2 มิ.ย. 2021 เวลา 08:44 • สุขภาพ
ยา-โรคประจำตัว ที่ควรระวังก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19
"ยา-โรคประจำตัว" ที่ควรระวังก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 ก่อนฉีดนั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ผู้เข้ารับการฉีดจะต้องศึกษาข้อมูลให้ชัดเจนก่อน โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวร้ายแรง กับผู้ที่ใช้ยาเป็นประจำ ก่อนฉีดวัคซีนควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวางแผนเข้ารับการฉีด
✳ ฉีดวัคซีนโควิด-19 โรคอะไรห้ามฉีด และ ฉีดได้
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ก็แจ้งแนวทางการฉีดวัคซีนให้แก่ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยทั่วไปที่มีอาการภาวะโรคคงที่ สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ทันที ได้แก่
1. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอยู่ในภาวะคงที่
✤โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
✤โรคหัวใจและหลอดเลือดต่างๆ
✤โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
✤โรคติดเชื้อเอชไอวี
✤โรคข้ออักเสบ และ โรคภูมิแพ้ตัวเอง
✤โรคสะเก็ดเงิน
✤ภาวะสมองเสื่อม
✤อัมพาต อัมพฤกษ์
✤โรคไตเรื้อรัง
✤ผู้สูงอายุที่มีภาวะเปราะบาง
✤โรคหิด/ปอดอุดกั้นเรื้อรัง
✤โรคไขกระดูกฝ่อ
✤โรคไขกระดูกทำงานผิดปกติ
✤โรคมะเร็งทางโลหิตวิทยา และโรคมะเร็งอื่นๆ
2. ผู้ป่วยที่ได้รับหรืออยู่ระหว่างได้รับการบำบัดยา
✤เคมีบำบัด รังสีรักษา
✤การบำบัดทดแทนไต
✤ยากดภูมิคุ้มกันที่อาการของโรคสงบ
✤เลือดหรือผลิตภัณฑ์จากเลือดทุกชนิด
✤อิมมูโนโกลบูลินเข้าหลอดเลือดดำ
✤ยาสูดสเตียรอยด์
✤ยาควบคุมอาการของโรคต่างๆ
3. ผู้ป่วยที่เลือดออกง่าย
✤โรคเลือดออกง่าย
✤เกล็ดเลือดต่ำหรือเกล็ดเลือดทำงานผิดปกติ
✤ได้รับยาต้านหรือเกล็ดเลือด/ยาต้านการแข็งตัวของเลือดที่ไม่ใช่วาร์ฟาริน
✤ได้รับยาวาร์ฟารินต้านการแข็งตัวของเลือด
4. บุคคลที่มีประวัติแพ้อาหารหรือแพ้ยาต่างๆ
5. ผู้ป่วยที่ไม่อยู่ในฐานะที่จะรับทราบข้อมูล ผู้เป็นทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ต้องตัดสินใจแทน ได้แก่ ผู้ป่วยสมองเสื่อม และ ผู้ป่วยติดเตียง
6. ผู้ดูแลหรือผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว
✳ ผู้ที่ฉีดวัคซีนได้แต่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม
ผู้ป่วยกลุ่มต่อไปนี้สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ แต่ควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่
☑บุคคลที่มีประวัติแพ้ยาแอนาฟิแล็กซิสจากวัคซีนที่อื่นมาก่อน แนะนำให้ตรวจสอบส่วนประกอบของวัคซีนที่ผู้ป่วยเคยแพ้ และฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ไม่มีส่วนประกอบนั้น
☑ผู้ป่วยที่เพิ่งมีอาการหรืออาการยังไม่เสถียร หรือยังมีอาการที่เป็นอันตรายต่อชีวิต แนะนำให้รับวัคซีนโควิด-19 ทันที่หลังควบคุมอาการได้คงที่แล้วหรือก่อนจำหน่ายกลับ
☑ผู้ป่วยที่มีระดับเม็ดเลือดขาวต่ำรุนแรง แนะนำให้รอกระทั่งพ้นช่วงที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำรุนแรง แล้วรีบจัดให้ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19
☑ผู้ป่วยโรคเลือดที่ได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cells) หรือบำบัดภูมิคุ้มกัน CAR-T Cells แนะนำให้เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้เมื่อพ้น 3 เดือนหลังปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cells) บำบัดด้วยภูมิคุ้มกัน CAR-T Cells
☑ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ไต ตับ ปอด หัวใจ แนะนำให้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้เมื่อพ้น 3 เดือนหลังผ่าตัดหรือมีอาการคงที่แล้ว หรือพ้น 1 เดือน หลังได้รับการรักษาภาวะปฏิเสธอวัยวะ โดยให้ปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลก่อน
☑ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดด้วยแอนติบอดี หรือ ได้รับยาแอนติบอดี แนะนำให้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ดังนี้
6.1) ผู้ป่วยโควิด-19 ที่เคยได้รับการบำบัดด้วยพลาสมา จากผู้ป่วยที่หายจากโควิด-19 พ้น 3 เดือน หลังได้รับการบำบัด
6.2) ผู้ป่วยที่ได้รับยา Rituximab พ้น 1 เดือน หลังรับยา Rituximab หรือก่อนได้รับ Rituximab ครั้งแรก อย่างน้อย 14 วัน
6.3) ผู้ป่วยที่ได้รับยาแอนติบอดีขนานอื่นๆ เช่น Omalizumab, Benralizumab, Dupilumab พ้น 7 วัน ก่อนหรือหลังได้รับยา
✳ คำแนะนำเพิ่มเติม หลังฉีดวัคซีนโควิด
 
ทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติ แต่ไม่ควรออกกำลังกายหนักกว่าที่เคยทำ และไม่ควร
พักผ่อนน้อยกว่าปกติ 1-2 วัน
✳ การงด “ยา” โรคประจำตัวก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19
 
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาลประเทศไทย ได้อธิบายเรื่องยาและโรคประจำตัว เพื่อให้ผู้เข้ารับการฉีดได้ทราบข้อมูลเบื้องต้นของตัวเองก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19
✳ คำถามที่พบบ่อยก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19
▪ มีประจำเดือน ฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ไหม คำตอบ ฉีดได้
▪ ให้นมบุตร ฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ไหม คำตอบ ฉีดได้
▪ ตั้งครรภ์ ฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ไหม คำตอบ ฉีดได้ แต่ควรมีอายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์
กรณีผู้เข้ารับวัคซีนเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัว ทั้งโรคร้ายแรงและไม่ร้ายแรง รวมถึงผู้ใช้ยาเป็นประจำ จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ และเภสัชกร เพื่อวางแผนปรับลดขนาดยาบางตัว ดังนี้
✳ กรณีใช้ยาโรคประจำตัว
▻ ยา Steroid เช่น Prednisolone
กรณีใช้ยาประจำ ฉีดได้ หากได้รับ Prednisolone น้อยกว่า
หรือเท่ากับ 20 มิลลิกรัมต่อวัน หรือมากกว่า 20 มิลลิกรัมต่อวัน กรณีอาการคงที่และอยู่ในช่วงปรับลดขนาดยา
➛กรณีเริ่มยาครั้งแรก หากอาการคงที่ก่อนเริ่มยาให้ฉีดวัคซีนก่อนเริ่มยา 2 สัปดาห์
✤ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น Azathioprine, Mycophenolate, IVIG, Cyclophosphamide (ชนิดกิน), Hydroxychioroquine, Sulfasalazine, Leflunomide
กรณีเริ่มยาครั้งแรก หากอาการคงที่ก่อนเริ่มยาให้ฉีดวัคซีนก่อนเริ่มยา 2 สัปดาห์
✤ใช้ยา Methotrexate
กรณีอาการของโรคคงที่แนะนำหยุดยา Methotrexate 1 สัปดาห์ หลังการฉีดวัคซีนในแต่ละครั้ง แล้วจึงให้ยาต่อตามปกติ
✤ใช้ยา Warfarin หรือกลุ่ม NOAC เช่น Dabigatran, Rivaroxaban, Apixaban, Edoxaban
- กรณีใช้ warfarin >> INR ต้องน้อยกว่า 4 และใช้เข็ม 23G หรือเล็กกว่า และไม่คลึงกล้ามเนื้อหลังฉีดวัคซีน ควรกดตำแหน่งที่ฉีดอย่างน้อย 2 นาที
- กรณีใช้ NOAC อื่นๆ >> ใช้เข็ม 23G หรือเล็กกว่า และไม่คลึงกล้ามเนื้อหลังฉีดวัคซีน ควรกดตำแหน่งที่ฉีดอย่างน้อย 2 นาที
✤ใช้ยาต้านเกล็ดเลือด เช่น Aspirin, Clopidogrel, Ticagrelor, Prasugrel, Citostazol
- ใช้เข็ม 23G หรือเล็กกว่า และไม่คลึงกล้ามเนื้อหลังฉีดวัคซีน ควรกดตำแหน่งที่ฉีดอย่างน้อย 2 นาที
- กรณีฉีดวัคซีนอื่นที่ใช้ร่วม วัคซีนไข้หวัดใหญ่, คอตีบ, หัด, หัดเยอรมัน ควรฉีดหากจากวัคซีนโควิด-19 2-4 สัปดาห์
✤วัคซีนบาดทะยัก พิษสุนัขบ้า
ฉีดได้เลยไม่ต้องเว้นระยะห่างกับวัคซีนโควิด-19 อย่างไรก็ดี เมื่อเข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มแรงแล้ว อย่าลืมโหลดแอปฯ “หมอพร้อม” เพื่อประเมินอาการหลังรับวัคซีนรายวัน รวมถึงรับการแจ้งเตือนเข็มที่ 2 เพื่อให้ครบโดสตามหลักการป้องกันโรคระบาดนี้.
ที่มา : สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย), ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
โฆษณา