31 พ.ค. 2021 เวลา 12:30 • สุขภาพ
% efficacy ของ Sinopharm และ อาการข้างเคียง
1
Sinopharm หรือ BBIBP-CorV (the Beijing Bio-Institute of Biological Products) เป็นวัคซีนยี่ห้อแรกจากจีนที่ WHO หรือ องค์การอนามัยโลกให้การรับรองไปเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2021 และกำลังจะกลายเป็นอีกหนึ่งวัคซีนทางเลือกของประเทศไทย นำเข้าโดยบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด ผ่านทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และเพิ่งผ่านการอนุมัติขึ้นทะเบียนวัคซีนของไทยโดย อย. ไปในวันที่ 28 พฤษภาคม 2021
Sinopharm เป็นวัคซีนที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีเชื้อตายเหมือนกับ Sinovac โดยใช้ Beta-propiolactone ยับยั้งความสามารถในการเพิ่มจำนวนของไวรัส และ ใช้ aluminium hydroxide เป็นสารเสริมฤทธิ์ (adjuvants) เหมือนกัน แตกต่างกันตรงไวรัสที่เลือกใช้
2
medicalnewstoday.com
[ 1 ]
Sinopharm ใช้ไวรัส 2 สายพันธุ์มาทำวัคซีน คือ WIV04 และ HB02 ซึ่งได้มาจากคนไข้ 2 คน ในโรงพยาบาล Jinyintan เมืองอู่ฮั่น
มีงานวิจัยของ Sinopharm ตีพิมพ์ในวารสาร JAMA เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2021 รายงานผลการศึกษาของทั้งสองสายพันธุ์นี้เปรียบเทียบกัน เป็นการเก็บข้อมูลในเฟส 3 ที่ทดสอบกับประชากกลุ่มใหญ่ 40,382 คน แถบตะวันออกกลาง คือ ประเทศบาห์เรนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เก็บข้อมูลตั้งแต่ 16 กรกฎาคม 2020 ถึง 20 ธันวาคม 2020 สำหรับ % efficacy ของวัคซีน และถึง 31 ธันวาคม 2020 สำหรับการติดตามอาการข้างเคียงของวัคซีน
1
งานวิจัยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับวัคซีน Sinopharm สายพันธุ์ WIV04 13,459 คน, กลุ่มที่ได้รับวัคซีน Sinopharm สายพันธุ์ HB02 13,465 คน และ กลุ่มที่ได้รับวัคซีนหลอก ซึ่งถือเป็นกลุ่มควบคุม 13,458 คน
1
ผลการทดลอง
1
หลังจากฉีดวัคซีนเข็มแรก พบผู้ติดเชื้อจากกลุ่ม WIV04 69 คน, HB02 48 คน และ วัคซีนหลอก 138 คน จึงคิดเป็น **% efficacy ของวัคซีนหลังจากฉีดเพียงเข็มเดียว** ว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้
2
50.3% ในวัคซีน Sinopharm สายพันธุ์ WIV04
1
65.5% ในวัคซีน Sinopharm สายพันธุ์ HB02
แต่เมื่อฉีดวัคซีนครบทั้งสองโดส พบว่า % efficacy ของวัคซีนทั้งสองสายพันธุ์เพิ่มขึ้น พบผู้ติดเชื้อโควิดแบบแสดงอาการ จากกลุ่ม WIV04 26 คน, HB02 21 คน และ วัคซีนหลอก 95 คน จึงคิดเป็น **% efficacy ของวัคซีนหลังฉีดครบทั้งสองเข็มว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการ** ได้
72.8% ในวัคซีน Sinopharm สายพันธุ์ WIV04
1
78.1% ในวัคซีน Sinopharm สายพันธุ์ HB02
1
แต่ถ้ารวมการติดเชื้อโควิดที่ให้ผลบวก แต่ไม่แสดงอาการเข้าไปด้วย จะทำให้มีผู้ติดเชื้อในกลุ่มตัวอย่างเพิ่มขึ้น พบจากกลุ่ม WIV04 42 คน, HB02 31 คน และ วัคซีนหลอก 116 คน ดังนั้น **% efficacy ของวัคซีนหลังฉีดครบทั้งสองเข็ม ที่สามารถป้องกันการติดเชื้อโควิดทั้งแบบที่มีอาการและไม่มีอาการ** คือ
64.0% ในวัคซีน Sinopharm สายพันธุ์ WIV04
73.5% ในวัคซีน Sinopharm สายพันธุ์ HB02
นอกจากนั้น ยังพบว่า วัคซีนทั้งสองสายพันธุ์ สามารถป้องกันอาการป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตจากโควิดได้ 100% เพราะไม่พบเคสป่วยหนักหรือเสียชีวิตในกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับวัคซีนเลย แต่พบเคสที่ป่วยหนักในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนหลอก 2 คน
ถึงอย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ป่วยที่มีอาการหนัก 2 คน ถือว่าน้อยเกินไปที่จะสรุปว่าวัคซีนสามารถป้องกันอาการป่วยหนักได้ 100% รวมถึงภายในช่วงเวลาติดตามผลหลังจากฉีดวัคซีน ไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงอะไรเกิดขึ้น จึงอาจจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้มีเคสป่วยหนักน้อย
2
อีกประเด็นหนึ่งคือ​ กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ เป็นผู้ชายมากถึง 84.4% อายุเฉลี่ย อยู่ที่ 36.1 ปี ถือว่าเป็นกลุ่มตัวอย่างที่อายุน้อย สุขภาพแข็งแรง จึงไม่สามารถนำไปอ้างอิงกับผู้ที่มีโรคประจำตัวร้ายแรง, ผู้หญิง/ผู้หญิงตั้งครรภ์ และ ผู้สูงอายุ ได้ เนื่องจากจำนวนน้อยเกินไป
💉 อาการข้างเคียง
ส่วนอาการข้างเคียงของวัคซีนที่พบ **หลังจากฉีดไป 7 วัน** เจอในกลุ่ม WIV04 5,957 คน, HB02 5,623 คน และ วัคซีนหลอก 6,250 คน คิดเป็น
44.2% ในวัคซีน Sinopharm สายพันธุ์ WIV04
41.7% ในวัคซีน Sinopharm สายพันธุ์ HB02
46.5% ในวัคซีนหลอก
เป็นสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน โดยอาการส่วนมากที่พบเป็นระดับเบา ไม่ร้ายแรง เช่น ปวดบริเวณฉีด และ ปวดศีรษะ ซึ่งหายได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษา
ส่วนอาการข้างเคียงที่พบ **หลังจากฉีดวัคซีนไป 8-28 วัน** ส่วนมากเป็นอาการที่อาจจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับวัคซีนก็ได้ โดยอาการข้างเคียงที่พบระดับหนักคิดเป็น
0.5% ในวัคซีน Sinopharm สายพันธุ์ WIV04
0.4% ในวัคซีน Sinopharm สายพันธุ์ HB02
0.6% ในวัคซีนหลอก
ทั้งนี้ มี 2 เคสที่ถูกรายงานว่าอาการข้างเคียงระดับหนักที่เกิดขึ้น อาจเป็นผลมาจากการฉีดวัคซีน ซึ่งทั้งสองคนได้รับวัคซีน Sinopharm สายพันธุ์ HB02 ได้แก่
1
- ชาย วัย 30 ปี ถูกวินิจฉัยว่าอาจเป็นโรคปลอกประสาทอักเสบ หลังจากได้ฉีดวัคซีนเข็มแรก แต่ตอนหลังพบว่าไม่เกี่ยวกับวัคซีนเพราะเป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม
- หญิง วัย 35 ปี หลังจากฉีดวัคซีนเข็มสอง มีการอาเจียนอย่างหนัก ซึ่งหลังจากได้รับยาแก้อาเจียนก็ดีขึ้น
[ 2 ]
นอกจากงานวิจัยฉบับนี้ ยังมีรายงานการศึกษาวัคซีน Sinopharm จาก SAGE ของ WHO ซึ่งเป็นสายพันธุ์ Beijing สายพันธุ์ที่ WHO ให้การรับรอง (คาดว่าตรงกับสายพันธุ์ HB02 ตามงานวิจัยของ JAMA เพราะประสิทธิภาพดีกว่าสายพันธุ์ WIV04 ชัดเจน) และ สายพันธุ์ Beijing ก็เป็นสายพันธุ์ที่จะนำเข้ามาในประเทศไทยด้วย
ข้อมูลเบื้องต้นจากรายงานของ SAGE ระบุว่า Sinopharm เป็นวัคซีน 2 โดส แนะนำให้ฉีดสองเข็มห่างกัน 21-28 วัน ผ่านการรับรองภายในประเทศจีนตั้งแต่ 31 ธันวาคม 2020 และได้รับการยอมรับจากอีก 45 ประเทศ ให้ใช้ฉีดในประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไป
มีการทดลองเฟส 3 ในประเทศบาห์เรน, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, จอร์แดน และ อียิปต์ เพื่อหาค่า % efficacy ของวัคซีน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งก็คือ กลุ่มที่ได้รับวัคซีน Sinopharm 13,765 คน และ กลุ่มที่ได้รับวัคซีนหลอก 13,765 คน
1
พบว่าวัคซีนมี **% efficacy ป้องกันการติดเชื้อโดยรวม** 78.1% สำหรับกลุ่มตัวอย่างอายุ 18-59 ปี โดยในกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ไม่สามาถประเมินได้ (NE) เนื่องจากจำนวนกลุ่มตัวอย่างน้อยเกินไป
ส่วนในกลุ่มตัวอย่างที่มีโรคประจำตัว คือ ความดันสูง, เบาหวาน, โรคอ้วน พบว่าในกลุ่มความดันสูง ไม่สามารถประเมินผลได้ (NE) เพราะจำนวนกลุ่มตัวอย่างน้อยเกินไป ส่วนกลุ่มที่เป็นเบาหวาน พบว่าวัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 63.7% แต่ก็ยังไม่น่าเชื่อถือ เพราะจำนวนกลุ่มตัวอย่างน้อยเกินไปเช่นกัน
สำหรับโรคอ้วน พบว่าวัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 80.7%
💉 อาการข้างเคียง
ในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 16,671 คนที่มีการติดตามอาการข้างเคียง เพื่อศึกษาความปลอดภัยของวัคซีน พบว่า
- อาการข้างเคียงส่วนใหญ่ เป็นระดับเบาถึงปานกลาง เช่น ปวดบริเวณที่ฉีด, ปวดหัว, เมื่อยล้า, อ่อนเพลีย
1
- พบอาการข้างเคียงระดับหนักที่คาดว่าอาจเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน 2 เคส คือ อาเจียนอย่างหนัก และ มีการอักเสบของระบบประสาทส่วนกลาง (Acute Disseminated Encephalomyelitis)
- มีผู้เสียชีวิตหนึ่งราย แต่อยู่ในกลุ่มที่ได้ฉีดวัคซีนหลอก
- มี 1 เคสที่ถูกวินิจฉัยว่าเกิดลิ่มเลือด และอยู่ในกลุ่มที่ได้ฉีดวัคซีน
- มีรายงานเคสที่เกิดอาการแพ้เฉียบพลัน แต่ไม่รุนแรง ทั้งในกลุ่มที่ได้ฉีดวัคซีนและวัคซีนหลอก ไม่แตกต่างกัน
🌎 หลังจากนั้น มีการเก็บข้อมูลต่อเนื่องจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2020 จากการฉีดจริงในประชากรจีน 5.9 ล้านคน พบว่า
- มีรายงานอาการแพ้ 1,453 เคส คิดเป็น 24.6/100,000 โดส
- 108 เคส มีอาการแพ้บริเวณที่ฉีด โดย 2 เคส เป็นรอยบวมแข็ง และ 6 เคส พบผื่นบวมแดง
- 202 เคส มีไข้ โดย 86 เคส มีไข้สูง (อุณหภูมิร่างกายมากกว่า 38.6 องศาเซลเซียส)
- 11 เคส มีอาการอัมพาตที่ใบหน้า ทุกเคสถูกประเมินว่าไม่ได้เป็นผลจากวัคซีน
- อื่นๆ เช่น เป็นผื่นแพ้/ผื่นลมพิษ
🌎 และถึงแม้จะไม่มีการเก็บข้อมูลกลุ่มผู้สูงอายุในเฟส 3 แต่ได้มีการเก็บข้อมูลการใช้ Sinopharm ฉีดจริงให้กับประชากรจีนอายุ 60 ปีขึ้นไป 1.1 ล้านคน มีรายงานพบอาการข้างเคียง 79 เคส คาดว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีน 45 เคส ทั้งหมดเป็นอาการทั่วไป ไม่ร้ายแรง ได้แก่
1
- มึนหัว 23 เคส
- ปวดหัว 9 เคส
- อ่อนเพลีย 9 เคส
- คลื่นไส้ 7 เคส
- มีไข้ 6 เคส
- อาเจียน 6 เคส
- ผื่นแพ้ 6 เคส
[ 3 ]
📌 สรุปจากทั้งงานวิจัย และ รายงานของ SAGE พบว่าผลการศึกษาสอดคล้องกัน
1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุน้อย และ ไม่มีโรคประจำตัวร้ายแรง อาจจะมีโรคอ้วนบ้าง แต่โดยรวมถือว่าสุขภาพดี ดังนั้นจึงไม่มีการรายงาน % efficacy และ ความปลอดภัยของวัคซีนในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรมีการศึกษาเก็บข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถฉีดให้กับประชากรกลุ่มนี้ได้
2. มีการเก็บข้อมูลถึงแค่เดือนธันวาคม 2020 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การระบาดค่อนข้างสงบในพื้นที่ตะวันออกกลาง และยังไม่มีเชื้อกลายพันธุ์ใหม่ๆปรากฎ จึงยังไม่มีข้อมูลของวัคซีนกับเชื้อกลายพันธุ์ แต่ในรายงาน SAGE ระบุว่าจากการศึกษา Cross-neutralization พบว่า ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลงกับสายพันธุ์ B.1.351 หรือ สายพันธุ์แอฟริกา
3. % efficacy ของวัคซีนที่ป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการคือ 78.1% แต่ถ้ารวมการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการด้วย จะอยู่ที่ 73.5%
1
4. ผลข้างเคียงที่พบส่วนมากไม่ร้ายแรง พบเยอะสุดคือ ปวดบริเวณที่ฉีด, ปวดหัว และ อ่อนเพลีย
🌸 ความเห็นส่วนตัว
ถึงแม้จะมีกรณีของเกาะ Seychelles ที่ฉีด Sinopharm ให้ประชากรครบโดสไปแล้ว 60% ของประชากรทั้งหมด แต่ก็ยังพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม ซึ่งอาจจะมาจากหลายสาเหตุ ทั้ง % efficacy ของวัคซีน ที่มีค่าอยู่ประมาณ 70% ซึ่งอาจยังทำให้เกิดการติดเชื้อได้, หลังฉีดเข็ม 2 แล้วต้องรอให้มีการกระตุ้นภูมิสักระยะ ภูมิถึงจะขึ้นสูง, ประเด็นที่ Seychelles เปิดรับนักท่องเที่ยว และประเด็นของเชื้อกลายพันธุ์
แต่โดยรวมคิดว่า Sinopharm ก็เป็นอีกหนึ่งวัคซีนทางเลือกนอกจาก Sinovac ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีเชื้อตายเหมือนกัน แต่มีผลการศึกษา % efficacy ออกมาดีกว่า และเป็นวัคซีนที่มีการยอมรับในต่างประเทศมากกว่า
2
References >>
Al Kaabi N, Zhang Y, Xia S, et al. Effect of 2 Inactivated SARS-CoV-2 Vaccines on Symptomatic COVID-19 Infection in Adults: A Randomized Clinical Trial. JAMA. Published online May 26, 2021. doi:10.1001/jama.2021.8565
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา