8 มิ.ย. 2021 เวลา 02:31 • การศึกษา
รู้จัก 3 เทคนิค วิธีคิดจากทฤษฎี Constructionism เพื่อพิชิตการเรียนรู้อย่างไม่สิ้นสุด
‘Constructionism’ คืออะไร?
.
‘Constructionism’ คือ การเน้นให้ผู้ศึกษาสร้างการเชื่อมโยงองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Learning by doing) และนำไปต่อยอดพัฒนาหรือประยุกต์ใช้เข้ากับความรู้ในแขนงอื่น ซึ่งหากคนที่ได้เคยศึกษาเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนการสอนคำนี้อาจจะพอคุ้นหูกันอยู่บ้าง โดยทฤษฎีนี้ถูกพัฒนาขึ้นโดย Professor Seymour Papert นักคณิตศาสตร์หนึ่งในผู้ริเริ่มปัญญาประดิษฐ์จาก M.I.T.
โดยคุณ Papert ได้นำทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) จากนักจิตวิทยาทั้ง 2 ท่าน อย่างคุณ Jean Piaget และคุณ David Ausubel ที่กล่าวถึงการเชื่อมโยงความรู้ผ่าน Cognitive apparatus ซึ่งคุณ Papert ได้นำมาดัดแปลงเข้ากับการเรียนรู้ผ่านสื่อและเทคโนโลยีให้องค์ความรู้นั้นออกมาเป็นรูปธรรมมากขึ้น กลายเป็นแนวคิดด้านการเรียนรู้ใหม่ จนกลายมาเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านชิ้นงาน หรือ ‘Constructionism’ นั่นเอง
ซึ่งการเรียนรู้แบบ Constructionism มาจาก 2 กระบวนการ คือ การแปลความหมายของสิ่งที่ได้เรียนรู้มา จนสามารถนำไปสร้างองค์ความรู้ใหม่ขึ้นได้ด้วยตนเอง และได้รับประสบการณ์การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง จนนำไปสู่การพัฒนาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ โดยทั้งกระบวนการทั้งสองนี้มาจากรากฐานการเรียนรู้นี้มาจากการเรียนรู้แบบ Learning by doing แทนที่จะพยายามยัดเยียดความรู้เข้าไปเพียงอย่างเดียว
การเรียนรู้แบบ Learning by doing ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การรับสารอย่างการอ่านหรือรับฟังเพียงอย่างเดียว การเรียนรู้แบบนี้ยังรวมถึงการสังเกตอิริยาบถและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ อีกด้วย แม้ในการเรียนรู้นั้นจะพบเจอกับข้อผิดพลาดบ้าง แต่ก็สามารถที่จะเรียนรู้จากข้อผิดพลาดนั้น และพยายามแก้ไขจุดที่บกพร่องซ้ำไปเรื่อย ๆ จนสามารถหาวิธีการแก้ปัญหานั้นได้ซ้ำเสร็จ กลายมาเป็นความรู้ใหม่ที่เราค้นพบด้วยตัวเองและช่วยให้เราเริ่มสังเกตความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
แล้วเราควรฝึกฝนให้เราเข้าใจความรู้ใหม่ ๆ แล้วนำไปต่อยอดได้ยังไงดี ? หากคุณเริ่มอยากลองวิธีการเรียนรู้แบบ Constructionism นี้แล้ว ไปดู 3 เทคนิค ที่จะช่วยให้เราพัฒนาตัวเราให้แสวงหาความรู้ด้วยตัวเองกัน
อ่านต่อ กดที่ลิงก์ด้านล่าง
โฆษณา