9 พ.ค. 2021 เวลา 06:11 • การศึกษา
Outside In & Inside Out Part II
ว่ากันด้วยเรื่อง Outside in และ Inside Out กันต่ออีกสักหนึ่งบทความ...
Outside In ก็ได้เปรียบได้กับความรู้จับที่กระจัดกระจายอยู่ในอากาศ หรือเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถจับคลื่นผ่าน Wi-Fi หรือสาย Lan ต่าง ๆ ส่งผ่านมายังหน้าจอ แล้วรวบรวมประมวลผลในโปรแกรมจัดการเอกสาร (Word Processing) จากนั้นถ่ายทอดออกมาเป็น กระดาษ (Paper) หนังสืออิเลคทรอนิคส์ (E-Book) หรือการนำไปพูด ไปบรรยาย นำเสนอเป็นสไลด์ เป็น Power Point หรือโปรแกรมนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ
สรุปง่าย Outside In = WWW into Paper โดยมีเครื่องรับรู้ได้แก่ หู (การฟัง) และ ตา (การอ่าน)
ส่วน Inside Out = Heart into Paper จากนั้นเผยแพร่ออกไปโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ผ่าน WWW
จุดสำคัญของ Inside Out อยู่ที่ Heart หรือการกลั่นกรองความรู้ประสบการจากจิตใจ โดยอาศัยมือพิมพ์ออกมา ผ่าน Block เช่น Blockdit Gotoknow.org ต่าง ๆ หรืออาศัยปากเปล่งเสียงออกมา ผ่านสื่อการกระจายเสียงต่าง ๆ ในอดีตก็ได้แก่วิทยุ หรือสถานีกระจายเสียง ในปัจจุบันสามารถสื่อสารด้วยอากัปกิริยา สื่อสารได้ทั้งภาพทั้งเสียงทั้งแบบสด หรือแบบแห้ง... แบบสดก็ได้แก่ผ่านการ Live Stream ตามสื่อโซเชียล อาทิ Facebook หรือแบบแห้ง ก็ได้แก่สถานีโทรทัศน์ที่ผันตัวจากสื่อทีวีเดิม ๆ ก็มาเพิ่มเติมการนำเสนอผ่านเทคโนโลยี Internet โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารแบบผสมผสานคือแบบทั้งแห้งทั้งเปียกผ่าน Youtube คือสามารถดูสด ๆ ก็ได้ เมื่อถ่ายทอดสดผ่านไป ก็สามารถเลือกอัดไว้เพื่อให้คนอื่น ๆ สามารถมาดูทีหลังได้ ดูเมื่อไหร่ก็ได้ตามที่สะดวก ตามที่ต้องการ
ดังนั้นเราจึงเห็นได้ว่าการเติบโตของอาชีพ Youtuber นั้นเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดด เพราะสามารถเข้าถึง ตรงกับพฤติกรรมผู้บริโภคได้มากกว่าการนำเสนอผ่านวิทยุ หรือโทรทัศน์แบบเดิม ๆ
จุดเริ่มต้นของผู้ที่ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร โดยเฉพาะ Youtuber ที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ นั้น ต่างมีจุดเชื่อมโยงกันก็คือการสื่อสารแบบ Inside Out คือทำในสิ่งที่ตนเองรัก ตนเองชอบ ตนเองเป็น และเป็นการสื่อสารจากจุดเล็ก ๆ คือชีวิตของตนเอง ครอบครัวของตนเอง แล้วสื่อสารความเป็นตัวเองออกไปสู่โลกอันกว้างใหญ่
แต่ย้อนกลับมาดูแวดวงการศึกษาที่ยังนิยมใช้ระบบ Outside In ซึ่งยังนิยมให้นักเรียนนักศึกษาไปค้นคว้าหารายงานจากสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ แล้วนำมาทำรายงานผ่านกระดาษ หรือทำวิทยานิพนธ์เป็นรูปเล่มนั้นเริ่มเข้าถึงทางตัน...
ตันอย่างไร...? ที่ว่าตันก็คือ ความรู้ที่ได้มาจากการรวบรวมนั้นไม่สามารถนำไปใช้ นำไปต่อยอดได้อย่างแท้จริง...
ในทุก ๆ ปีมีคนเรียนจบปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอกเป็นจำนวนมาก แต่ทว่าในจำนวนที่มาก ๆ นั้น น้อยคนที่จะนำความรู้ที่เรียนมาใช้ในการประกอบอาชีพ เพื่อดำรงชีพได้
หลาย ๆ คนพูดตั้งแต่สมัยเรียนว่า เรียนไปเพียงเพื่อเอาปริญญา ส่วนความรู้ที่จะพึ่งพาในการประกอบอาชีพนั้นต้องขวนขวายแสวงหาเอาเอง...
ถ้าหากมองไปยังต่างประเทศ... นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จหลาย ๆ คน เลือกที่จะเดินออกจากระบบการศึกษา แล้วออกมาแสวงหาความรู้ที่ตรง มุ่งลงสู่สิ่งที่ตนเองถนัดอย่างแท้จริง
การเดินออกจากระบบการศึกษา ถือว่า เป็นการตัดสินใจในเรื่องเวลาของชีวิต...
ถ้าหากยังอยู่ระบบการศึกษาต้องใช้เวลาอีกหลายปี กว่าจะได้มาซึ่งปริญญา ทุกเวลาทุกนาทีของชีวิตนั้นมีค่า สู้ออกมาตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติใช้ชีวิตจริง ๆ มิได้เลย
จะว่าไปสิ่งที่เราเรียนเราศึกษาในระบบการศึกษานั้นไม่ดีอย่างนั้นเหรอ...?
การเรียนการศึกษานั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่เราต้องเข้าใจ
อย่างเช่น การเรียนในระดับบัณฑิตศึกษา ก็จะมีวิชาที่ต้องผ่านกันอย่างยากเย็น ก็คือ การทำวิจัย หรือวิทยานิพนธ์...
การทำวิทยานิพนธ์นั้นเป็นสิ่งที่ดี ถ้าเราเข้าใจ...
ดีอย่างไร..?
ดีคือการฝึกนิสัยให้เราเป็นคนรู้จักค้นคว้าหาความรู้ เป็นคนมีเหตุมีผล มีความละเอียดลออ รู้จักการใช้สถิติเป็นเครื่องตัดสินใจ รู้จักศึกษาวิจัยพฤติกรรมของบุคคลทั้งหลายอย่างแท้จริง...
ทุกคนต้องเข้าใจว่าการทำวิทยานิพนธ์นั้น มิใช่การหาหรือการใช้ความรู้สำเร็จรูป แต่การทำวิทยานิพนธ์ตามระบบนั้น เป็นการสร้างอุปนิสัยให้เราเป็นคนที่มีพื้นฐานของจิตใจมีเหตุมีผล เป็นคนที่มีความละเอียดประณีตทางวิชาการ
เมื่อเรามีเหตุมีผล มีความละเอียดประณีตแล้ว เราก็เอาเหตุผลนึกย้อนกลับเข้าไปคิดย้อนในจิตในใจ เปรียบเทียบกับทุก ๆ ก้าวที่ผ่านมาและผ่านไปของตัวเอง แล้วผ่องถ่ายออกมาแบบ Inside Out ผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่อย่างมากมายในปัจจุบัน
Inside out ที่แม่เล่าให้ทุก ๆ คนฟัง
โฆษณา