11 พ.ค. 2021 เวลา 08:41 • สุขภาพ
เบื้องหลังวิกฤติญี่ปุ่น! ระบบล่ม บริหารเหลว วัคซีนค้างสต๊อก 24 ล้านโดส
10
ถูกต้อง! ทั้งหมดที่ "คุณ" เพิ่งกวาดสายตาอ่านไปตามข้อมูลในอินโฟกราฟิกทั้งหมด มาจนถึงบรรทัดที่ "คุณ" กำลังอ่านอยู่นี้ คือ ข้อมูลการแพร่ระบาดโควิดในประเทศญี่ปุ่น
3
หนึ่งในประเทศมหาอำนาจเศรษฐกิจโลก และมีภาระหน้าที่ต้องการจัดการแข่งขันกีฬาสำหรับมวลมนุษยชาติ อย่างกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ในเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้
เหตุใด...รัฐบาลญี่ปุ่นจึงล้มเหลวเรื่องการฉีดวัคซีนให้กับชาวอาทิตย์อุทัย วันนี้ "เรา" ค่อยๆ ไปร่วมสังเคราะห์กันทีละประเด็น
• สถานการณ์การแพร่ระบาดที่ยังรุนแรง
จากอินโฟกราฟิกด้านบน "คุณ" คงสังเกตเห็นตัวเลขที่สะท้อนปัญหาการแพร่ระบาดระลอกใหม่ (ระลอกที่ 4) ที่ญี่ปุ่นกำลังเผชิญหน้าแล้ว
2
และด้วยการที่ตัวเลขการติดเชื้อและเสียชีวิตรายวันยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้เอง เป็นเหตุให้รัฐบาลญี่ปุ่นจำเป็นต้องขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงโตเกียว และอีก 3 เมืองใหญ่ออกไป จากวันที่ 11 พฤษภาคม ไปเป็นวันที่ 31 พฤษภาคมแล้ว
3
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ประเทศที่สุดล้ำหน้าทางเทคโนโลยี แต่กลับยังไม่สามารถผลิตวัคซีนต้านโควิด-19 ด้วยตัวเอง
4
• คำถามคือ...เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?
ในอดีตที่ผ่านมา รัฐบาลญี่ปุ่นเคยเป็นผู้นำในการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรค MMR (Mumps โรคคางทูม Measles โรคหัด และ Rubella โรคหัดเยอรมัน) แต่เนื่องจากในช่วงปี 1990 รัฐบาลญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในหลายคดีที่เกี่ยวข้องกับผลข้างเคียงของวัคซีนดังกล่าว จนกระทั่งทำให้เกิดความกังวลและสั่นสะเทือนต่อความเชื่อมั่นของชาวญี่ปุ่นในระดับที่สูงลิบลิ่ว
8
ทำให้ในปี 1993 โครงการพัฒนาวัคซีนที่ใช้เทคนิค MMR ได้ถูกยกเลิกไปอย่างเด็ดขาด และรัฐบาลญี่ปุ่นเองก็ไม่กล้าที่จะนำเงินจำนวนมหาศาลไปลงทุน หรือสนับสนุนโครงการพัฒนาวัคซีนอื่นใดอีกเลย
4
และเมื่อบวกเข้ากับการไร้ซึ่งการผนึกกำลังให้เป็นปึกแผ่นของบริษัทอุตสาหกรรมยาในประเทศ รวมถึงขนาดของบริษัทในอุตสาหกรรมนี้ที่ค่อนข้างเล็ก หากเทียบกับคู่แข่งขันอื่นๆ ในเวทีระดับนานาชาติ ซึ่งมีบริษัทยายักษ์ใหญ่ 4 แห่ง ครอบครองส่วนแบ่งการตลาดรวมกันถึง 70% (ประกอบด้วย บริษัท GlaxoSmithkline, บริษัท Merck & Co, บริษัท Sanofi และบริษัท Pfizer)
11
มันจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เพราะเหตุใดปัจจุบันญี่ปุ่นจึงตามหลังชาติมหาอำนาจอื่นๆ ในการผลิตวัคซีนต้านโควิด-19 อย่างชนิดสุดกู่!
3
โดยนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีน ประเมินว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการผลิควัคซีนของญี่ปุ่นมีช่องว่างที่ตามหลังชาติมหาอำนาจอยู่ไม่น้อยกว่า 10 ปีเข้าให้แล้ว!
6
"มีความเป็นไปได้สูงมากแล้วว่า จะไม่มีวัคซีนต้านโควิด-19 สัญชาติญี่ปุ่นผลิตออกมาได้ จนกระทั่งถึงปี 2022"
1
ศาสตราจารย์เท็ตสึโอะ นากายามา (Tetsuo Nakayama) ผู้อำนวยการสมาคมไวรัสวิทยาคลินิกแห่งญี่ปุ่น (Japanese Society of Clinical Virology) กล่าวยอมรับโดยสดุดี
2
• การบริหารกระจายการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนที่สุดแสนเชื่องช้า?
1
การประสบปัญหาการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 อย่างหนักและต่อเนื่อง ส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์ของญี่ปุ่นต้องรับภาระที่หนักอึ้งมาอย่างยาวนาน และประเด็นนี้เองนำมาซึ่งปัญหา "ขาดแคลนบุคลากร" สำหรับการออกบริการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน
2
นอกจากนี้ ยังมีรายงานด้วยว่า บุคลากรด้านสาธารณสุขของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแนวหน้าในการต่อสู้กับโควิด-19 นั้น มีจำนวนมากถึง 2 ล้านคน ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนอีกด้วย
11
ขณะเดียวกัน ประเทศญี่ปุ่นเพิ่งเริ่มต้นการเดินหน้าฉีดวัคซีนให้กับประชาชนอย่างจริงจังเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าล่าช้าเอามากๆ หากเทียบเคียงกับบรรดาชาติผู้มั่งคั่งทางเศรษฐกิจทั้งหลาย
ทั้งๆ ที่ญี่ปุ่นถือเป็นชาติแรกๆ ของโลกที่ได้รับวัคซีนจากไฟเซอร์ รวมถึงในระยะเวลาอันใกล้นี้ ญี่ปุ่นจะได้รับมอบวัคซีนอีกหลายล้านโดสในปริมาณที่ว่ากันว่ามากที่สุดเป็นลำดับต้นๆ ของภูมิภาคเอเชีย
2
เนื่องด้วยเพราะเหตุผลสำคัญ คือ การที่ญี่ปุ่นจะต้องเตรียมความพร้อมสำหรับรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนนั่นเอง!
1
• แล้วปริมาณที่บอกว่า "มาก" นี้ มากแค่ไหน?
1
สำนักข่าว NHK รายงานว่า วัคซีนจากบริษัทโมเดอร์นาชุดแรกเดินทางมาถึงประเทศญี่ปุ่นแล้ว ในขณะที่อีกจำนวนกว่า 30 ล้านโดสของบริษัทแอสตราเซเนกา กำลังถูกเตรียมจัดส่งในเร็วๆ นี้
2
โดยเบื้องต้นคาดว่าจะมีการตัดสินใจเรื่องการอนุญาตให้ใช้ยาจากทั้ง 2 บริษัทในประเทศญี่ปุ่นหรือไม่ ภายในวันที่ 20 พ.ค.นี้
2
แต่เดี๋ยวก่อน...แค่นั้นยังไม่พอ...ยังมีวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์อีกไม่ต่ำกว่า 35 ล้านโดส ที่จะถูกทยอยส่งมอบในเดือนพฤษภาคมและเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ด้วย
หากแต่...ปริมาณวัคซีนจำนวนมหาศาลที่ได้รับนี้ กำลังกลายเป็นปัญหาสำหรับการบริหารจัดการของรัฐบาลญี่ปุ่น
1
• เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?
2
โยชิฮิเดะ สุกะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
ตามรายงานของหลายสำนักข่าวในประเทศญี่ปุ่น ระบุว่า ญี่ปุ่นเพิ่งนำเข้าวัคซีนจากบริษัทไฟเซอร์เป็นจำนวนทั้งสิ้น 28 ล้านโดส เมื่อช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่จนถึงปัจจุบัน ถูกนำไปใช้สำหรับฉีดให้กับชาวญี่ปุ่นเพียง 15% ในขณะที่จำนวนที่เหลืออีกเกือบ 24 ล้านโดส ยังถูกเก็บเอาไว้ในคลัง
7
ซึ่งอาจสุ่มเสี่ยงเป็นอย่างยิ่งต่อการที่วัคซีนอาจจะ "หมดอายุ" ไปก่อนที่จะได้นำไปฉีดให้กับคนญี่ปุ่น หากการกระจายวัคซีนของญี่ปุ่นยังต้วมเตี้ยมเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
1
• ความเสี่ยงที่ว่ามาจากปัจจัยใด?
เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ (Food and Drug Administration) หรือ FDA เพิ่งมีการปรับเปลี่ยนการอนุญาตให้จัดเก็บและขนส่งวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์
จากเดิมที่กำหนดเอาไว้ว่า ต้องเก็บรักษาวัคซีนเอาไว้ที่อุณหภูมิ -80 ถึง -60 องศาเซลเซียส หรือ "สภาวะเย็นจัด" (ซึ่งแน่นอนว่าต้องใช้อุปกรณ์พิเศษในการเก็บรักษา) โดยมีกำหนดการเก็บรักษาได้สูงสุด 6 เดือน
3
เปลี่ยนมาเป็นสามารถเก็บรักษาไว้ได้ที่อุณหภูมิ -25 ถึง -15 องศาเซลเซียส (หรืออุณหภูมิในช่องแช่แข็งตู้เย็น) แต่จะเหลือระยะเวลาในการเก็บรักษาเอาไว้ได้เพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น โดย FDA ให้เหตุผลถึงการตัดสินใจดังกล่าวว่า เพื่อให้สามารถกระจายวัคซีนไฟเซอร์ออกไปได้ทั่วถึงมากขึ้น
1
2 สัปดาห์ สำหรับการขนส่งและเก็บรักษาที่อุณหภูมิ -25 ถึง -15 องศาเซลเซียส และไม่เกิน 6 เดือน สำหรับการขนส่งและเก็บรักษาด้วยอุปกรณ์พิเศษ ที่ต้องให้ "สภาวะเย็นจัด" ที่อุณหภูมิ -80 ถึง -60 องศาเซลเซียส
กับจำนวนสต๊อกที่เหลืออยู่เกือบ 24 ล้านโดส! รวมถึงอีกหลายสิบล้านโดสที่กำลังจะได้รับมอบภายในอีก 2 เดือนข้างหน้า ดังที่กล่าวไปในบรรทัดด้านบนโน่น และนี่คือ โจทย์สำคัญที่รัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องเร่งแก้ไข!
6
(หมายเหตุ: วัคซีนของบริษัท โมเดอร์นา สามารถจัดเก็บและขนส่งได้ที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิในช่องแช่แข็งตู้เย็น ภายในระยะเวลานาน 6 เดือน และที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิช่องปกติของตู้เย็น ได้นาน 1 เดือน)
2
ในขณะที่ วัคซีนของบริษัท แอสตราเซเนกา จัดเก็บและขนส่งได้ที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิช่องปกติของตู้เย็นได้นาน 6 เดือน
1
ทั้งนี้ เป้าหมายเบื้องต้นที่รัฐบาลญี่ปุ่นวางไว้ คือ อยู่ที่การเร่งฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 36 ล้านคน ให้ได้ภายในเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้
ซึ่งนั่นเท่ากับว่า หากจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ญี่ปุ่นจะต้องฉีดวัคซีนให้ประชาชนวันละ 800,000 โดสเป็นอย่างน้อย ภายในระยะเวลาที่เหลืออยู่!
1
• หากแต่ปัญหาที่ว่านี้ มันดันเกิดขึ้นพร้อมๆ กับระบบการจองวัคซีนที่กำลังมีปัญหา?
นายทาโร โคโน (Taro Kono) รัฐมนตรีดูแลด้านการบริหารจัดการวัคซีนต้านโควิด-19 ยอมรับเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ระบบการลงทะเบียนฉีดวัคซีนของญี่ปุ่น "กำลังประสบปัญหา" เนื่องจากประชาชนตามเมืองใหญ่ๆ แสดงความต้องการที่จะขอเข้ารับการฉีดวัคซีนในจำนวนที่มากเกินไป
1
และแม้รัฐบาลญี่ปุ่นได้มอบหมายให้กระทรวงกลาโหมเตรียมสถานที่ฉีดวัคซีนครั้งใหญ่ในกรุงโตเกียว และเมืองโอซากา ภายในวันที่ 24 พฤษภาคมนี้ แต่จนถึง ณ เวลานี้ก็ยังคงไม่มีตารางเวลาที่แน่ชัดว่า ประชาชนทั่วไปจะได้เข้ารับการฉีดวัคซีนได้เมื่อไหร่?
6
โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขของญี่ปุ่น ยอมรับว่า สำหรับผู้ที่รอคอยการฉีดวัคซีนบางคน อาจต้องรอไปถึงช่วงฤดูหนาว หรืออาจนานกว่านั้นก็เป็นได้
1
และด้วยปัญหาสารพัดสารพันปัญหาที่เกิดขึ้นในโครงการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ของประเทศญี่ปุ่นนี้เอง มันจึงทำให้ชาวแดนปลาดิบบางส่วนเห็นว่า "บางทียกเลิกการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน" บนมาตุภูมิ ซึ่งจะจัดให้มีขึ้นในวันที่ 23 กรกฎาคม 2021 น่าจะให้ผลลัพธ์ในเชิงบวก "โดยเฉพาะในแง่ความปลอดภัยของชาวญี่ปุ่นเองมากกว่า"
7
นั่นเป็นเพราะหากมีการเปิดรับนักกีฬาจากทั่วโลกมายังกรุงโตเกียวในช่วงระยะเวลาใกล้ๆ นี้ มันย่อมมีความเสี่ยงที่จะทำให้ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ต่างๆ มารวมตัวที่กรุงโตเกียว และนั่นอาจเป็นเหตุให้เกิดการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ จนกระทั่งเกิดการกลายพันธุ์ไปสู่ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ "ดุ" กว่าเดิมก็เป็นได้
4
โดย "Stop Tokyo Olympics" ซึ่งเป็น Campaign ในโลกออนไลน์ของญี่ปุ่น เริ่มได้รับแรงสนับสนุนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยปัจจุบันมีผู้ร่วมลงชื่อให้การสนับสนุน 318,763 รายชื่อ จากยอดรวมที่ขยายจากเดิม 200,000 รายชื่อ เป็น 500,000 รายชื่อแล้ว (สถิติ ณ วันที่ 10 พ.ค.2021).
2
✍️ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงาน
1
กราฟิก: เทพอมร แสงธรรมาพิทักษ์
2
👇อ่านบทความเพิ่มเติม👇
1
โฆษณา