9 มิ.ย. 2021 เวลา 01:58 • ปรัชญา
"ไม่มีใครสมควรจมอยู่กับทุกข์"
2
ความรัก กับบทเพลง บทหนัง บทละคร
เป็นสิ่งที่เคียงคู่กันมาแต่ไหนแต่ไร
2
ความรักไม่ว่ารูปแบบไหน
ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว คนรัก เพื่อน ฯลฯ
หากไม่รู้จักรักอย่างถูกวิธี
จะทำให้ร่างกาย จิตใจ อ่อนแอ เปราะบาง
หมดกำลังใจ อย่างรุนแรง
รักเป็นอย่างถูกวิธี ก็จะทำให้เกิดพลังมหาศาล
ในช่วงชีวิตของนักรัก นักฝัน นักใช้ชีวิต
ใจดวงนี้เอง ที่เป็นแรงขับเคลื่อน
นักกวี นักร่ายบทเพลง บทละคร ฯลฯ
ที่ใช้ใจในการแต่งบทประพันธ์
มักต้องมีประสบการณ์ และใช้หัวใจในการทำงาน
เพื่อให้ตรงใจ ลึกซึ้งกินใจผู้รับสาร
จึงจะทำให้เกิดความประทับใจ ติดใจในผลงาน
ถึงจะขายได้ราคางาม
คนฟังเพลงส่วนใหญ่ ไม่ได้ฟังที่เพลงจริง ๆ
แต่เสพติดอารมณ์
เสพติดความรู้สึก ขณะฟังเพลงกันมากกว่า
ความเจ็บปวด ความสุขจากความรัก
จะทำอันตราย และเป็นประโยชน์กับหัวใจมากที่สุด
ทำให้งานที่ผลิตออกมาทัชที่สุด
เพราะมันต่อตรงกับใจกลางของความรู้สึก
มีทุกข์ จึงมีสุข
มีสุข จึงมีทุกข์
วนกันไปมา
อาการอกหัก รักคุด ไม่เพียงแต่ในเชิงชู้สาว
มักเจ็บจี๊ด ฝังรากลึกลงไป จนบางครั้ง
ไม่อาจกระทำสิ่งอื่นใดได้เลย
ต้องยอมจำนน ต่อความเหนื่อยล้า อ่อนใจ กันถ้วนทั่ว
เป็นเรื่องที่ท้าท้ายที่สุดแล้ว ในบรรดาเรื่องทั้งปวงที่ถูกจัดอันดับความยากในการรับมือ
นักรักทั้งหลาย จึงมีโอกาสได้รู้ซึ้งถึงความทุกข์ใจ
จะว่าคือ ความโชคดี ก็คงไม่ใช่
เพราะคงไม่มีใครอยากลิ้มรสของความทุกข์ระทมกันหรอก
แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า มันคือ โอกาสในการเรียนรู้ชีวิต
เหตุใด มนุษย์ถึงลืมความทรงจำในอดีตชาติ
เมื่อลองประมวลดูแล้ว อาจจะเป็นเพราะ แค่ความเจ็บช้ำจากความรัก หัวใจยังรับกันแทบไม่ไหว หากต้องจดจำทุกเรื่องราวเอาไว้ จะเป็นเช่นไรหนอ
กลไลทางธรรมชาติ จึงต้องทำการลบข้อมูล ปกป้องตัวเอง ไม่ให้ต้องทรมานกันเกินไป
แม้ในปัจจุบันชาตินี้ ก็มีให้เห็นอาการหลงลืมของคนกันอยู่แล้ว
อีกทั้งยังเป็นกลลวงจากการดิ้นรนปรุงแต่งหนีความจริง ในข้อที่ว่า ชีวิตมีแต่ทุกข์ล้วน ๆ
ไม่ต้องการให้จิตใจ เข็ดหลาบ
ไม่ต้องการยอมรับความจริง
ไม่รู้ว่ามันยังมีหนทางออกจากทุกข์
ไม่จำเป็นต้องดิ้นรนปรุงแต่งหนีทุกข์ไปไหนเลย
Photo by Annie Spratt on Unsplash
เจ็บแล้วจำ คือ คน
เจ็บแล้วทน คือ ...
แต่ถ้าเจ็บแล้วลืม นั้น ยิ่งกว่า ... เสียอีก
2
จึงยังคงหลงอยู่ในมายา
ความปรุงแต่งล้วน ๆ ไม่มีอะไรเลย
ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า
ยินดีพอใจอยู่กับการสร้างภพ สร้างชาติ
ถูกผัสสะบังหน้า
ยึดถือของลอยลม เป็นตุเป็นตะ
ยึดตั้งแต่อณูที่เล็กที่สุด ขยายออกไปเต็มจักรวาล
(ไม่) แปลกแต่จริง คนมักจะเสพติดกับอาการทุกข์ที่เกิดขึ้น เพราะไม่ว่าอารมณ์ใด ๆ ก็ตาม ล้วนมีรสอร่อย ทำให้ผู้คนหลงเพลิดเพลิน ติดอกติดใจ ถอนตัวกันไม่ขึ้น เมื่อเผลอตกหลุมพลาง
หากลงมือปฏิบัติ
เพิ่มสติลงไป
มันจะเกิดการ "พลิก" กันนิดเดียวเท่านั้นเอง
เหมือนการหงายของที่คว่ำ
พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ
สุขและทุกข์ ที่ประกอบด้วยสติ ปัญญา สัมมาทิฏฐิ
จะสามารถพ้นขึ้นไปอีกชั้นนึง
เมื่ออยู่เหนืออิทธิพลของแรงสั่นสะเทือนสุข ๆ ทุกข์ ๆ ที่อาจเกิดการสลับขั้วกันไปมา ให้ต้องเหนื่อยล้าไปตามจังหวะ จะพบ กับความผาสุขอีกชนิดหนึ่ง
.
คือ ความสุข สงบ เย็น ชนิดที่ไม่ต้องอาศัยสิ่งใด
ไม่เจือด้วยความไอความร้อน
ไม่แกว่งไหวไปตามลู่ลม
นิ่งไม่ไหวติง ท่ามกลางพายุ
เป็นพลังงานบริสุทธิ์ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ
เหมาะสมคู่ควรกับทุกคนด้วยประการทั้งปวง
1
สุขโสมนัส อาศัยรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเกิดขึ้น
นี้เป็นคุณแห่งขันธ์ทั้งห้า
ขั้นทั้งห้าไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
นี้เป็นโทษแห่งขันธ์ทั้งห้า
1
ฉันทราคะ คือ เหตุเกิดของอุปทานขันธ์ ๕
เครื่องสลัดออก คือ การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ
ครูบาอาจารย์ท่านเล่าว่า เราลืมความทุกข์กันตลอด ๆ
จึงยังคงหลงจม หลงทนอยู่กับ สุข ๆ ทุกข์ ๆ ปลอม ๆ
จริงอยู่ว่าทุกสิ่งล้วนผ่านไป
แต่การปล่อยให้ทุกอย่างผ่านไปเฉย ๆ โดยไม่เกิดการเรียนรู้อะไรเลย ลืมความทุกข์กันตลอด ไม่เคยจำกับบทเรียนซ้ำ ๆ (ได้ไง ...)
มันต้องแก้ที่เหตุเกิดทุกข์
ชีวิตเลือกได้เสมอ
แต่ไม่เลือกกันเอง
ทุกข์เกิดได้ ทุกข์ก็ดับได้
ทุกข์เกิดเพราะมีเหตุ
ทุกข์ดับ เพราะเหตุดับ
เหตุ คือ ความยึดมั่นถือมั่นในระดับต่าง ๆ
ค่อย ๆ แกะออกไปเรื่อย ๆ วางลงไปตามลำดับ
ทุกข์ทั้งหลายยังมีทางออกเสมอ
ทุกข์ทั้งหลายดับสนิทลงได้จริง ๆ
ในชั้นโลกียะ คือ เพราะกิเลสชักจูง หลอกล่อให้ไม่ยอมเลือกเดินออกจากหลุมถ่านเพลิง เอาความสุข (อามิสสุข) สนุกสนานปลอม ๆ มาล่อ ตกเป็นทาสอยู่ร่ำไป
ในชั้นลึก คือ เพราะความไม่รู้ จึงหลงสร้างความปรุงแต่งทับซ้อนกันขึ้นมา เพื่อหนีทุกข์
มันควรจะถึงเวลายอมรับความจริง
ลืมตาอ้าปาก
ตั้งมั่น เด็ดเดี่ยว
สลัดเครื่องปรุงแต่งออก
ประกอบพร้อมด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา
พิจารณาให้เห็นไตรลักษณ์
พบกับแสงสว่างในจิตใจ
... กันได้เสียที ...

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา