3 มิ.ย. 2021 เวลา 01:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Reverse repo คืออะไร ? ทำไมนักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจเป็นพิเศษ
2
เมื่อพูดถึงสินทรัพย์ที่มีเสน่ห์ต่อนักลงทุนทั่วโลกมากที่สุด เห็นจะปฏิเสธจากแร่ที่ชื่อว่า “ทองคำ” ไปไม่ได้
เพราะเป็นที่รู้กันดีว่า ทุกเวลาที่โลกปั่นป่วนจากเหตุการณ์ใดๆ ก็แล้วแต่ ทองคำจะกลายเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย หรือที่เรียกว่า สินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงขึ้นมาทันที
ดังจะเห็นได้จากช่วงเกิดวิกฤติ Covid-19 ใหม่ๆ ในช่วงต้นปี 2020 แม้ทุกสินทรัพย์ทั่วโลกจะดิ่งลงเหว แต่ทองคำใช้เวลาไม่นาน ก็ทะยานขึ้นมา จนสามารถทำ New High ที่ราคา 2075 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ได้
เรียกได้ว่าหากใครที่ลงทุนโดยการถือสินทรัพย์ทองคำไว้เมื่อ 50 ปีก่อน ที่ราคา 20 ดอลลาร์สหรัฐต่ออนซ์ มูลค่าพอร์ตจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 100 เท่าเลยทีเดียว
หลายเดือนที่ผ่านมา แม้ทองคำจะมีท่าทีว่าเป็นตลาดกระทิงมากก็ตาม แต่นักลงทุนยังเฝ้าจับตามองการเดินเกมของ Fed หรือธนาคารกลางสหรัฐว่าจะเดินเกมอย่างไร ในอนาคตอันใกล้
ซึ่งมันจะส่งผลต่อราคาทิศทางทองคำในระยะยาว..
แล้วปัจจัยจาก Fed อะไรบ้างล่ะ ? ที่ส่งผลต่อราคาทองคำ
ประการแรกเลยคือการลด QE หรือถ้าเข้าใจง่ายๆ คือเม็ดเงินอัดฉีดที่ Fed เพิ่มเข้าไปในระบบการเงินของประเทศ เดือนละ 1.2 แสนล้านเหรียญฯ เพื่อรักษาความสมดุลจากภาวะเงินฝืด(สินค้าเยอะแต่ราคาถูก) แต่พอฉีดเม็ดเงินเข้าระบบมากไปก็ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น(สินค้าน้อยแต่ราคาแพง)
1
ดังนั้น Fed จึงต้องเดินหมากด้วยการดึงเงินออกมาจากระบบจะด้วยวิธีการใดๆ ก็ตามแต่ นั่นจะทำให้ภาวะเงินเฟ้อลดลง
และการดึงเงินออกจากระบบที่นักลงทุนทั่วโลกจับตามองก็คือ “Reverse Repo”
“Repo” คืออะไร ?
Repo เป็นธุรกรรมการยืมเงินระหว่างผู้กู้และผู้ให้กู้โดยใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน
แล้ว “Reverse Repo” ล่ะ ?
Reverse Repo คือวิธีการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ขายพันธบัตรคืนกลับสู่ตลาด และดึงเงินสดออกมาแทน
ซึ่งปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา Fed ทำ Reverse Repo สูงถึง 4.3 แสนล้านเหรียญฯ มากกว่าเงินอัดฉีด QE สามเดือนรวมกัน
นักวิเคราะห์จากทั่วโลก ต่างก็มีความเห็นแตกต่างกันออกไปเกี่ยวกับประเด็นนี้ แต่ที่น่าสนใจ คือผู้บริหารชั้นสูงของ Fed นักวิเคราะห์ชั้นนำของไทย มองว่าประเด็นนี้เกิดขึ้นเพราะ Fed ต้องการส่งสัญญาณว่าสภาพคล่องกำลังล้นระบบ หรือเฟ้อมากจนเกินไป
จึงทำให้ Fed ต้องดึงเงินกลับ นั่นเอง..
แล้วหลังจาก ที่ Fed ดึงเงินกลับ จะเกิดเหตุการณ์ใดๆ ต่อ
1
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานส่วนใหญ่ ได้ให้น้ำหนักไปที่การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของ Fed ซึ่งมันจะส่งผลต่อทิศทางค่าเงินและสินทรัพย์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1
ตัวอย่างเช่น ดอกเบี้ยปัจจุบันของ Fed อยู่ที่ 0.25 ขณะที่ดอกเบี้ยของ BOT หรือธนาคารกลางแห่งประเทศไทยอยู่ที่ 0.50 แน่นอนว่าผู้คนจะฝากเงินที่ BOT มากกว่า เพราะให้ดอกเบี้ยมากกว่า จะทำให้เงินบาทแข็งค่า และเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่า
แต่ถ้าหาก Fed เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า BOT จะทำให้ผู้คนแห่เอาเงินไปฝาก Fed มากกว่า จะทำให้ เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นนั่นเอง
2
ถึงกระนั้น มันก็ไม่ได้ส่งผลต่อค่าเงินบาท หรือสกุลเงินอื่นๆ ที่มีความผกผันกับทองคำแค่อย่างเดียว
แต่มันยังส่งผลต่อสินทรัพย์มูลค่าสูงบางชนิด เช่น ทองคำ ที่มีทิศทางราคาผกผันกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถ้าหากสกุลเงินดอลแข็งค่า ทองคำก็อาจจะกลายเป็นตลาดหมีในช่วงเวลาหนึ่ง
อย่างไรก็ดี ทุกอย่างล้วนแล้วแต่เป็นกลไกทางเศรษฐศาสตร์ ที่ต้องอาศัยขั้นตอนและเวลาการทำงาน
ซึ่งใช่ว่า Fed ดึงเงินกลับ และขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้วทุกอย่างจะจบลูป
2
เพราะอย่าลืมว่าตาชั่งมีสองฝั่ง “ถ้าใส่ของฝั่งไหนมากไป ฝั่งนั้นก็จะมีน้ำหนักมากกว่า”
การรักษาสมดุลจึงเกิดเป็นกลไกอยู่ตลอด “ระบบการเงิน ก็เช่นกัน..”
2
ติดตามเพิ่มเติมได้ที่..
โฆษณา