6 มิ.ย. 2021 เวลา 03:00 • ท่องเที่ยว
Move On ตะลอนมูฟ: Train to เมืองกาญจน์ ตอนที่ 2
"สโลว์ไลฟ์กับชีวิตไปกับการเดินทางด้วยรถไฟเส้นทางสายประวัติศาสตร์จากสถานีธนบุรีถึงเมืองกาญจน์"
ใครเพิ่งเปิดมาเจอ แนะนำให้ย้อนไปอ่านตอนแรกก่อนนะครับ ตามลิงก์ด้านล่างนี้
สะพานข้ามแม่น้ำแคว สะพานแห่งสันติภาพ
หนึ่งในไฮไลท์ของการนั่งรถไฟคือ “สะพานข้ามแม่น้ำแคว” ช่วงเวลาที่รถไฟเคลื่อนผ่านสะพานข้ามแม่น้ำแคว สะพานประวัติศาสตร์ของเส้นทางรถไฟสายมรณะ
สะพานข้ามแม่น้ำแคว สร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสะพานโครงเหล็กครึ่งวงกลม มีโครงสร้างแบบถักทอภายในครึ่งวงกลม ตัวเหล็กทำจากเหล็กมลายูแบบชิ้นนำมาประกอบภายหลัง เสาตอม่อเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยแรงงานเชลยศึกของทหารฝ่ายสัมพันธมิตร จำนวนประมาณ 61,700 คน และกรรมกรชาวไทย, พม่า, ญวน, ชวา, มลายู, อินเดีย ใช้เวลาก่อสร้างเพียง 1 เดือน เปิดเป็นทางการเมื่อ 25 ธันวาคม พ.ศ.2486 ก่อนจะมาถูกทิ้งระเบิดโดยเครื่องบินของสัมพันธมิตรในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2487
ต่อมาภายหลังสะพานข้ามแม่น้ำแคว ถูกยกย่องให้เป็น “สะพานแห่งสันติภาพ” และเป็นหนึ่งอีเวนท์ท่องเที่ยวของปี “งานแสงสีเสียงสะพานข้ามแม่น้ำแคว“
เส้นทางรถไฟสายมรณะ เลือด น้ำตา และแรงสามัคคี
ถัดจากสถานีสะพานข้ามแม่น้ำแควแล้ว ขบวนรถไฟก็เดินทางต่อไปยังอีกหนึ่งเส้นทางประวัติศาสตร์ที่สวยงาม หวาดเสียว และเต็มไปด้วยทั้งเลือดและน้ำตาของบรรดาทหารเชลยศึกสัมพันธมิตร “เส้นทางรถไฟสายมรณะ” เพราะมีคำกล่าวที่ว่า “หากนับหมอนหนุนรางรถไฟมีเท่าไหร่ จำนวนผู้คน-เชลยศึกที่ถูกเกณฑ์มาสร้าง ทางรถไฟ สายนี้ก็ตายไปเท่านั้น” เพราะเบื้องหลังการก่อสร้างครั้งนี้คือ เลือด น้ำตา และความสามัคคีของเชลยศึกที่ร่วมกันสร้างทางรถไฟสายนี้ได้สำเร็จ จึงเป็นที่มาของคำว่า “ทางรถไฟสายมรณะ (The Death Railway)”
ส่วนที่สวยที่สุดของเส้นทางรถไฟสายมรณะอยู่ในช่วงสถานีถ้ำกระแซ ที่รถไฟจะวิ่งช้าลงเพื่อให้ผู้โดยสารได้ชมความงดงามของเส้นทางสายนี้
“ถ้ำกระแซ” เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่สอง เคยถูกใช้เป็นที่พักของบรรดาเชลยศึกแรงงานสร้างทางรถไฟ เป็นสะพานไม้ก่อสร้างเลียบหน้าผาความยาวประมาณ 450 เมตร บริเวณนี้เป็นส่วนที่ยากที่สุดในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ เพราะลักษณะของภูมิประเทศก่อสร้างได้ยาก มีทั้งหน้าผาสูงชัน และแม่น้ำอันคดเคี้ยวเชี่ยวกราก กองทัพญี่ปุ่นต้องการสร้างเส้นทางรถไฟนี้เพื่อลำเลียงยุทโธปกรณ์ไปยังประเทศพม่า
หลวงพ่อถ้ำกระแซ ไหว้พระสักการะของพรหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์แห่งถ้ำเชลยสงคราม
บริเวณถ้ำกระแซจะมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่สามารถมองเข้าไปในถ้ำจากบนรถไฟได้อีกด้วย แต่ถ้าลงสถานีนี้ก็อย่าลืมมาไหว้สักการะนะครับ
เส้นทางรถไฟในช่วงสถานีถ้ำกระแซจัดเป็นอีกหนึ่งจุดเช็คอินของนักท่องเที่ยว ที่ไม่ต้องการเที่ยวน้ำตก ก็ให้ลงที่สถานีนี้ได้เลย เดินเที่ยวชมความงามและถ่ายภาพในหลาย ๆ จุด รับประกันความงดงาม
ประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิต “นั่งรถไฟไทย” สถานีปลายทาง
หลายคนเลือกจะนั่งรถไฟต่อไปยังสถานีน้ำตก แต่หลายคนก็เลือกจะลงสถานีนี้เพื่อชมสัมผัสเส้นทางรถไฟสายมรณะด้วยการเดินเท้าไปจนสุดแนวหุบเหว หรือหาโอกาสมาที่นี่อีกสักครั้งด้วยการขับรถมา ก็จะได้สัมผัสบรรยากาศแบบครบถ้วนครับ
การเดินทางด้วยรถไฟถือเป็นประสบการณ์ที่ต้องมาสัมผัสด้วยตนเองเท่านั้นถึงจะพบกับความคลาสิกแบบ “รถไฟไทย”
หลังจากกลับตีรถไฟเที่ยวกลับจากสถานีน้ำตกกลับถึงสถานีธนบุรีก็เป็นเวลาหกโมงเย็น แม้จะใช้เวลาเกือบหนึ่งวันหมดไปกับรถไฟไทย แต่เชื่อเถอะว่าคุณจะได้รับประสบการณ์อันมีค่าเหมือนที่ผมได้บอกเล่าไปหมดแล้วใน “Train to เมืองกาญจน์”
ชีวิตก็เหมือนกับการเดินทางด้วยรถไฟ อาจมีเร็วบ้าง ล่าช้าบ้าง ไม่เป็นดังใจต้องการ บางครั้งเราก็ต้องใจเย็นเพื่อรอคอยโอกาส หรือใครบางคน แต่ละสถานีจะมีผู้คน และบรรยากาศที่แตกต่าง แต่ละช่วงชีวิตของเราก็แตกต่างไปเช่นเดียวกัน เพราะเราทุกคนเดินทางไปตาม “เส้นทางสายชีวิต”
" MovieTalk มูฟวี่ชวนคุย "
มีเว็ปไซต์อย่างเป็นทางการของเพจ Move On ตะลอนมูฟ และ MovieTalk มูฟวี่ชวนคุยครับ
ไม่อยากรอ แวะไปเยี่ยมชมเว็ปไซต์ได้ตามลิงก์ด้านล่างนะครับ
MovieTalk มูฟวี่ชวนคุย
Photo & Cinematic Blog Stie for People
Move On ตะลอนมูฟ
ขอบคุณที่มาข้อมูล: Wikipedia, ศิลปวัฒนธรรม, Kanchanaburi Center, thailandtourismdirectory.go.th, thai.tourismthailand.org
Photo by Movie
โฆษณา