18 พ.ค. 2021 เวลา 03:22 • สุขภาพ
การดื่มแอลกอฮอล์ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้จริงหรือ?
1
เราอาจเคยได้ยินเรื่องราวทำนองที่ว่าการดื่มไวน์วันละแก้วนั้นดีต่อสุขภาพและช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ แต่ผู้เชี่ยวชาญคิดอย่างไรต่อแนวคิดนี้และเรื่องนี้มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์หรือไม่ บทความนี้จะพาเราไปหาคำตอบ
2
การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณเล็กน้อยมีประโยชน์หรือไม่ งานวิจัยใหม่ๆบอกอะไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องนี้ ใครไม่อยากอ่านอะไรยาวๆ เราขอสรุปไว้ให้ 5 ข้อด้านล่างครับ
1) งานศึกษาใหม่ๆ พบว่าการดื่มในระดับปานกลางมีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหัวใจที่ลดลง
1
2) เชื่อกันว่าความเชื่อมโยงนี้เกิดจากความสามารถในการลดสัญญาณความเครียดในสมองโดยแอลกอฮอล์
2
3) อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญไม่แนะนำให้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
2
4) แอลกอฮอล์ยังเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น มะเร็ง ความดันโลหิตสูง และความผิดปกติของการใช้สารเสพติด
1
5) การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต เช่น การรับประทานอาหารที่ดีขึ้น การนอนหลับ และการออกกำลังกายเป็นวิธีที่ดีและปลอดภัยกว่าในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
1
สำหรับใครที่อยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมไปติดตามต่อกันที่เนื้อหาในบทความครับ
งานศึกษาใหม่ที่นำเสนอในการประชุมทางวิทยาศาสตร์ประจำปีครั้งที่ 70 ของ American College of Cardiology ที่จัดขึ้นไม่กี่วันที่ผ่านมา ระบุว่าการบริโภคแอลกอฮอล์ในระดับปานกลางมีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่ลดลงของการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด
การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลางถูกกำหนดให้เท่ากับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกินหนึ่งแก้วต่อวันสำหรับผู้หญิงและสองแก้วต่อวันสำหรับผู้ชาย การศึกษานี้เป็นครั้งแรกที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ต่อหัวใจผ่านการลดความเครียดจากการดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลาง
****การดื่มในระดับปานกลางอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพบ้าง****
นักวิจัยใช้ข้อมูลจากการสำรวจด้านการดูแลสุขภาพของ Mass General Brigham Biobank เพื่อทำการศึกษาโดยมีผู้เข้าร่วมการศึกษา 53,064 คน อายุเฉลี่ยของผู้เข้าร่วม คือ 57.2 ปี
ผู้เข้าร่วมถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มที่บริโภคแอลกอฮอล์ในระดับต่ำ ปานกลาง และสูง ตามปริมาณการดื่มที่รายงานด้วยตนเอง
ผู้เข้าร่วมการทดลองผ่านการตรวจวินิจฉัยความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดที่สำคัญ เช่น หัวใจล้มเหลวและโรคหลอดเลือดสมอง และข้อมูลถูกบันทึกโดยใช้รหัสการวินิจฉัย
พร้อมกันนั้นผู้เข้ารับการทดลองจะถูกตรวจทางเวชศาสตร์โดยวิธี PET SCAN (การตรวจเอกซเรย์ทางรังสีวิทยา) เพื่อดูการทำงานของสมองในบริเวณต่างๆของสมองที่เกี่ยวข้องกับความเครียด
เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้พบว่าผู้ที่รายงานการดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลางมีโอกาสเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในระดับต่ำ นอกจากนี้พวกเขายังมีการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับความเครียดลดลง
****แอลกอฮอล์อาจช่วยหัวใจได้โดยการลดความเครียด****
เหตุผลหนึ่งที่อาจเป็นประโยชน์ตามที่งานศึกษากล่าวถึงคือแอลกอฮอล์สามารถลดสัญญาณสมองที่เกี่ยวข้องกับความเครียดได้
เมื่อนักวิจัยทำการศึกษาเกี่ยวกับภาพสมองพวกเขาพบว่าผู้ที่ละเว้นจากการดื่มแอลกอฮอล์โดยสิ้นเชิงและผู้ที่ดื่มหนักจะมีกิจกรรมของสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเครียดสูงกว่า
แนวคิดที่ได้จากการวิจัยก็คือการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณปานกลางสามารถช่วยผ่อนคลายและลดความเครียดได้ซึ่งในทางกลับกันอาจช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
สำหรับการวิจัยนี้การบริโภคในระดับต่ำถือเป็นการดื่มแอลกอฮอล์น้อยกว่าหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์และผู้ที่บริโภคมากกว่า 14 ครั้งต่อสัปดาห์ถือว่าเป็นผู้ที่ดื่มหนัก
ผู้เชี่ยวชาญเตือนไม่ให้ใช้แอลกอฮอล์เพื่อลดความเครียด
1
ในขณะที่ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลางอาจช่วยให้สุขภาพของหัวใจดีขึ้นโดยการช่วยลดความเครียด แต่ขอให้ใช้ความระมัดระวังในการดื่มเพื่อจุดประสงค์นี้
1
การศึกษานี้ไม่ได้ตั้งใจที่จะส่งเสริมให้มีการดื่มแอลกอฮอล์เนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไปมีความเกี่ยวข้องกับอันตรายมากมาย และแม้แต่การดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลางก็มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเกิดโดรคมะเร็ง นอกจากนี้การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปยังเป็นอันตรายต่อหัวใจเนื่องจากอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวและภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะ
อย่างไรก็ตามผลการวิจัยแสดงให้เห็นกลไกที่อาจเป็นไปได้ในการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด เป็นการเปิดประตูสู่การคิดค้นแนวทางบำบัดแบบใหม่ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการลดความเครียดได้โดยป้องกันไม่ให้ได้รับผลกระทบจากแอลกอฮอล์
1
ความเสี่ยงหลักในการดื่มแอลกอฮอล์คือการเสพติดการบริโภค ดังนั้นงานวิจัยไม่สนับสนุนให้ผู้ป่วยเริ่มดื่มแอลกอฮอล์เพื่อประโยชน์จากการบริโภคในระดับปานกลาง แต่สำหรับผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์อยู่แล้วคำแนะนำคือให้บริโภคในระดับปานกลางเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีประวัติการใช้สารเสพติดไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เพื่อลดความเครียด ผู้ที่มีประวัติความดันโลหิตสูงหรือภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะยิ่งไม่ควรได้รับการแนะนำให้ดื่มแอลกอฮอล์เพียงเพื่อประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นในการลดสัญญาณความเครียดจากสมอง
1
ข้อสังเกตสุดท้ายก็คือ ขนาดของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยนี้ยังเล็กเกินไปที่จะสามารถพิสูจน์ได้ว่าการบริโภคแอลกอฮอล์ในระดับปานกลางจะช่วยลดความเครียดได้จริงซึ่งส่งผลให้อัตราการเกิดโรคหัวใจลดลง ผลลัพท์ที่ชัดเจนจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่
1
****วิธีที่ดีต่อสุขภาพในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ****
2
ยังมีวิธีที่ดีกว่าและปลอดภัยกว่าในการลดความเสี่ยงนอกเหนือจากการดื่มแอกอฮอล์ และเราควรให้ความสำคัญกับสิ่งต่างๆ ที่พิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์ในการลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ได้แก่ การงดสูบบุหรี่ การออกกำลังกายเป็นประจำ การเพิ่มน้ำหนักให้เหมาะสม และการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมต่ำ-ไขมันอิ่มตัวต่ำ
1
การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ที่สุดที่เราสามารถทำได้เพื่อปรับปรุงสุขภาพของหัวใจ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพแนะนำให้ออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นปานกลางเป็นเวลา 150 นาทีต่อสัปดาห์ เช่น เดินเร็ว ปั่นจักรยาน หรือว่ายน้ำ
การรับประทานอาหารที่มีโซเดียมต่ำเพื่อสุขภาพที่ดีต่อหัวใจ การรับประทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวในปริมาณสูง เช่น ปลา อะโวคาโด และถั่ว จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจด้วย
4
นอกจากนี้สิ่งพื้นฐานที่เราสามารถทำได้เพื่อลดระดับความเครียดคือการนอนหลับให้ได้อย่างน้อย 7 ถึง 8 ชั่วโมงต่อคืน โดยกิจกรรมเพิ่มเติมอย่างการทำสมาธิและโยคะก็เป็นกิจกรรมที่ดีที่สามารถช่วยลดความเครียดได้
2
โฆษณา