28 พ.ค. 2021 เวลา 12:18 • สุขภาพ
ผู้นำต้องไร้อีโก ถึงจะชนะโควิดได้ !
2
จากสถานการณ์โควิดที่ระบาดอยู่ตอนนี้
อาจทำให้หลายคนมีอีโก เพิ่มขึ้นมาแบบไม่รู้ตัว จากคนธรรมดา กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยา
1
บางคนกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีน
จากแค่เสพข่าว หรือบางคนมั่นใจในข้อมูลที่มี
เพียงเพราะทุกคนในกรุ๊ปไลน์เห็นตรงกัน
แล้วแชร์ข้อมูลออกไป แบบตัวเองยังไม่เข้าใจด้วยซ้ำ
2
ผู้เชี่ยวชาญหลายคน เป็นที่นับถือในสังคมวิชาการมาอย่างยาวนาน ต้องมาพังเพราะวิกฤติครั้งนี้ เพียงเพราะอีโกครอบงำ ด้วยการพยายามจูงสังคม ด้วยการบอกข้อมูลเพียงแค่ด้านเดียว หรือบางคนพยายามบิดเล่นคำ แล้วสร้างมาตรฐานวิชาการแบบใหม่ ที่เป็นแบบของไทยเอง บางทีก็ไม่เข้าใจว่า ทำไมถึงยอมแลก กับสิ่งที่สั่งสมมาทั้งชีวิต ?
5
ยิ่งถ้าอีโกเกิดพองโต ในผู้นำองค์กรด้วยแล้ว อาจรุนแรงไม่ต่างกับโควิด ที่ทำลายชีวิตผู้คนได้ เพียงเพราะความมั่นใจในตนเอง ความภูมิใจในเสียงที่ดังกว่าใคร ทำให้ไม่ได้ยินเสียงของผู้เชี่ยวชาญ ที่พยายามตะโกนขึ้นไปก็เป็นได้
อีโก (EGO) หรือตัวตน ที่ภาษาพระเรียกว่า อัตตา
เป็นหนึ่งในโครงสร้างของบุคลิกภาพที่
ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) กล่าวไว้
อีโกเป็นจิตที่รู้สำนึก คอยข่มสัญชาตญาณดิบของคน (Id, อิด) เอาไว้ ถ้ามีมากไปจนเกินพอดี อาจทำให้หลงคิดว่า ตนเก่งทุกเรื่องบนโลก
1
จนพาลเสียไปถึงซุปเปอร์อีโก (Superego)
กลายเป็นอีกคนไปเลยก็ได้
ดังนั้นการเป็นผู้นำที่ดีในองค์กรทุกระดับ
ต้องหมั่นตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอ
เพื่อไม่ให้อีโกของเราล้น จนคนแตะตัวไม่ได้
4
1️⃣ ลดอีโก ด้วยการเรียนรู้งาน
จอมพลอาร์เธอร์ เวลสลีย์ (Arthur Wellesley)
ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน ผู้มีชัยเหนือนโปเลียนแห่งฝรั่งเศส อยากให้ทหารในกองทัพเดินได้เร็ว และเดินได้ไกล
1
แทนที่จะดุด่าทหารที่เดินช้า
ท่านกลับเดินไปแบกทหารคนหนึ่ง ที่สวมเกราะและแบกอาวุธครบมือ เทียบกับทหารอีกนายที่สวมแค่ชุดธรรมดา
เพราะต้องการรู้ว่า ทหารในกองทัพ ต้องแบกรับภาระอะไรบ้าง ? ทำไมถึงเดินช้า ? และมีอุปสรรคอะไรที่ทำให้เดินช้าลง ?
The Duke of Wellington, Arthur Wellesley [ที่มา : https://en.wikipedia.org]
แค่ถอดหัวโขน เดินลงมาจากหอคอย เรียนรู้งาน
ก็เท่ากับเป็นการวางอีโกของตัวเองลงแล้ว จะสร้างกองทัพไปรบกับเชื้อโรคได้ยังไง ถ้ายังไม่เข้าใจนักรบ ? จะพาองค์กรเข้าสู่ยุค 5G ยังไง ถ้าเพิ่งใช้กูเกิลเป็น ?
1
2️⃣ ยอมรับความไม่รู้ของตัวเอง
ถ้าเราทะนงตน เพราะเคยยืนหนึ่งเมื่อในอดีต อาจทำให้เราไม่เรียนรู้ปัจจุบัน และไม่ไขว่คว้าที่จะก้าวไปข้างหน้า
ต้องเข้าใจว่า ผู้นำไม่จำเป็นต้องรู้ทุกเรื่อง
แต่ต้องกล้าที่จะยอมรับว่า ตนเองไม่รู้อะไร
แล้วขวนขวายเพิ่มเติม
1
ที่สำคัญคือ เลือกใช้คนให้ถูกกับงาน
อย่างที่เคยเล่าไว้ 👇
ถ้าผู้นำเปิดใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
คุณอาจค้นพบว่า แม้แต่การเข็นรถคนไข้ ยังต้องอาศัยทักษะ ใช้เทคนิค ต้องรู้จักโค้ง รู้จักหลุมในทุกพื้นที่
หรือถ้าอยากให้ดูดวัคซีน 6.5 ซีซี ให้ได้ 12 โดส
โดสละ 0.5 ซีซี ต้องลองดูดยาจากขวดสุญญากาศดูเองซักครั้ง จะได้รู้ว่าของที่มีให้ใช้ กับคุณภาพที่ฝัน มันทำได้จริงแค่ไหน ?
หรือถ้าจะถกเถียง แลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องวัคซีน ก็ควรคุยกันด้วยข้อมูลทางการแพทย์
หรือการศึกษาวิจัยที่มีมาตรฐาน จากสถาบันที่น่าเชื่อถือ
และต้องแยกความเห็นผู้เชี่ยวชาญ
(Expert Opinion) กับข้อเท็จจริง (Fact)
ออกจากกันให้ชัดเจนก่อน
ต้องรู้ว่ามาตรฐานของสิ่งที่กำลังคุยกัน
ในมาตรฐานสากลวัดกันที่ตรงไหน
เช่น ประสิทธิภาพ (Efficacy) หรือประสิทธิผล (Effectiveness) ของวัคซีน วัดกันที่ป้องกันการตายเป็นหลัก กันเจ็บหนักอาจเป็นผลการศึกษารองลงมา
แต่การเจาะดูภูมิคุ้มกันในเลือด หลังจากฉีดวัคซีน (Seroconversion Rate)
ไม่ได้หมายความว่า ภูมิคุ้มกันขึ้น
แล้วเซลล์เม็ดเลือดขาวนั้น
จะทำหน้าที่ป้องกันได้เสมอไป
4
เหมือนมียาม แต่ยามนั่งหลับ
เหมือนมีผู้นำแต่นำไม่ได้ ประมาณนั้น
ถ้าผู้นำยอมรับความไม่รู้ของตัวเองได้
อาจได้ยินเสียงที่หลากหลาย
ได้ฟังความเห็นที่แตกต่าง
และอาจได้ร่วมกันหาทางออกของปัญหา
ที่เหมาะสมสำหรับทุกฝ่ายได้
1
3️⃣ อย่ากังวลเรื่องภาพลักษณ์จนเกินไป
ถ้าองค์กรไหนมีผู้นำที่มีแต่อีโก
ปรารถนาให้ภาพลักษณ์ตัวเองโดดเด่น
และดูดีในทุกขณะ อาจทำให้มองข้ามความเป็นทีม มองข้ามข้อสรุปในที่ประชุมและยึดความเห็นตัวเองเป็นใหญ่ได้
2
ถ้าผู้นำมีความรู้ มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้น
อาจไม่ส่งผลเสียต่อองค์กรมากนัก
แต่ถ้าหากผู้นำไม่รู้ แล้วคิดว่าตัวเองรู้
เป็นคนไม่ฉลาดที่ขยัน อาจทำความเสียหายใหญ่หลวงแก่องค์กรได้
1
ซ้ำร้ายไปกว่านั้น อาจพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อให้ทุกสิ่งออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด
แทนที่จะแก้ปัญหา กลายเป็นซุกทุกอย่างไว้ใต้พรม เพียงเพราะอีโกของตนเท่านั้น
1
เส้นเลือดแดงแคโรติดอุดตัน [ที่มา : https://www.hopkinsmedicine.org]
วัคซีนแอสตรา เซเนกา (AstraZeneca)
ถึงแม้ผลิตในประเทศอังกฤษ
แต่สถาบันประสาทวิทยาในอังกฤษ
(Stroke Research Centre, University College London Queen Square Institute of Neurology) ก็กล้าที่จะรายงานเคสที่เกิดลิ่มเลือดอุดตันว่า เป็นภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนจริง (Vaccine-Induced Thrombotic Thrombocytopenia, VITT)
1
เกิดในคนอายุ 30-40 ปี ในอัตรา 1:50,000 -1:100,000 และเกิดลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดแดงใหญ่ ไม่ใช่แค่เส้นเลือดดำขนาดเล็ก เหมือนที่พบในอัมพฤกษ์, อัมพาตทั่วไป 👇
ผลจากการยอมรับความจริง คือ
ได้คำแนะนำและแนวทางการปฏิบัติ
เพื่อเฝ้าสังเกตอาการหลังฉีดวัคซีนอย่างใกล้ชิด
แทนที่จะซุกปัญหา แล้วแบกอีโกไว้
แล้ววินิจฉัยให้เป็นโรคอื่นแทน 🙄
1
จนถึงตอนนี้ ทำให้ได้ข้อสันนิษฐานแล้วว่า
วัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ (จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน, แอสตราเซเนกา)
อาจทำให้เกิดลิ่มเลือดได้
1
จากการที่ไวรัส แทรกตัวเข้าในนิวเคลียสของเซลล์มนุษย์ 👇
1
4️⃣ เรียนรู้ที่จะนำ แทนการควบคุม
ไม่ว่าองค์กรของคุณจะเล็กใหญ่เพียงไหน
มี 3 สิ่งเท่านั้น ที่คุณสามารถควบคุมได้
คือ เวลา, เงิน และคุณภาพ จะเห็นว่า คน ไม่ใช่สิ่งที่ควบคุมได้
ผู้นำไม่สามารถบังคับสิ่งที่ลูกน้องคิดได้
ผู้นำในทุกระดับควรวางอีโกลง และเข้าใจว่า
ผู้นำทำได้แค่นำ ไม่ใช่จูง
1
ผู้นำไม่จำเป็นต้องเป็นที่รัก หรือชื่นชอบ
ของทุกคนในองค์กร แต่จำเป็นที่ต้องได้รับ “ความนับถือ” จากผู้คนในวงกว้าง
ซึ่งสร้างได้จากความไว้ใจ และจะไว้ใจได้ ก็ต่อเมื่อได้รับข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเท่านั้น
5️⃣ ใช้มาตรฐานเดียวกันกับคนทั้งองค์กร
เรื่องบางอย่างที่เรามองข้าม อย่างเครื่องทำกาแฟ, ห้องน้ำผู้บริหาร หรือรถประจำตำแหน่ง มองผ่าน ๆ อาจเป็นไอเท็มที่ผู้นำควรมี
แต่มองอีกทีนี่อาจเป็นการสร้างวัฒนธรรม
การแบ่งชนชั้นของคนในองค์กร
ผู้นำบริษัทขนาดใหญ่บางแห่ง ปฏิเสธเครื่องทำกาแฟ เพราะต้องการได้ใช้เวลาพักผ่อน ในห้องเบรกร่วมกับพนักงานบ้าง เพื่อสร้างความคุ้นเคย หรือสละเวลาเพื่อให้พนักงานกล้าที่จะเล่าปัญหาให้ฟังโดยตรง
ผู้นำ ไม่ใช่ซุปเปอร์แมน
อีโก เป็นสิ่งที่ผู้นำทุกคนควรมีในระดับพอดี
เพราะทำให้กล้าตัดสินใจ และนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้
1
แต่ถ้ามีมากเกินไป อาจทำให้กลายเป็นคนเข้าถึงยาก ไม่น่าคบหา และพลาดโอกาสที่จะได้รับรู้ปัญหาที่แท้จริงได้
1
อ่างยอมรับในความเห็นต่าง ที่สร้างสรรค์ค่ะ
2
แนะนำหนังสือค่า 🤓👇
ขอบคุณค่า
อ่างสมอง 🤗🧠🙏
โฆษณา