5 มิ.ย. 2021 เวลา 14:05
"An-225 Mriya เครื่องบินมหัศจรรย์"
1
เจ้ายักษ์มหัศจรรย์ผลผลิตจากอดีตสหภาพโซเวียต
มันคือนวัตกรรมที่เหลือเชื่อชิ้นหนึ่งที่มนุษย์เคยสร้างขึ้นมา
Photo : Dubai. Airport
ถ้าจะจัดลำดับเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะมองมันที่มิติไหน...
*นับเครื่องบินที่ปฏิบัติการบินแบบ Routine แล้วยกเว้นเครื่องบินแบบ Stratolaunch ที่อยู่ระหว่างการพัฒนา*
ถ้าจะมองที่ความจุผู้โดยสารแน่นอนครับตำแหน่งนี้คงยกให้แอร์บัส A380 เจ้าวาฬยักษ์ หากจะมองที่ลำตัวขนาดใหญ่หรือ Fuselage ก็คงต้องมอบให้เจ้าโลมายักษ์ Airbus Beluga XL จากค่ายแอร์บัสเช่นกัน
Beluga / Photo : Airbus
แต่ถ้ามองที่น้ำหนักตัวหรือน้ำหนักที่มันสามารถบรรทุกสินค้าตำแหน่งนี้คงต้องยกให้เครื่องบินมหัศจรรย์อย่าง
An-225 ที่น้ำหนักตัวกับปาไปถึง 285 ตัน รวมถึงน้ำหนักบรรทุก(payload)ที่ทำได้อย่างสุดมหัศจรรย์ที่ 250 ตัน!!
รวมทั้งนั้นยังเป็นเครื่องบินที่ยาวที่สุดในโลก ด้วยความยาว 84 ม. ยาวกว่า 777-9 เกือบ 8 เมตรเลยทีเดียว
An-225 หรือชื่อเรียก Mriya (แปลว่าความฝัน)
คงไม่ผิดนักที่จะเรียกมันว่าเครื่องบินมหัศจรรย์ในฝัน
ถ้าคิดว่ายังมหัศจรรย์ไม่พอ ลองอ่านเรื่องราวของเจ้ายักษ์ตัวอ้วนเครื่องบินมหัศจรรย์ลำนี้กันดูนะครับ
1.เครื่องบินขนาดใหญ่ที่ต้องการกำลังมหาศาล
จำนวนเครื่องยนต์ถึง 6 เครื่องยนต์! ที่ช่วยกันสร้างแรงขับพาเจ้ายักษ์อ้วนทะยานสู่ฟ้าเป็นภาพที่แปลกตาให้กับผู้ที่พบเห็น
Photo : Dubai Airport
2.เจ้ากิ้งกือยักษ์เพราะจำนวนล้อที่มากอย่างไม่น่าเชื่อ
2
ด้วยน้ำหนักที่มากขนาดนั้นจำนวนล้อก็ต้องมากขึ้นตามไปด้วยเพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกครับที่เราจะเห็นล้อจำนวนมหาศาลนั่นคือ 32 ล้อสำหรับ An-225 Mriya
1
3.หน้าที่ที่คนอื่นทำแทนไม่ได้
ด้วยขนาดลำตัวใหญ่มหึมาสินค้าบางอย่างที่ขนโดยเครื่องบินลำอื่นไม่ได้ แต่สบายมากสำหรับเจ้า An-225 วิศวกรได้ออกแบบมาให้หัวเครื่องบินสามารถเปิดออกได้
และสิ่งที่น่าทึ่งคือล้อหัวของเครื่องบิน(Nose Gear)
มันสามารถ kneel ที่ภาษาอังกฤษที่แปลว่า"คุกเข่า"
นั่นหมายถึงส่วนหน้าของเครื่องบินด้านล้อหัว สามารถพับได้ทำให้การขนส่งสินค้าทำได้อย่างสะดวก คราวนี้ลำตัวเครื่องบินแทบจะเป็นระนาบเดียวกับพื้นสนามบิน ทำให้การขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ที่ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้
เช่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า,รถไฟหรือแม้กระทั่งเรือลำใหญ่ทำได้อย่างง่ายดาย
4.เกิดมาเพื่อภารกิจพิเศษ
ถ้าย้อนดูประวัติการถือกำเนิดของเจ้า An-225 ในปี 1980
มันเกิดมาโดยพัฒนาต่อยอดจากเครื่องบิน An-124 เพื่อภารกิจขนส่งกระสวยอวกาศสหภาพโซเวียตเดิม เจ้ากระสวยอวกาศที่มีชื่อว่า Buran โดย An-225 จะขนส่งกระสวยอวกาศโดยยึดกระสวยอวกาศไว้บนลำตัวส่วนบน ขนส่งกระสวยอวกาศไปยังพื้นที่ปล่อย ซึ่งมีจรวดขับดันรออยู่
ณ ฐานปล่อยที่อยู่ไกลออกไป เราเคยเห็นนาซ่าก็ใช้เครื่องบิน Boeing 747 ทำหน้าที่เช่นนี้เหมือนกันครับโดยบรรทุกกระสวยอวกาศไว้บนหลังของ Boeing 747-100,100SR นำไปยังฐานปล่อยจรวดเช่นกัน
An-225 ขณะขนส่ง Buran / Photo: Vasiliy Koba via Wikimedia
Boring 747 ขณะขนกระสวยอวกาศของนาซ่า Photo: Carla Thomas, NASA/DFRC via Wikimedia
5.ยักษ์ใหญ่เดียวดาย
เหลือเชื่อนะครับว่าเจ้า An-225 ถูกผลิตมาเพียงลำเดียว
พี่น้องของมันอีก 2 ลำที่อยู่ในโครงการผลิตจนถึงวันนี้ก็ยังอยู่ในโรงงานและไม่มีทีท่าว่าจะเสร็จ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าต้องใช้เงินมหาศาลในการทำผลิตเครื่องบินลำที่เหลือให้เสร็จ เป็นไปได้สูงว่าเราคงมีโอกาสได้เห็น An-225 เพียงลำเดียวคือรหัสเลขทะเบียน CCCP-82060, ซึ่งภายหลังเปลี่ยนเป็น UR-82060 โดยปัจจุบัน An-225 มีอายุการใช้งาน 32 ปีแล้ว โดยสายการบินเจ้าของมันคือสายการบิน Antonov Airlines ได้ทำการปรับปรุงครั้งใหญ่ใช้ระยะเวลา 18 เดือนเมื่อปีที่แล้ว เพื่อให้มั่นใจว่าเจ้ายักษ์ใหญ่สามารถใช้งานได้จริงอีกต่อไป โดยคาดว่าจะมีอายุถึง 45 ปีหรือใช้งานไปได้อย่างน้อยถึงปี 2033 เลยทีเดียว
ในวันที่โลกต้องการการขนส่งสินค้าเพิ่มมากขึ้น
เจ้า An-225 Mriya ก็กลายเป็นพระเอกฉายเดี่ยวและเชื่อว่าคงไม่มีใครแย่งซีนความยิ่งใหญ่ของมันไปได้อีกนาน
ถึงแม้ BBC จะเคยปริมาณว่าค่าใช้จ่ายต่อชั่วโมงมันแพงสูงลิ่วไปถึง $30,000/ชม ก็ตาม
3
ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ใช่คนเก่งที่สุด
แต่ถ้าคุณเป็นคนที่เหมาะสมที่สุด
ในเวลาที่คนอื่นต้องการมากที่สุด
1
คุณก็จะเป็นผู้ชนะเหมือนเจ้า An-225 Mriya
กัปตันหมี
Cr : Justin Hayward via SimpleFlying.com
โฆษณา