ากระเป๋าตังในแอปพลิเคชัน และจะได้โค้ดส่วนลดหรือสิทธิพิเศษที่ดีกว่า แต่ไม่นานมานี้ Shopee เพิ่มทางเลือกในการจ่ายเงินด้วยบริการ SPayLater ช้อปก่อนจ่ายทีหลัง คล้ายสินเชื่อบัตรเครดิต ใช้การยืนยันตัวตนและเอกสารแสดงรายได้ในการสมัครเพื่อขอวงเงิน โดยมีวงเงินสูงสุดถึง 30,000 บาท เรียกได้ว่าเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้ผู้ใช้ที่ไม่มีบัตรเครดิตผ่อนสินค้าง่ายขึ้น และช่วยลดค่าธรรมเนียมที่ Shopee ต้องเสียให้บัตรเครดิตเจ้าอื่นได้
อีกสิ่งหนึ่งที่หลายคนให้ความสำคัญมากในการซื้อของออนไลน์คือ โค้ดส่งฟรี ซึ่งเป็นตัวดึงดูดที่มากในการซื้อสินค้าออนไลน์ ค่าเดินทางออกไปซื้อก็ไม่ต้องจ่าย แถมค่าส่งก็ไม่ต้องจ่ายอีก ซึ่ง Shopee และ Lazada ต่างก็มีโค้ดส่งฟรีแจกบ่อย ๆ โดยโค้ดของ Shopee ค่อนข้างหลากหลาย ใช้ได้กับหลายช่องทางการชำระ และมีโค้ดส่งฟรีเมื่อซื้อสินค้าถึงยอด แต่ก็มีการจำกัดการใช้อยู่ที่ 1 ครั้งต่อวัน และ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ในขณะที่ Lazada นั้นมีโค้ดส่งฟรีให้เลือกในแบบที่กำหนดและไม่กำหนดขั้นต่ำ และเมื่อซื้อสินค้าถึงจำนวนที่กำหนด แต่ไม่มีการจำกัดการใช้ ต้องยอมรับเลยว่าโค้ดส่งฟรีทำให้หลายคนติดใจการช้อปปิ้งออนไลน์ในสองแพลตฟอร์มนี้สุด ๆ
Flash Sale เป็นอีกอย่างที่ทำให้เราติดใจการช้อปออนไลน์อย่างมาก และกระตุ้นให้เราเสียเงินกันง่ายและรวดเร็วอีกด้วย โดย Flash Sale คือการนำสินค้ามาลดราคาตามเวลาที่กำหนดเท่านั้น ทำให้คนต้องตัดสินใจซื้ออย่างรวดเร็ว โดย Shopee จะมี Flash Sale บ่อยกว่าคือทุก 4 ชั่วโมง ในขณะที่ Lazada มี Flash Sale วันละ 4 รอบ ตารางเวลาจะแตกต่างกันไปในแต่ละวัน
Next, we are looking at the function and user experience of each platform. Users’ comments said that Shopee is better with its suggestion system. It can suggest more products that are both diverse and match our interest. Lazada, on the other hand, is faster and has a more neat and clean interface.
1
There are various payment method choices on each platform, e.g., ATM transfer, mobile banking, and debit and credit card. They also have their own Lazada Wallet and Shoppe Pay which users can top up in their wallets and get better discounts. What recently made Shoppe more interesting is its SPayLater service, which provides the same service as a credit card. Users only need identification and financial statements. They can get a maximum credit of 30,000 baht. It helps buyers without credit cards to make installments easier. It also reduces the fees that Shopee has to pay credit card companies and banks.
Another powerful attraction that makes people more likely to shop online is free-shipping codes. Shopee and Lazada frequently give the codes to users. Shopee has various codes for different payment methods and minimum spending amounts, but users can use free-shipping codes only once a day and twice a week. Lazada only has codes with and without minimum spending amounts, but there is no limit to how often users can use the codes.
Flash Sale is another factor that motivates users to decide fast by selling products with special prices in a limited time. Shopee has flash sales every 4 hours while Lazada has flash sales 4 times a day.
มาดูรายได้และความนิยมของทั้ง 2 แอปพลิเคชันกันบ้าง โดยจะเห็นได้ว่ารายได้ของทั้งสองแพลตฟอร์มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งเป็นปีที่ตลาดการค้าแบบอีคอมเมิร์ซเริ่มเติบโตขึ้นมากในประเทศไทยเนื่องจากเริ่มเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง จะเห็นได้ว่า Lazada นั้นมีรายได้ค่อนข้างมากกว่า Shopee เนื่องจากเข้ามาในไทยก่อน Shopee ถึง 3 ปี และในปีแรก ๆ ในขณะที่ Lazada มีการเก็บค่าคอมมิชชันจากผู้ขายแล้ว Shopee ยังไม่มีการเก็บค่าคอมมิชชันจริงจัง พึ่งจะเริ่มเก็บเมื่อปี 2562 ทำให้รายได้ในปีแรก ๆ อาจดูน้อยจนน่าตกใจ เพราะมีแต่ต้นทุน ยังไม่ค่อยมีกำไรนั่นเอง เรียกได้ว่าเป็นช่วงซื้อใจผู้บริโภคมากกว่า และหลังจากที่ Shopee มีการเก็บค่าคอมมิชชันแล้ว กราฟรายได้ก็การปรับตัวเพิ่มขึ้นชนิดที่เรียกว่าพุ่งกระฉูดกันเลย
ในส่วนของความนิยมนั้นจะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี 2563 Shopee ก็ได้รับความนิยมแซง Lazada ไปอย่างขาดลอย ซึ่งจากการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญมองว่าเนื่องจาก Shopee เน้นพัฒนาแอปพลิเคชันทางสมาร์ทโฟน ซึ่งใช้งานได้ง่ายกว่า และพัฒนาให้มีรูปแบบของแต่ละประเทศแยกกัน ทำให้ซื้อใจคนไทยได้ดีมาก ในขณะที่ Lazada พัฒนามารูปแบบเดียว เข้าถึงได้หลายประเทศ ซึ่งอาจทำให้ไม่ถูกใจคนไทยเท่าไรนัก
Let’s go through the revenue and popularity of these two platforms. Their revenue has been continually increasing since 2017, the year when e-commerce in Thailand started booming. Lazada gains more revenue than Shopee because it entered Thai market and started charging commission from sellers earlier, while Shopee has just begun charging commission in 2019.
For the popularity, the graph shows that Shopee’s popularity eventually surpassed Lazada’s in 2020. Experts believe that it might be because Shopee focuses on developing mobile applications which are more user-friendly. Shopee also separately develops applications to suit users in different countries, while Lazada makes one form of application accessible to all countries.
References:
บทความโดย:
ทีม Sertis
โฆษณา