3 มิ.ย. 2021 เวลา 04:23 • สุขภาพ
โรคอัลไซเมอร์ คือ สาเหตุหนึ่งของภาวะสมองเสื่อม และเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด
1
โดยความชุกของโรคจะเพิ่มขึ้นตามช่วงอายุ พบความชุกร้อยละ 10-15 ในประชากรที่อายุมากกว่า 65 ปี และพบร้อยละ 20-30 ในประชากรที่อายุมากว่า 80 ปี
จากการสำรวจในประเทศไทย ปี พ.ศ.2554 ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวน 8.3 ล้านคน พบว่าร้อยละ 10 มีแนวโน้มเป็นโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ หรือราว 8 แสนสามหมื่นรายนั่นเอง และที่สำคัญผู้หญิงเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย มีคนเคยคำนวนเล่น ๆ ว่าทุก 68 วินาทีจะมีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นคนหนึ่งบนโลกใบนี้ ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น่าตกใจพอสมควร รู้อย่างนี้แล้ว อย่ามัวปล่อยปะละเลยการดูแลสุขภาพร่างกาย และสมองกันอีกเลย เราควรเริ่มต้นหันมาดูแลสุขภาพกันอย่างจริงจังเสียที
สาเหตุ โรคอัลไซเมอร์
ความผิดปกติในเนื้อสมอง
การอักเสบ Inflammatory สาร amyloid เมื่อสลายจะทำให้อนุมูลอิสระออกมา อนุมูลนี้จะทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์สมอง
กรรมพันธุ์
ปัจจัยเสี่ยง โรคอัลไซเมอร์
ยิ่งอายุมากยิ่งมีโอกาสเป็นมาก จากสถิติพบว่าร้อยละ 25 ของผู้มีอายุ 85 ปี ป่วยเป็นโรคนี้
โรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคเบาหวาน ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความจำ
กรรมพันธุ์ หากมีบุคคลในครอบครัวป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ ก็มีโอกาสที่จะเป็นมากขึ้น
พฤติกรรมของคนบางกลุ่มที่มักใช้ชีวิตเรื่อยเปื่อย ไม่รับผิดชอบหน้าที่การงาน หรือไม่ได้ฝึกพัฒนาความคิด
อาการ โรคอัลไซเมอร์
ในระยะแรกของโรค ผู้ป่วยจะมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความจำเป็นหลัก เช่น ถามคำถามเดิมซ้ำ จำทางไม่ได้หรือหลงทาง ลืมวางสิ่งของไว้ที่ไหน รับประทานอาหารแล้วแต่จำไม่ได้ คิดเลขหรือทอนเงินผิด อาจมีบุคลิกภาพผิดปกติเช่น หงุดหงิดง่าย เชื่องช้าลง ต่อมาเมื่ออาการเป็นมากขึ้นผู้ป่วยจะหลงลืมมากขึ้น จำญาติพี่น้องหรือเพื่อนไม่ได้ เรียนรู้หรือจดจำสิ่งใหม่ๆไม่ค่อยได้ มีความยากลำบากในการทำกิจกรรมที่มีหลายขั้นตอน เช่น ใส่เสื้อผ้า เริ่มมีอาการก้าวร้าว อาจมีหวาดระแวงหรือประสาทหลอน ในระยะท้ายผู้ป่วยจะไม่สามารถสื่อสารได้อย่างปกติ มีปัญหาเรื่องการใช้ภาษา ดูแลตนเองไม่ได้ มีปัญหาเรื่องการรับประทานอาหารหรือการกลืน น้ำหนักลด นอนมากขึ้น สูญเสียความสามารถในการควบคุมการอุจจาระปัสสาวะ ผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตจากภาวะปอดติดเชื้อจากการสำลักอาหารหรือน้ำ
การป้องกัน โรคอัลไซเมอร์
เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แนชัดของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ การป้องกันโรคจึงเป็นการลดปัจจัยเสี่ยง ที่อาจทำให้เกิดโรคดังนี้
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และโคเลสเตอรอลสูง
รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้เกินมาตรฐาน
ไม่สูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีควันบุหรี่
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ระมัดระวังเร่องอุบัติเหตุต่อสมอง การพลัดตกหกล้ม
ดูแลสุขภาพกายให้ดี ตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจติดตามโรคประจำตัวที่เป็นอยู่เป็นระยะๆ หากมีอาการเจ็บป่วควรไปพบแพทย์แต่เนิ่นๆ
นอกจากนี้ การฝึกฝนสมอง เช่น คิดเลข อ่านหนังสือ เล่นเกมส์ ฝึกการใช้อุปกรณ์ใหม่ๆ การพบปะพูดคุยกับผู้อื่นบ่อยๆ การมีความสัมพันธ์ทางสังคม เช่น ไปวัด ไปงานเลี้ยง เข้าชมรมผู้สูงอายุ ฯลฯ นอกจากนี้อาจช่วยป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้ยังช่วยให้ผู้สูงวัยคุณภาพชีวิตที่มีและมีความสุขอีกด้วย
การรักษา โรคอัลไซเมอร์
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการหรือยาที่จะรักษาให้หายขาดได้ ยาที่มีใช้อยู่ 3-4 ชนิด ซึ่งช่วยในการคงความสามารถด้านสติปัญญาและควบคุมพฤติกรรมบางอย่างได้ตั้งแต่ 2-3 เดือนจนถึง 2-3 ปี แต่แพทย์อาจใช้ยาอื่นเสริมเพื่อควบคุมอาการบางอย่าง เช่น ปัญหาการนอนหลับ อาการซึมเศร้า อาการก้าวร้าว หวาดระแวง เป็นต้น การดูแลจากญาติพี่น้องก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการดูแลผู้ป่วย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา