7 มิ.ย. 2021 เวลา 13:40 • ความคิดเห็น
**ทำไมร้านอาหารที่หลังชนกำแพง ก็ยังไม่หวังความช่วยเหลือจากรัฐบาล**
“ไม่รู้จะทำไปทำไม ทำไปก็เท่านั้น เรายอมเสียสละมา 1 ปีแล้ว ไม่ได้แค่กลับมาจุดเดิม แต่กลับมาแย่กว่าเดิม” เจ้าของร้าน CHU คุยกับดิฉัน หลังประกาศปิดร้านอย่างถาวรเมื่อสิ้นเดือนที่ผ่านมา
1
CHU เป็นสิ่งแรกที่คนที่เดินออกมาจาก SkyWalk และจะเข้าอาคาร Exchange Tower ที่แยกอโศกจะมองเห็น ร้านดำเนินการมามากกว่า 10 ปี และมีชื่อเสียงจากทั้งอาหาร เครื่องดื่ม และบรรยากาศ
2
เจ้าของร้านและผู้ร่วมก่อตั้งร้าน จิรยุว์ ณ ระนอง บอกกับดิฉันว่าเขาจนมุม และหลังชนกำแพงแล้ว ที่เขาตัดสินใจต้องปิดร้าน แม้จะยังค้างสัญญาอีก 13 เดือน เพราะไม่มีเงินเหลือที่จะจ่ายค่าเช่า
4
จิรยุว์เล่าว่า ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์โรคระบาด 14 เดือนแล้ว เขาได้ขอความช่วยเหลือไปยังเจ้าของอาคาร เขาไม่เคยได้คุยกับผู้บริหาร ผู้เช่ามีรวมตัวกันพยายามเจรจา จนได้ส่วนลดมา 3 เดือน เดือนละ 15 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อระลอก 3 เกิดขึ้น เงินเก็บเขาหมดแล้ว ไม่สามารถที่จะจ่ายค่าเช่า และเจ้าของอาคารก็ไม่ได้ช่วยเหลืออะไร
2
เครดิตภาพ: จิรยุวส์ ณ ระนอง
เจ้าของตึกและผู้เช่า
วันสุดท้ายที่จิรยุว์ขนของออกจากร้าน เขาโพสต์วิดีโอคลิปบนสื่อโซเชียล เห็นภาพผู้จัดการอาคารพร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจมาสังเกตการณ์ สร้างความไม่พอใจให้คนมากมายที่เห็นคลิป ที่แม้แต่วันสุดท้ายก็ยังเรียงเรียกตำรวจมา “รักษาความปลอดภัย”
1
แม้จิรยุว์จะรู้สึกว่าผู้ให้เช่าควรมีน้ำใจให้ความช่วยเหลือกันมากกว่านี้ และเขาไม่ชอบเจ้าของอาคารอย่างมาก แต่เขาก็เข้าใจว่าเจ้าของอาคารไม่มีหน้าที่อะไรที่ต้องมาช่วย
2
“แต่ในที่สุดแล้ว แล้วใครช่วยเขา ขนาดผมเกลียดเขาสุดๆ ผมยังกล้าพูดว่าในที่สุด ก็เข้าใจว่าเขาก็มีค่าใช้จ่าย ทำไมต้องมาลดให้ผู้เช่าทุกคน ในเมื่อก็ไม่มีใครมาช่วยเขา”
1
CHU ยังติดสัญญาอยู่อีก 13 เดือน แต่ในเมื่อไม่สามารถจ่ายค่าเช่าที่ได้ ทางอาคารจึงเข้ามาตัดไฟ และนั่นคือจุดที่จิรยุว์ตัดสินใจว่าไปต่อไม่ได้แล้ว “ผมเลยประกาศว่า 30 พฤษภาคม ผมต้องปิดร้าน”
1
จิรยุว์เล่าว่า เจ้าของอาคารอีเมลมาให้ลงนามข้อตกลงว่า จะจ่ายเงินคงค้าง จะยอมทิ้งเงินมัดจำ จะเลิกโพสต์อะไรที่เกี่ยวกับตึก จะลบอะไรทุกอย่างย้อนหลังที่เคยพูดถึง และทาง Exchange Tower เขียนข้อความมาให้โพสต์ 14 วันด้วย ว่า CHU ได้เลิกกับตึกโดยดีและเสียใจมากที่ต้องปิดตัวลง
4
ถ้าจิรยุว์ยอมลงนาม อาคารจะยอมยกเลิกสัญญาให้ และไม่เรียกเก็บค่าเช่าที่ค้างอยู่ 13 เดือน
3
ห้องตรงหัวมุมทางเข้าจาก SkyWalk ตอนนี้โล่งตาไปมาก แต่จิรยุว์ยังขนของออกไปไม่หมด เพราะถ้าจะเอาผู้รับเหมาเข้ามาขนของ อย่างครัว หรือตู้เย็นขนาดใหญ่ออกไป เขาต้องจ่ายมัดจำ 100,000 บาท เพื่อรับประกันความเสียหาย และต้องจ่ายค่าเช่านับวันจนกว่าจะขนของออกหมด ในเมื่อขนของได้เฉพาะช่วงกล่งคืน นั่นหมายความว่าจะต้องใช้เวลาอีกประมาณครึ่งเดือน
6
“ไม่มีความคาดหวังอะไร (จากอาคาร) แล้ว อย่างน้อยๆ ผมก็จะไม่ไปเงียบๆ ตอนนี้ผู้เช่าอื่นๆ ถูกกระทำแบบนี้หมด ผมมีสาขาเดียว ผมไม่มีอะไรจะเสียแล้ว ผมไม่มีทางเซ็นต์ ผมไม่มีทางไปเงียบๆ”
1
ภาพ scrrenshot จากคลิปวิดีโอของจิรยุว์ เห็นผู้จัดการอาคารและเจ้าหน้าที่ตำรวจมาสังเกตการณ์ ในเย็นวันสุดท้ายที่เก็บของ
ไม่มีความช่วยเหลือจากรัฐบาล
“ไม่มีทางครับ เพราะว่าถ้าเขา(รัฐบาล)ไม่ช่วยเราปีที่แล้ว เขาไม่มีทางช่วยเราปีนี้” จิรยุว์อธิบายว่าทำไมเขาไม่คาดหวังว่าจะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล
ตั้งแต่เริ่มแรก รัฐบาลไม่เคยมีคำสั่ง lockdowm เต็มรูปแบบ จิรยุว์กล่าวว่า รัฐบาลจึงไม่ต้องมาจ่ายประกันสังคมให้พนักงานและอีกหล่ยๆ อย่าง “ทุกอย่างโยนให้เจ้าของกิจการหมด”
ก่อนระลอกสามจะมาถึง เขาบอกเจ้าของอาคารไปว่าถ้ามีล๊อกดาวน์อีก เขาตายแน่ๆ เพราะเขาใช้เงินเก็บไปหมดแล้วกับค่าเช่าและค่าใช้จ่ายอื่นๆ เขาเอารายได้จากร้านอื่นมาช่วยจ่ายด้วย ดังนั้นการตัดสินใจปิด เขามองว่าเป็นการ “ตัดขาทิ้ง” ไม่อย่างนั้น เรือจะจมทั้งลำ
“รัฐบาลนี่ ไม่ต้องพูดถึงนะครับ ... สิ้นเดือนเมษา ตอนที่เขาประกาศว่าห้ามนั่งทานในร้าน ผมอยู่ที่ร้าน แล้วผมน้ำตาไหล ไปนั่งร้องไห้อยู่ในรถ เพราะผมรู้ว่ามันถึงจุดที่ไปไม่ได้แล้ว เราไม่มีเงินสำรองแล้ว เราไม่มีเงินที่จะจ่ายแล้ว และรัฐก็ไม่ช่วยเราหรอก ก็สั่งปิด
2
ดิฉันถามถึงกรณีที่สมาคมภัตตาคารไทยเสนอให้รัฐบาลช่วยเรื่อง soft loan เพื่อช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้ แต่จิรยุว์ไม่ต้องการหนี้เพิ่มอีกแล้ว เขาอธิบายว่า สิ่งที่รัฐบาลทำได้ คือช่วยแบกภาระค่าใช้จ่าย อย่างเช่นเงินเดือนพนักงาน ธุรกิจต่างๆ จะได้ไม่ต้องมาตัดสินใจว่าจะให้ใครออก จะลดชั่วโมงทำงานใคร หรืออย่างน้อย ควรมีมาตรการอะไรที่ผู้เช่าและผู้ให้เช่าจะไม่ต้องมาขัดแย้งกันแบบที่เกิดขึ้นกับเขา
1
ความเสียหาย
เมื่อรัฐบาลสั่งไม่ให้ลูกค้านั่งในร้านอาหารเมื่อเดือนเมษายน สมาคมภัตตาคารไทยรายงานว่ากฎระเบียบที่เข้มงวดสร้างความเสียหายให้กับภาคร้านอาหารถึง 1,400 ล้านบาท และกว่าที่วิกฤตครั้งนี้จะจบ จะมีร้านอาหารอีกถึงกว่า 5 หมื่นร้านต้องปิดตัวลง
2
วันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา ศบ๕.ประกาศอนุญาตให้รับลูกค้าในร้านอาหารได้ 25% และเปิดได้ถึง 21.00 แต่เจ้าของร้านอาหารมากมายก็ยังยืนยันว่ารายรับนั้นไม่เพียงพอที่จะอยู่รอด
CHU ไม่ใช่ร้านมีชื่อร้านเดียวที่ต้องปิดตัวลง ร้านติดดาวมิชลินอย่าง Bo.lan ก็ประกาศปิดตัวเช่นกัน หลังดำเนินการมาถึง 13 ปี
2
ยอมแพ้
1
มีช่วง 2-3 สัปดาห์ของเดือนมีนาคม ที่ร้านอาหารเริ่มมองเห็นแสงสว่าง เมื่อรัฐอนุญาตให้คนเข้ามานั่งทานในร้านได้ ร้านอาหารเปิดดึกได้ ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้
3
แต่เมื่อประกาศล็อกดาวน์ครั้งล่าสุด จิรยุว์บอกว่า เห็นได้เลยว่าร้านอาหารส่วนใหญ่ท้อแล้ว ไม่เหมือนปีที่แล้วที่พยายามมีเมนูใหม่ มีโปรโมชั่นต่างๆ เพื่อดึงดูดลูกค้า หลายๆ ร้านกำลังยอมแพ้
“เราท้อ แล้วรู้สึกหมดหวังและหดหู่สุดๆ มาปีกว่า ว่าจะไปไม่รอด และไม่มีใครช่วยเรา และพร้อมที่จะยอมแพ้ได้ตลอด”
1
แต่เมื่อร้านประกาศปิดตัวลง 9 วันสุดท้าย เขากลับได้กำลังใจมากมาย เกินความคาดหมาย ทั้งคนที่เข้ามาที่ร้าน ทั้งข้อความต่างๆ ออนไลน์
“ผมอ่านข้อความแล้วน้ำตาไหล”
ถ้าถามจิรายุช่วงต้นเดือนพฤษภาว่าจะได้เห็น CHU กลับมาหรือไม่ เขาคงจะตอบได้เต็มที่ว่าไม่ แต่หลังจากกำลังใจในสัปดาห์สุดท้ายของ CHU จิรยุว์บอกว่า เขาอาจหาที่ใหม่ แต่เมื่อไหร่ ก็อีกเรื่องหนึ่ง
5
ภาพจาก IG: chu.bkk
โฆษณา