13 มิ.ย. 2021 เวลา 05:33 • ประวัติศาสตร์
《ทำไมต้องไหว้บ๊ะจ่าง(端午节)》
ความเป็นมาพอสังเขป(历史渊源简介)
.
“เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง” หรือ “ตวนอู่เจี๋ย(端午节)” มีต้นกำเนิดมาจากการบูชาปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์และตามธรรมชาติ ซึ่งเทศกาลนี้ยังมีวิวัฒนาการมาจากการเซ่นไหว้มังกรโบราณอีกด้วย
.
กล่าวกันว่าในเดือนจ้งเซี่ย(仲夏)หรือเดือนห้าตามปฏิทินจีน กลุ่มดาวมังกรสวรรค์ทั้ง 7 (苍龙七宿)ได้ทะยานสู่ท้องฟ้าซึ่งอยู่ตรงกลางของทิศใต้พอดี ดังมีปรากฏในตำราอี้จิง หมวดท้องฟ้า(《易经·乾卦》)ซึ่งเป็นหมวดของแผนภูมิแปดทิศ(八卦)ได้กล่าวว่า: “มังกรทะยานสู่ฟ้า【飞龙在天】”
.
ต้นกำเนิดของเทศกาลนี้ครอบคลุมทั้งด้านของวัฒนธรรม โหราศาสตร์ และปรัชญาอันลึกซึ้งของชาวจีนโบราณ ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ยังคงสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้และยังเป็น 1 ใน 7 เทศกาลโบราณ(七大传统节日)ของจีนอีกด้วย
มังกรสววรค์(苍龙七宿)
ทำไมต้องเรียกเทศกาลนี้ว่า “ตวนอู่” (端午节名称)
.
คำว่า “ตวน(端)” มีความหมายว่าพอดี ส่วนคำว่า “อู่(午)” มีความหมายว่าตรงกลางหรือตามรหัสเลขสวรรค์และเลขบนโลก(天干地支)จะแปลว่าเลขห้า ดังนั้นตวนอู่จึงหมายถึงเทศกาลในเดือนห้า(五月节、端午节)นั่นเอง
ชวีหยวนผู้ให้กำเนิดบ๊ะจ่าง?(屈原与粽子故事)
.
เท้าความกลับเมื่อประมาณ 2000 ปีก่อนในสมัยจ้านกั๋ว(战国)หรือที่คนไทยคุ้นหูกันในชื่อ “เลียดก๊ก(东周列国)” มีขุนนางผู้จงภักดีต่อแคว้นฉู่(楚国)คนหนึ่งนามว่า “ชวีหยวน(诗人·屈原)” เขาเป็นนักกวีและเป็นผู้มีความสามารถประจำแคว้น เขายังเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการปฏิรูปการปกครองทั้งแคว้นตัวเองและแคว้นอื่นๆ เพื่อร่วมมือกันต่อต้านแคว้นฉิน(秦国)ที่เรืองอำนาจในสมัยนั้น ทว่าแนวคิดของเขากลับถูกขัดขวางและคัดค้านโดยพวกขุนนางกังฉิน วันหนึ่งพวกขุนนางเหล่านี้ได้ยุยงฉู่อ๋องว่าชวีหยวนนู่นนี่นั่น ฉู่อ๋องก็เชื่ออย่างสนิทใจและได้ปลดชวีหยวนออกจากราชสำนัก ซ้ำยังไล่ออกจากเมืองหลวงอีกด้วย ต่อมาเมื่อเขาได้ข่าวคราวว่าแคว้นฉู่ได้พ่ายศึกแก่แคว้นฉิน ด้วยความรักชาติและโทษตัวเองที่ไม่สามารถรักษาเอาไว้ซึ่งบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง ท้ายที่สุดเขาจึงปลิดชีพโดยการกระโดดแม่น้ำหลัวเจียง(罗江)ฆ่าตัวตาย ซึ่งตรงกับวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ตามปฏิทินจีน(农历五月初五)
.
หลังการชวีหยวนตายได้ไม่นาน พอชาวบ้านทราบข่าวก็ต่างพากันพายเรือมาเพื่องมหาศพของเขา แต่หาเท่าไหร่ก็หาไม่เจอ จนมีอยู่คืนหนึ่งวิญญาณของชวีหยวนได้เข้าฝันของชาวบ้านพร้อมว่าตนเองหิวมาก พอเช้าวันรุ่งขึ้นชาวก็พากันพายเรือไปยังแม่น้ำเพื่อนำข้าวไปโยนให้ชวีหยวน แต่กลับถูกปลากินจนหมด เมื่อเป็นดังนี้ชาวบ้านเปลี่ยนมาเป็นวิธีหนึ่งคือ การนำใบไผ่มาหอข้าวเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมหรือลูกบ๊ะจ่าง(粽子)ในปัจจุบันเพื่อป้องกันปลากิน จนกลายมาเป็นประเพณีไหว้บ๊ะจ่างและประเพณีการแข่งเรือมังกร(赛龙舟)ในทุกวันที่ 5 เดือน 5 (农历五月初五)ของทุกปีในกาลต่อมา
ชวีหยวน(屈原)
ไหว้บ๊ะจ่างมีมาก่อนชวีหยวนตาย?(先有端午还是先有屈原?)
.
ตามบันทึกและเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์จีนได้ระบุไว้ว่าจริงๆ แล้วการไหว้หรือการทานบ๊ะจ่างนั้นมีมาตั้งแต่สมัยชุนชิว(春秋)ซึ่งเป็นช่วงไฟสงครามก่อนเข้าสู่สมัยจ้านกั๋ว(战国)หากแต่ในสมัยนั้นเป็นเพียงแค่วัฒนธรรมอาหารเท่านั้นเอง แต่ภายหลังชวีหยวนกระโดดแม่น้ำจึงมีโยงเรื่องต้นกำเนิดบ๊ะจ่างกับการฆ่าตัวตายของเขาเข้าด้วยกัน จนกลายมาเป็นเทศกาลอันโด่งดังในปัจจุบัน
ประเพณีนิยมในเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง(端午节习俗)
.
1. การทานบ๊ะจ่าง(吃粽子)
2. การแข่งเรือมังกร(赛龙舟)
3. ระลึกถึงยอดกวีชวีหยวน(纪念屈原)
อ้างอิงข้อมูล: https://baike.baidu.com/item/%E7%AB%AF%E5%8D%88%E8%8A%82/1054
โฆษณา