10 พ.ค. 2021 เวลา 02:25 • สุขภาพ
เพิ่มกล้าม The series💪🏽 ep.1
ถ้าคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการเพิ่มกล้าม หรือเป็นคนที่อยากเพิ่มกล้าม ต้องอ่านโพสต์นี้ครับ
ความเชื่อเก่าๆที่เราเคยได้ยินกันมาเกี่ยวกับการเพิ่มกล้ามเนื้อคือ ต้องยกเวทให้เกิด Muscle damage หรือให้เจ็บกล้ามเนื้อ แล้วร่างกายจะนำโปรตีนไปซ่อมแซมกล้ามเนื้อให้ใหญ่ขึ้น แต่‼️ในปัจจุบันมีงานวิจัยใหม่ๆออกมาที่ชี้ถึงกระบวนการในการสร้างกล้ามเนื้อ มีอะไรบ้างนั้น ผมได้เขียนไว้ให้แล้วครับ😎
ขั้นตอนในการสร้างกล้ามเนื้อนั้น มีอยู่ 3ขั้นตอน คือ การกระตุ้นกล้ามเนื้อ (Initial stimulus.) การส่งสัญญาณระดับโมเลกุล (Molecular signaling.) และการสังเคราะห์โปรตีน(Protein synthesis.)
🔴สำหรับขั้นตอนแรกคือ Initial stimulus คือการกระตุ้นกล้ามเนื้อ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พบว่ามี3วิธีที่เป็นการทำให้กล้ามเนื้อถูกกระตุ้น และทำให้เกิดการสร้างกล้ามเนื้อ
Initial stimulusข้อแรกคือ Mechanical overload การใช้น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างท้าทาย ในการยกเวทเทรนนิ่ง🏋🏽 เป็นการทำให้ร่างกายต้องรับกับน้ำหนักที่ปกติไม่คุ้นชิน ก็สามารถทำให้เกิดการกระตุ้นกล้ามเนื้อได้
Initial stimulus ข้อที่ 2 คือ metabolic stress คำว่า metabolic คือ กระบวนการของร่างกาย มีการสร้าง และการแตกสลาย ส่วน stress คือ ความเครียด แปลตามตัวคือ กล้ามเนื้อมันถูกใช้งานจนเกิดความเครียดหรือหมดแรงนั่นเอง เช่น เคยรู้สึกมั้ยครับว่าเวลาเรายกเวทหลายๆครั้ง มันล้าตรงกล้ามเนื้อ หรือเวลาที่เราวิ่งแล้วรู้สึกแสบๆใช่มั้ยครับ นั่นแหละคือกล้ามเนื้อมันถูกใช้งานจนเกิดความเครียด และถูกกระตุ้นนั่นเองครับ
Initial stimulus ข้อที่ 3 คือ Muscle damage💥 หรือเกิดการฉีกขาดในกล้ามเนื้อนั่นเอง มักจะเกิดจากการที่เราใช้นำ้หนักที่เยอะ และเกร็งต้านน้ำหนัก(eccentric)ค่อนข้างนาน ยิ่งเราใช้น้ำหนังเยอะและเกร็งนานเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีโอกาสเกิด muscle damage นั่นเองครับ
มาถึงตรงนี้ เราก็จะรู้แล้วว่า เราสามารถกระตุ้นกล้ามเนื้อได้ตั้งแต่ การใช้น้ำหนักที่ท้าทาย การใช้งานกล้ามเนื้อจนหมดแรง และการทำให้เกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อ ซึ่งล่าสุดมีงานวิจัยพบว่า การทำให้เกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อ หรือ muscle damage นั้น มีผลต่อการสร้างกล้ามเนื้อน้อยกว่าข้ออื่นๆ😱 ดังนั้นจงจำไว้ครับว่า กล้ามเนื้อไม่ได้โตจากการที่มันพังหรือเจ็บ แต่โตจากการที่เรากระตุ้นอย่างถูกวิธีและทำให้เกิดการสร้างกล้ามเนื้อนั่นเองครับ🤩
🟢สำหรับขั้นตอนที่สองคือ Molecular signaling หรือการส่งสัญญาณในระดับโมเลกุลนั่นเอง จะทำงานหลังจากที่เรามีการกระตุ้นกล้ามเนื้อตามขั้นตอนที่1ไปแล้ว ร่างกายก็จะเกิดการส่งสัญญาณกัน เพื่อให้เกิดการสร้างกล้ามเนื้อ💪🏽 ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ก็ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับฮอร์โมนตัวนึงที่มีส่วนช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อ มีชื่อว่า T70S6K พบว่า เมื่อมีการสร้างกล้ามเนื้อ จะพบฮอร์โมนตัวนี้อยู่มาก ซึ่งหนึ่งในกลุ่มคนที่มีการผลิตฮอร์โมนตัวนี้ออกมามากคือ กลุ่มคนที่ออกกำลังกายแบบหลายๆเซ็ตหรือ Hight volume ที่มีปริมาณการฝึกที่เยอะนั่นเอง ส่วนคนที่ออกกำลังกายจนเกิด muscle damage ก็มีการหลั่งฮอร์โมนตัวนี้เช่นกัน แต่‼️ ร่างกายจะมีการซ่อมแซมส่วนที่เสียหายก่อน แล้วค่อยมีการสร้างกล้ามเนื้อ นั่นก็แสดงว่า คนที่ใช้กล้ามเนื้ออย่างถูกวิธี ก็จะไม่จำเป็นต้องเจ็บตัวก่อนถึงจะกล้ามใหญ่ก็ได้นั่นเอง😲
🔵ขั้นตอนที่ 3 คือ Protein synthesis หรือการสังเคราะห์โปรตีนนั่นเอง เมื่อเกิดการส่งสัญญาณกันแล้วว่าต้องมีการสร้าง ก็จะเกิดกระบวนการนี้ขึ้น ซึ่งโดยปกติ Protein synthesis เกิดขึ้นอยู่แล้ว เพียงแต่จะมากจะน้อย หรือเกิดขึ้นที่จุดไหน อยู่ที่กิจกรรมที่เราทำ🏋🏽 โภชนาการที่เรากิน🥙 กินอะไรไปบ้าง กินโปรตีนพอมั้ย และที่สำคัญคือ การพักผ่อน ซึ่ง3ข้อนี้ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก "ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้" หลายคนออกกำลังกายดีมาก โภชนาการครบถ้วน แต่ไม่ได้พักผ่อน กล้ามเนื้อก็จะไม่เพิ่ม เพราะไม่มีเวลาให้ร่างกายได้ฟื้นฟูตัวเองตอนนอนนั่นเอง
📝 สรุป การที่เราจะเพิ่มกล้ามเนื้อ เราต้องทำให้เกิดกระบวนการทั้งสามข้อที่ว่ามาก่อน ทั้งการกระตุ้นกล้ามเนื้อ หรือ Initial stimulus ด้วยการยกเวท จากนั้นก็กลับไปพัก กินอาหารให้ดี แล้วนอน เพื่อให้เกิด molecular signaling และ protein synthesis นั่นเองครับ
สำหรับใครที่อยากจะเพิ่มกล้าม ต้องติดตามซีรี่ย์นี้ของเราไว้นะครับ เพราะ ในบทความถัดๆไป เราจะมาลงลึกในเรื่องของการทำให้เกิด Initial stimilus เรื่องโภชนาการ รวมไปถึงวิธีการจัดตารางในการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกล้ามให้คุณได้อ่านกันแน่นอนครับ
สามารถติดตามได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา