14 ส.ค. 2021 เวลา 03:00 • ประวัติศาสตร์
《โลกหนึ่งวัน สวรรค์หนึ่งปี แต่รักนี้แด่เธอ|情人·七夕节》
“เทศกาลความรัก” หรือ “ชีซี(七夕节)” เป็นหนึ่งในเทศกาลดั้งเดิมของจีน โดยต้นกำเนิดในยุคเริ่มแรกมาจากการบูชาดวงดาวนางฟ้าทั้งเจ็ดดวง(七姐 qījiě)ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 7 เดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติจีน(农历七月初七)
.
แต่เมื่อประวัติศาสตร์มีการพัฒนามากขึ้น จึงทำให้เทศกาลชีซีถูกประดับตกแต่งด้วยตำนานความรักที่งดงามอย่าง “หนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอผ้า(牛郎织女 niúláng zhīnǚ)” จนกลายมาเป็นมาสคอตของเทศกาลนี้ไปโดยปริยาย ซึ่งในปัจจุบันถือเทศกาลนี้เป็น “วันวาเลนไทน์จีน(中国情人节)” และเทศกาลในปี 64 นี้ก็ตรงกับวันที่ 14 ก.ค. อีกด้วย
2
ปล. มีเนื้อหาสำหรับเตรียมสอบ PAT7.4
ทำไมต้องเรียกเทศกาลนี้ว่า “ชีซี” |七夕节名称由来
“ชีซี(七夕)” มีต้นกำเนิดมาจากการบูชาดวงดาวของคนจีนโบราณ โดยมีการกำหนดเวลาให้วันที่ 1 เดือน 1(一月初一), 2 เดือน 2(二月初二), 3 เดือน 3(三月初三)ไปจนถึงวันที่ 9 เดือน 9(九月初九)เป็นช่วงเวลาที่โลกและสวรรค์มาบรรจบกันพอดี(重日·天地交感)
.
ส่วนคำว่า “ชีซี” เกิดจากสองคำรวมกันคือ “ชี(七)” หมายถึงเลขเจ็ดและ “ซี(夕 xī)” ที่หมายถึงพรบค่ำ ดังนั้นความหมายของเทศกาลนี้ก็คือ พรบค่ำของวันที่เจ็ด นอกจากนี้ยังสามารถเรียกอีกอย่างได้ว่า “ชีฉง(七重 qīchóng)” ที่หมายถึงเลขเจ็ดซ้ำกันสองตัว
ตำนานหนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอผ้า |牛郎织女故事
ตำนานหนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอผ้า |牛郎织女故事
ตามตำนานเล่าว่า: ครั้งหนึ่งนางฟ้าเจ็ดองค์เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายสวรรค์จึงพากันลงมาเล่นน้ำในลำธารบนโลกมนุษย์ ระหว่างที่พวกนางกำลังเล่นน้ำอย่างสบายใจก็มีหนุ่มเลี้ยงวัวคนหนึ่งนามว่า “หนิวหลาง(牛郎 niú láng;หนุมเลี้ยงวัว)” มาพบเห็นพอดี ซึ่งวัวที่เขาพามาด้วยได้เสนอแผนให้เขาไปขโมยเสื้อผ้าของนางฟ้ามา หลังพวกนางฟ้าเล่นน้ำเสร็จแล้วก็กลับมาแต่งตัว แต่มีคนหนึ่งที่หาเสื้อผ้าตนเองไม่เจอ นางจึงให้น้องสาวคนสุดท้องนามว่า “จือหนวี่(织女 zhī nǚ;สาวทอผ้า)” ไปตามหา จนกระทั่งนางพบว่าเสื้อผ้าของพี่สาวอยู่ที่หนิวหลาง นางจึงทำการเจรจาขอคืน หนิวหลางก็ส่งคืนให้แต่มีข้อแม้อยู่หนึ่งข้อคือ “จือหนวี่ต้องยินยอมแต่งงานกับเขา” ซึ่งนางไม่ได้ปฏิเสธอะไรก็ตกปากรับคำ นางฟ้าผู้เป็นพี่ก็พากันกลับสรวงสวรรค์เว้นแต่ผู้เป็นน้อง
.
จือหนวี่และหนิวหลางก็มีลูกด้วยกัน 2 คนและใช้ชีวิตอย่างมีความสุขแต่นั้นเรื่อยมา แต่เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อข่าวของพวกเขาไปถึงหูของพระแม่หวังหมู่(王母娘娘 wángmǔ niángniang)นางจึงสั่งให้ทหารสวรรค์ลงไปโลกมนุษย์แล้วพาจือหนวี่กลับมา ด้วยความรักที่มีนาง วัวของหนิวหลางจะพาเขาไล่ตามไปจนถึงสวรรค์ เมื่อพระแม่หวังหมู่รู้ว่าเขาตามมาด้วย นางจึงสร้างแม่น้ำสีเงินหรือทางช้างเผือก(银河 yínhé)เพื่อตัดเส้นทางโลกมนุษย์และสวรรค์ออก
.
แต่ด้วยความเมตตาและเข้าใจความรักของสาวทอผ้ากับหนุ่มเลี้ยงวัว เง็กเซียนฮ่องเต้(玉皇上帝 yùhuáng shangdì)ได้อนุญาตให้ทั้งสองคนมาเจอกันได้เพียงละครั้งเท่านั้น โดยมาเจอกันได้ในวันที่ 7 เดือน 7(农历七月初一)นั่นเอง
.
เมื่อถึงวันที่จะได้มาพบกันในทุกปี เหล่านกกางเขน(喜鹊 xǐquè)ก็จะบินมารวมตัวกันบนท้องฟ้าเพื่อเป็นสะพานข้ามทางช้างเผือกให้หนิวหลางและจือหนวี่ได้มาพบกันอีกครั้ง
.
ภายหลังตำนานนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทำให้หนุ่มเลี้ยงวัวและสาวทอผ้ากลายเป็นมาสคอตของเทศกาลชีซี จนเทศกาลนี้กลายเป็นวันวาเลนไทน์จีนในปัจจุบัน
สามเหลี่ยมฤดูร้อน|夏季大三角
สามเหลี่ยมฤดูร้อน|夏季大三角
ในด้านดาราศาสตร์กล่าวว่า ในช่วงฤดูร้อนมีปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์บนท้องฟ้าบริเวณซีกโลกเหนือมีดวงดาวเรียงกันคล้ายรูปสามเหลี่ยม โดยแต่ละดวงเชื่อมต่อกัน ซึ่งประกอบด้วยดาวดวงตานกอินทรีหรือดาวอัลแทร์(牛郎星;Altair), ดาวเดเน็บ(天津四;Deneb)และดาวเวกา(织女星;Vega)ซึ่งทั้งสามดวงสามารถมองเห็นได้ตลอดฤดูร้อนและมีตำแหน่งอยู่ตรงศีรษะพอดีในตอนเที่ยงคืน
.
แต่ในทางดาราศาสตร์จีนได้กำหนดให้ “ดาวดวงตานกอินทรี” หรือ “ดาวอัลแทร์” เป็นตัวแทนของหนิวหลาง, “ดาวเวกา” เป็นตัวแทนของจือหนวี่และ “ดาวเดเน็บ (กลุ่มดาวหงส์)” เป็นตัวแทนของสะพานข้ามทางช้างเผือกที่ทำให้ทั้งสองได้เจอกัน
เทศกาลขอความฉลาด|乞巧节
นอกจาก “ชีซี” ยังมี “เทศกาลขอความฉลาด”|七夕还有乞巧节
เล่ากันว่า: สาวทอผ้าหรือจือหนวี่(织女)เป็นคนที่มีฝีมือการเย็บปักถักร้อยเป็นเลิศ ดังนั้นนอกจากจะเรียกเทศกาลชีซีแล้ว ยังสามารถเรียก “ฉีเฉี่ยวเจี๋ย(乞巧节qǐqiǎojié)” ได้อีกด้วย
.
ที่มาของเทศกาลฉีเฉี่ยว (อ่านให้ถูกนะครับ) มีที่มาจากผู้หญิงในสมัยโบราณต้องการขอความฉลาดจากสาวทอผ้านั่นเอง ซึ่งการจะขอนั้นมีด้วยกัน 2 วิธี;
.
1. เสี่ยงทายขอความฉลาด(卜巧):เพื่อที่อยากรู้ว่าในอนาคตจะเป็นที่มีสติปัญญาหรือไม่ ชาวจีนจะเอาแมงมุมตัวเล็กไปใส่ไว้ในกล่อง แล้วดูว่าวันรุ่งขึ้นจะชักใยหรือเปล่า หากใยมีความห่างและไม่กลม หมายความว่าคนนั้น “ไม่มีสติปัญญา” หากใยมีความถี่และกลม หมายความว่าคนนั้นมีปัญญาที่เฉียบแหลม
.
2. เสี่ยงทายโดยเอาของลอยน้ำ(漂浮物卜巧):ในช่วงเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติจีน ชาวจีนจะเอาถั่วลันเตาหรือถั่วเขียวมาใส่ภาชนะ เติมน้ำและปิดฝาไม่ให้มีแสงแดด หลังจากนั้นก็แช่ไว้แล้วค่อยเปลี่ยนน้ำ 2-3 วัน
.
เมื่อวันที่ 7 เดือน 7 ถั่วก็จะงอกออกมาประมาณ 1 ฟุต แล้วนำแถบกระดาษสีแดงผูกไว้ตอนกลางต้นถั่ว หลังจากนั้นก็นำมากราบไหว้เพื่อขอพรจากหนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอผ้า หลังจากนั้นเด็ดส่วนปลายของต้นถั่วออกครึ่งหนึ่งแล้วนำไปลอยในน้ำก่อนรุ่งเช้า ในวันรุ่งขึ้น หากเห็นว่าต้นถั่วมีรูปร่างเรียวแหลมเหมือนเข็มก็หมายความว่าคนนั้นได้รับพรแล้ว
ไหว้นางฟ้าจือหนวี่|拜织女
1. ไหว้นางฟ้าจือหนวี่|拜织女
.
ในค่ำคืนอันสุดโรแมนติกนี้ ชาวจีนจะชวนเพื่อนหรือไม่ก็เพื่อนบ้านมาจัดโต๊ะตั้งไหว้ใต้แสงจันทร์ โดยอธิษฐานขอพรเรื่องความรัก ชีวิตคู่ที่ลงตัวและการเย็บปักถักร้อยที่ประณีตจากนางฟ้าจือหนวี่
1
แช่ถั่วขอลูก|种生求子
2. แช่ถั่วขอลูก|种生求子
.
ในเทศกาลนี้ยังมีประเพณีแช่ถั่วเพื่อขอลูกอีกด้วย โดยนำถั่วเขียว ข้าวสาลีและเมล็ดพันธุ์อื่นๆ มาแช่ไว้ในชามหรือภาชนะอะไรก็ได้เพื่อให้แรกงอกออกมา ซึ่งจะทำก่อนถึงเทศกาลชีซี หลังถึงเทศกาลชาวจีนก็จะนำธัญพืชที่แช่ไว้มามัดรวมกัน หลังจากนั้นนำมาไว้และรับประทานเพื่อขอลูกเยอะๆ และมีความสุข
สนด้ายขอสติปัญญา|穿针乞巧
3. สนด้ายขอสติปัญญา|穿针乞巧
.
ตามตำนานกล่าวว่า จือหนวี่เป็นสาวทอผ้าที่มีฝีมือเป็นเลิศ ดังนั้นสาวๆ ที่แต่งงานแล้วและยังไม่แต่งต่างก็มาขอทดสอบฝีมือการแทงเข็มกัน
.
การจะขอความเฉลียวฉลาดมีหลากหลายวิธี ซึ่งที่นิยมที่สุดในสมัยโบราณก็คือ “การลอยเข็มบนผิวน้ำ(漂针乞巧)” ถ้าหากเข็มของใครที่สามารถลอยอยู่บนผิวน้ำได้ ถือว่าคนนั้นมีฝีมือการเย็บปักที่ประณีต
.
นอกจากนี้ ยังมีวิธีแปลกๆ อีกมากมายในการร้อยด้ายเพื่อพิสูจน์ตนเองว่าก็มีความประณีตและฉลาดพอๆ กับหญิงสาวทั่วไปเช่นกัน
ไหว้เทพแห่งดาวไถ|拜魁星
4. ไหว้เทพแห่งดาวไถ|拜魁星
.
การไหว้เทพแห่งดาวไถนั้นไม่มีความเกี่ยวข้องกับเทศกาลชีซีที่มาจากตำนานหนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอผ้า แต่เป็นตำนานพื้นบ้านที่เล่าว่า: ในวันที่ 7 เดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติจีนเป็นวันเทวาสมภพของเทพแห่งดาวไถ ซึ่งถือได้ว่าเทพองค์นี้เป็นเทพยอดฮิตเหล่าผู้ที่จะสอบจองหงวน(状元 zhuàngyuán)เลยก็ว่าได้ โดยผู้คนเหล่าจะไหว้เพื่อขอให้ตนเองได้รับตำแหน่งขุนนางนั่นเอง
ทานขนมเฉียวกั่ว|吃七巧果
5. ทานขนมเฉียวกั่ว|吃七巧果
.
ขนมหวานเฉียวกั่ว(巧果)มีความหมายว่าขนมแห่งความฉลาด ซึ่งเป็นขนมพื้นบ้านของจีนที่มีเอกลักกษณ์คือทำจากงาเป็นหลักและต้องประณีตเป็นอย่างมาก เป็นขนมหวานที่นิยมทานในเทศกาลชีซี โดยหญิงที่เพิ่งแต่งงานใหม่ๆ เมื่อกลับมาเยี่ยมครอบครัวในวันนี้ก็จะนำขนมชนิดนี้มาฝากพ่อแม่และสามี เพื่อให้คนที่ได้ทานเกิดความเฉลียวฉลาดและปราดเปรียวอีกด้วย
โฆษณา