17 พ.ค. 2021 เวลา 11:22 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ECONOMY INSIGHT : เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญปัญหาหนักในแง่ของเงินเฟ้อ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนกล่าวว่าวิกฤตนี้อาจลากยาวไปอีก 12 เดือน
1 ปีที่ผ่านมาขณะที่การระบาดของ COVID-19 ได้ทำให้ประเทศต่าง ๆ เทขายสินทรัพย์ออกไป แต่มาในวันนี้บริษัทต่าง ๆ กำลังเร่งกักตุนกันสินค้ากันเป็นอย่างมาก
กลุ่มผู้ผลิตต่าง ๆ รวมถึงบริษัทรถยนต์ไปจนถึงบริษัทอะลูมิเนียมฟอยล์กำลังซื้อวัตถุดิบมากกว่าที่พวกเขาต้องการ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากราคาที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่ Demand สินค้ากำลังฟื้นตัวในหลายประเทศ การซื้อและการกักตุนขององค์กรกำลังผลักดันให้ Supply Chain เกิดการขาดแคลน นอกจากนี้การขนส่งสินค้าก็เจอปัญหาคอขวด และการพุ่งขึ้นของราคาทำให้สินค้าต่าง ๆ ซื้อขายอยู่ใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ทั้งหมดนี้ส่งผลต่อการกระตุ้นความกังวลทางด้านเงินเฟ้อในกลุ่มสินค้าเกือบทุกประเภท
ทองแดง แร่เหล็ก เหล็กกล้า ข้าวโพด กาแฟ ข้าวสาลี ถั่วเหลือง ไม้ เซมิคอนดักเตอร์ พลาสติก และกระดาษ ต่างซื้อขายในราคาที่สูงขึ้นอย่างมาก ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนกล่าวว่าแนวโน้มเช่นนี้จะดำเนินต่อไปถึงปีหน้าเป็นอย่างน้อย
ความแตกต่างระหว่างวิกฤตครั้งใหญ่ในปีนี้ และการหยุดชะงักของ Supply Chain ในอดีตก็คือขนาดที่แท้จริงของเงินเฟ้อ และการที่วิกฤตยังไม่มีจุดสิ้นสุดที่ชัดเจน ไม่มีใครกล้าคาดการณ์อย่างชัดเจนนักว่าตอนไหนที่มันจะสิ้นสุดลง
ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ มีเพียงธุรกิจไม่กี่แห่งที่รอดพ้นจากผลกระทบ Girteka Logistics ซึ่งเป็นบริษัทเรือบรรทุกสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปกล่าวว่ามีการดิ้นรนเพื่อหาขอบเขตของวิกฤตในครั้งนี้ ขณะที่บริษัท Monster Beverage Corp. บริษัทแบรดน์เครื่องดื่มชั้นนำกำลังเร่งจัดการกับกระป๋องอะลูมิเนียมที่ขาดแคลนและมีราคาสูงขึ้น ส่วน MOMAX Technology Ltd ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำทางด้านเทคโนโลยีของฮ่องกงกำลังชะลอการผลิต Product ใหม่เนื่องจากเซมิคอนดักเตอร์ขาดแคลน
สถานการณ์ที่เลวร้ายลงไปอีกเมื่อพวกเขามองเห็นแนวโน้มของวิกฤตที่นานขึ้นผิดปกติและทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งทำให้ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์เกิดการสั่นคลอนในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
2
สำหรับใครที่คิดว่าวิกฤตทั้งหมดนี้ที่จะสิ้นสุดลงภายในไม่กี่เดือนพิจารณา อาจเป็นความคิดที่ผิดพลาดได้
2
ค่าใช้จ่ายทางด้านการจัดการคลังสินค้า (Warehousing) การขนส่ง (Transportation) และสินค้าคงคลัง (Inventories) ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลัก 3 ประการของการจัดการทางด้าน Supply Chain มีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาไปอีกประมาณ 12 เดือน ดัชนี Logistics Managers’ Index. ซึ่งใช้เป็นตัวบ่งชี้หลักของการติดตามสถานการณ์ทางด้าน Supply Chain ทั่วโลกกำลังอยู่ในระดับสูงสุดเป็นอันดับ 2 ในการเก็บสถิติย้อนหลังไปถึงปี 2016 และแนวโน้มในอนาคตแสดงให้เห็นว่ามีโอกาสเพียงเล็กน้อยที่ปัญหาจะยุติลงในเร็ววัน ขณะที่ดัชนีดังกล่าวได้พิสูจน์ตัวมันเองในอดีตแล้วว่ามีความแม่นยำอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งสามารถทำนายได้อย่างแม่นยำถึง 90% ตามที่ Bloomberg รายงาน
1
อย่างไรก็ตาม ผู้กำหนดนโยบายของ FED ได้ระบุเหตุผลหลายประการที่ทำให้พวกเขาไม่กังวลว่าเงินเฟ้อจะคงอยู่ในระยะยาว โดยเฉพาะปัจจัยทางด้าน Based Effect (ผลกระทบพื้นฐาน) ซึ่งกล่าวว่าตัวเลขที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในปีนี้เกิดจากการเปรียบเทียบกับตัวเลขที่ตกต่ำในช่วงแรกที่เกิดวิกฤตเมื่อปีที่แล้ว
1
World Maker's Comment : สำหรับมุมมองของเรา แน่นอนว่าตัวเลขเงินเฟ้อที่ FED ติดตามนั้นไม่ได้เพิ่มขึ้นมากมายและเกิดจาก Base Effect แต่ในแง่ของ Real Sectors ที่ผู้บริโภคกำลังเผชิญอยู่นั้นพบว่าราคาสินค้าต่าง ๆ พุ่งขึ้นโดยเฉลี่ยเกือบเท่าตัว
สำหรับใครที่อยากอ่านเนื้อเต็ม ๆ แบบไม่ตัดตอน และอยากได้ข้อมูลที่ลึกกว่าคนอื่น ท่านสามารถติดตามข้อมูลฉบับเต็ม พร้อม Graphic Detail, รายละเอียดสำคัญในเชิงลึก และความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.worldmakergroups.com/archives/78139
ทันโลก ทันเหตุการณ์ ทันข่าวสารที่แท้จริงไปกับ World Maker
หากข้อมูลนี้เป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่าน ทางเราฝากกด Like 👍 กด Share เพื่อไม่ให้พลาดข้อมูลจาก World Maker ด้วยนะครับ 🙏🥰
โฆษณา