19 พ.ค. 2021 เวลา 03:26 • ความคิดเห็น
วันนี้มาต่อเรื่อง Bujo กันต่อค่ะ…แชร์ประสบการณ์เขียนอย่างไรให้ต่อเนื่อง?
จะเริ่มต้นทำอย่างไรหงส์ขอ REFER กลับไปบล็อกที่เคยเขียนเอาไว้นะคะ
กดอ่านได้ที่ลิ้งค์นี้เลยค่ะ...
✏️ สำหรับวันนี้สิ่งที่เราจะมาเล่าก็คือ เส้นทางการลงมือทำมากกว่าค่ะ
จริงๆช่วง 3-4 เดือนแรกนั้นเรายังไม่ชินเลยไม่ค่อยพกสมุดเท่าไหร่ค่ะ
ประกอบกับตอนนั้นได้สมุดที่ไม่ค่อยถูกใจมาด้วย...
😅 อาจจะเป็นความรู้สึกส่วนตัวที่ถ้าได้ของที่ชอบจริงๆถึงจะใช้ยาวจึงตัดสินใจซื้อ Bujo ยี่ห้อ LEUCHTURM1917 มาใช้เพราะชอบปกแข็งและสัมผัสกระดาษของเขา
ช่วงแรกที่ได้มานั้นเรายังเขียนหน้าเว้นหน้าและยังจัดระบบงงๆอยู่ค่ะทำให้เรารู้สึกว่าสมุดมีที่ว่างเยอะเลย...
แต่พอกลับมาดูที่ต้นตอของปัญหาจริงๆนั่นเป็นเพราะว่าเราไม่ “migrate” หรือย้ายในทุกๆวัน
สุดท้ายข้อมูลจึงสะสมและกลับไปหลงๆลืมๆเหมือนเดิม...
✏️ ตั้งแต่วันนั้นเราจึงเขียน Mindmap ออกมาว่าถ้าขึ้นเล่มใหม่และเดือนใหม่เราจะเขียนอะไรลงไปบ้างเรียงหน้าและคอลเลคชั่นไหนที่เราชอบและคอลเลคชั่นไหนที่ไม่จำเป็นซึ่งจะมีการปรับเปลี่ยนเรื่อยๆพอเราเริ่มทำไปเรื่อยๆ
✏️เมื่อเราได้ Mindmap ออกมาสิ่งที่จะต้องทำต่อมาก็คือ การสัญญากับตัวเองว่าจะพกไปทุกที่และจะหยิบออกมาเขียนในทุกๆวัน
…เมื่อเราเริ่มพกอย่างไม่มีเงื่อนไขเราก็ได้เริ่มต้นเขียนในทุกๆวัน
( ก่อนหน้านั้นจะชอบคิดว่าไ่ม่ต้องเอาไปหรอก...ไม่ได้เขียนหรอก...แต่คุณรู้ไหมว่าสมองของเรามีความคิดตลอดเวลาใน 1 วันมีเรื่องที่ผุดขึ้นมาเดป็นหมื่นๆเรื่อง
ถ้าคุณเพียงแค่พกไปด้วยยังไงคุณก็ได้ใช้แน่นอน )
⭐️ หลังจากที่เราเริ่มติดนิสัยกว่าพกบูโจ
เราก็ตั้งกฏให้กับตัวเองเพิ่มก็คือ...
1. ลิสต์ทุกอย่างที่จะทำ / นึกออก / ไอเดีย / ความคิดที่เกิดขึ้นในวันนั้น
2. ก่อนนอนให้ย้าย “ทุกอย่าง” ไปตามหมวดหมู่
3. เขียนสิ่งที่ต้องทำพรุ่งนี้...
ทำทุกๆวัน...
✏️ บอกเลยค่ะว่าวันแรกที่ลงมือเขียนเราใช้เวลากับขั้นตอนเหล่านี้ร่วมชั่วโมง..
แต่เมื่อเราเริ่มทำทุกวันก็เหลือเพียงแค่ไม่กี่นาทีเท่านั้น
ที่สำคัญ คือ หัวของเราโล่งมากๆเพราะไม่ได้รู้สึกว่าลืมอะไรเอาไว้ที่ไหนอีก..
ครั้งหน้าหงส์จะมาแชร์การใช้แมนนวลร่วมกับดิจิตอลแบบทรงพลัง
เมื่อเราเซ็ตระบบการจัดการของเราเรียบร้อยแล้วเราก็สามารถนำไปผนึกกำลังประสานความต่างเสริมส่วนขาดและกลบจุดด้อยกับเครื่องมืออื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ
หากบทความนี้มีประโยชน์ฝากกดติดตามนะคะ
โฆษณา