1 มิ.ย. 2021 เวลา 06:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
"ภาษีบ้านเกิด" ระบบภาษีที่อยากให้มีในประเทศไทย
ภาพนี้ถ่ายเองจากแถวบ้านค่า
วันนี้เอินจะมาเล่าเรื่องระบบภาษีประเภทหนึ่งในญี่ปุ่นที่น่าสนใจมากๆให้ทุกคนได้อ่านกันเล่นๆค่ะ
ระบบนี้มีชื่อว่า ภาษีบ้านเกิด หรือ ฟุรุซาโตะโนเซ(ふるさと納税)
เป็นภาษีที่ไม่ได้บังคับจ่าย ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของเราค่ะ
ระบบนี้มีไว้เพื่อให้คนที่อยากจะสนับสนุนได้ส่งเงินไปช่วยเหลือบ้านเกิดตัวเองหรือเมืองที่เราอยากให้เค้าได้รับเงินเมืองไหนก็ได้ในประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำเงินไปพัฒนาเมืองนั้นต่อไป
1
ฟังดูแล้วรู้สึกว่าน่ารักมั้ยคะ? ยังไม่จบนะคะ ยังมีที่น่ารักกว่านี้อีกค่ะ
1
ภาษีบ้านเกิดนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2008
เพราะคนญี่ปุ่นนั้นย้ายเข้าไปอยู่ตามตัวเมืองใหญ่ๆเพื่อหางานทำและเรียนต่อกันมากขึ้นทุกปี ทำให้พื้นที่ในแถบชนบทที่ประสบปัญหาประชากรลดลงอยู่แล้วต้องเจอกับปัญหาขาดแคลนคนจ่ายภาษียิ่งขึ้นไปอีก จนถึงขั้นลำบากกันเลยทีเดียว
ทางการจึงได้เล็งเห็นปัญหาแล้วว่าถ้าเป็นแบบนี้ต่อไปในอนาคตจะต้องลำบากกว่านี้แน่ๆ เพราะในเมืองใหญ่จะพัฒนาไปเรื่อยๆด้วยเงินภาษีแต่ชนบทกลับอยู่ที่เดิมเพราะขาดแคลนทุนทรัพย์
ระบบภาษีบ้านเกิดจึงได้ถือกำเนิดขึ้นมาด้วยคอนเซ็ปต์ว่า "อยากตอบแทนบุญคุณบ้านเกิด" เวลาที่เราชำระภาษีนี้เงินของเราจะแทนเป็นคำว่า "ซาบซึ้งใจมาก" "ขอบคุณที่เคยดูแลกัน" ค่ะ
แต่ไม่ใช่ว่าเราจ่ายเฉยๆแล้วก็จบนะคะ ฝ่ายเมืองที่ได้รับก็จะส่งของดีประจำเมืองมาตอบแทนด้วย! เป็นไงล่ะคะ น่ารักมั้ย😚
1
ระบบนี้มีแต่ได้กับได้ เพราะแต่ละเมืองก็จะฟาดฟันกันเองด้วยการเอาของดีมาแข่งกันให้ ยิ่งเมืองไหนมีของดีน่าดึงดูดก็จะได้ภาษีเยอะ คนรู้จักของเอินเป็นคนแถบคันไซ แต่เค้าก็เลือกที่จะจ่ายภาษีบ้านเกิดให้กับเมืองๆหนึ่งที่อยู่แถวๆฮาโกดาเตะเพราะว่าได้ไข่ปลาแซลมอนระดับพรีเมียมเป็นของตอบแทนค่ะ เค้าบอกอร่อย ซื้อเองแพง5555🤣
เมืองที่เอินอยู่เองก็ไม่น้อยหน้ามีทั้งข้าวพันธุ์นานะทสึโบชิ ข้าวพันธุ์ยุเมะปิริกะและเมล่อนเป็นของตอบแทนค่ะ และแผนกที่เอินทำงานนี้ก็เป็นแผนกรับผิดชอบเรื่องต่างๆเกี่ยวกับภาษีบ้านเกิดนี้ด้วย
ทุกๆวันเอินจะได้ยินเสียงรุ่นน้องรุ่นพี่รับโทรศัพท์กันให้วุ่น ผู้จ่ายภาษีบางคนลงทะเบียนแล้วมีปัญหา บางคนบอกของไม่ถึง บางคนบอกข้าวไม่อร่อย(?)
เวลาคนจ่ายภาษีโทรมาบ่นทีเอินก็จะได้รับอานิสงส์ผลบุญไปด้วย คือเจ้านายก็จะเอาข้าวที่เค้าบ่นว่าไม่อร่อยนี่แหละมาหุงให้ลองชิมว่ามันไม่อร่อยยังไง แต่ทุกครั้งก็คืออร่อยหมด55555
1
เรื่องการกินคนญี่ปุ่นจะละเอียดอ่อนมากกก บางคนบริจาคให้เมืองเอินทุกปี ได้กินข้าวพรีเมี่ยมแบบนี้ทุกปี พอมาปีนี้รู้สึกว่ารสผิดแปลกไปนิดเดียวเค้าก็จะบ่น แต่เอินได้ชิมทุกปีก็รู้สึกว่าอร่อยทุกปีแล้วก็อ้วนขึ้นทุกปีค่ะโอ้ยย555555555555555
ข้าวใหม่
ในภาพนี้คือข้าวใหม่ของปีนี้ เป็นข้าวที่เพิ่งเกี่ยวเพิ่งสีมาหมาดๆ ที่ทางเมืองเตรียมไว้ให้เป็นของตอบแทนผู้จ่ายภาษี เราเลยมีการเทสต์กันก่อน อร่อยยยยยย อร่อยอีกแล้วว ข้าวหวานมากกก ข้าวใหม่มันฟินแบบนี้นี่เอง อิอิ
เมล่อนฮอกไกโด
ส่วนเมล่อนคือของเหลือจากของตอบแทนในหน้าร้อนที่เกษตรกรเอามาแบ่ง มันแบบ อื้อหือมากกกกก
กลับมาเล่าเรื่องภาษีต่อนะคะ5555
เก๋ที่สุดคือภาษีบ้านเกิดที่เราจ่ายไปเนี่ยสามารถระบุได้ด้วยว่าอยากให้เอาไปใช้จ่ายในส่วนไหน มีทั้งด้านการศึกษา การแพทย์ กีฬา ดนตรี จัดเทศกาล ช่วยเหลือภัยพิบัติ หรือจะปล่อยให้ทางทางเมืองเอาไปแบ่งสรรปันส่วนเองก็ได้ และภาษีตรงนี้สามารถเอาไปปรับลดภาษีเมืองที่เราต้องจ่ายได้ด้วยค่ะ
1
การค้นหาว่าเราจะจ่ายให้เมืองไหนยังไงก็สามารถค้นหาจากของตอบแทนที่จะได้หรือเส้นทางการใช้จ่ายเงินของเราก็ได้ เช่น ถ้าเราอยากช่วยเรื่องผู้สูงอายุก็ค้นหาได้ว่าเมืองไหนเปิดรับเงินตรงนี้บ้าง แถมยังเลือกได้อีกว่าจะเอาเมืองที่มีคนแก่กี่%ของประชากรขึ้นไป
ชอบความละเอียดของเค้าตรงนี้ ตัวเลขคือเห็นกันจะๆ
เมืองของเอิน
จ่ายภาษี 10,000 เยน ได้ข้าวพันธุ์นานะทสึโบชิ 10 กิโล
จ่ายภาษี 13,000 เยน ได้ข้าวพันธุ์ยุเมะปิริกะ 10 กิโล
จ่ายภาษี 88,000 เยน ได้ข้าวพันธุ์นานะทสึโบชิ 80 กิโล
เป็นต้น มีอีกหลายราคานะคะ แล้วของที่ได้ก็จะมีจำนวนแตกต่างกันไป
เอินแอบไปถามเจ้านายมา เค้าบอกว่าเมืองเราได้ภาษีจากส่วนนี้อย่างต่ำก็ร้อยล้านเยน บางปีได้เยอะๆก็ 4-5 ร้อยล้านเยนเลยค่ะ
1
เอาข้าวเหลือมาทำข้าวปั้น
แล้วเรามาลุ้นกันเด้อว่าปีนี้จะมีใครบ่นเข้ามาอีกมั้ย
แล้วเอินจะอ้วนขึ้นอีกมั้ย5555🤣🤣🤣
ชอบความคิดที่ว่า "ภาษีเรา เราเลือกได้ว่าจะเอาไปใช้กับอะไร"
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์นะคะ😘

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา