8 มิ.ย. 2021 เวลา 12:03 • สุขภาพ
เปรียบเทียบผลข้างเคียง ข้อดีข้อเสียของ Pfizer Moderna Sinovac และ AstraZeneca
- คำเตือนข้อมูลบางอย่างอาจคลาดเคลื่อนเพราะข้อมูลมาจากหลายเดือน -
ข้อมูลของวัคซีน
Pfizer
Pfizer เป็นวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ทำหน้าที่พา mRNA เข้าเซลล์ และ กํากับให้เซลล์ผลิตสารโปรตีนสไปค์ของเชื้อไวรัส ซึ่งโปรตีนนี้จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สร้างแอนติบอดีขึ้นมาต่อต้านเชื้อ ปัจจุบันวัคซีนชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ประมาณ 95% ป้องกันการป่วยรุนแรงและป้องกันการเสียชีวิตได้ 100% วัคซีนของ Pfizer ควรได้รับการฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 3 สัปดาห์
Moderna
Moderna เป็นวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ชนิดเดียวกับ Pfizer วัคซีน Moderna จะมีส่วนช่วยให้ร่างกายสร้างโปรตีนที่เฉพาะเจาะจงกับไวรัสขึ้นมา และกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้ แอนติบอดี้นี้จะรับรู้ได้เมื่อมีไวรัสเข้าสู่ร่างกาย จึงทำลายไวรัสได้ในที่สุด Moderna อาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด 19 อยู่ที่ประมาณ 92% และป้องกันการเสียชีวิตได้ 100% วัคซีนของ Moderna ควรได้รับการฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 4 สัปดาห์
Sinovac
Sinovac เป็นวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด เชื้อตาย (Inactivated vaccine) การฉีดวัคซีนจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสทุกส่วน เสมือนได้รับเชื้อไวรัสโดยตรงแต่ไม่ทำให้เกิดโรคเพราะเชื้อตายแล้ว Sinovac มีประสิทธิภาพป้องกันอาการประมาณ 50-70% ป้องกันการเสียชีวิตได้ 100% Sinovac ควรได้รับการฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 2-4 สัปดาห์
AstraZeneca
AstraZeneca เป็นวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด โดยนำมาดัดแปลงพันธุกรรมให้ไม่สามารถแบ่งตัวได้ และใส่สารพันธุกรรมของไวรัสโรคโควิด19 ติดไปด้วย เมื่อนํามาฉีดไวรัสพาหะเหล่านี้จะเลียนแบบการติดเชื้อตามธรรมชาติ โดยกระตุ้มภูมิคุ้มกันทั้งระบบให้สร้างแอนติบอดีย์ต่อไวรัสโรคโควิด19 ตามสารพันธุกรรมที่ใส่เข้าไป มีประสิทธิภาพป้องกันอาการประมาณ 70-80% ป้องกันการเสียชีวิตได้ 100% AstraZeneca ควรได้รับการฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 10-16 สัปดาห์
วัคซีนตัวไหนเหมาะกับใคร ไม่เหมาะกับใคร
Pfizer
เหมาะกับ
- ผู้ที่อายุ 16 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่อายุเกิน 65 ปีขึ้นไป ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับวัคซีน
- ผู้ที่ทำงานด้านสาธารณสุข และมีโอกาสสัมผัสรับเชื้อมากกว่าคนอื่น
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่อาจส่งผลให้อาการรุนแรงหากติดเชื้อโควิด 19 เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหอบหืด โรคปอด โรคตับ โรคไต และโรคติดเชื้อเรื้อรังอื่นๆ
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ควรได้รับวัคซีนหลังจากปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลแล้วเท่านั้น
- ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV เพราะมีโอกาสเสี่ยงสูง แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับวัคซีน
- ผู้ที่เคยติดโควิด 19 มาแล้ว อาจรับวัคซีนไฟเซอร์หลังจากติดโควิด 19 มาแล้วอย่างน้อย 6 เดือน
- สตรีที่กำลังอยู่ระหว่างให้นมบุตร โดยเฉพาะหากเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านสาธารณสุข ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับวัคซีน
- สตรีมีครรภ์ อาจควรรับวัคซีนหากแพทย์พิจารณาแล้วว่าประโยชน์ที่จะได้รับ มีมากกว่าความเสี่ยง เช่น สตรีมีครรภ์มีโรคประจำตัวอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงเมื่อติดโควิด
.
ไม่เหมาะกับ
- ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 16 ปี เนื่องจากวัคซีนไฟเซอร์ทำการทดสอบกับผู้ที่อายุ 16 ปีขึ้นไป องค์การอนามัยโลกจึงยังไม่แนะนำให้ผู้ที่อายุต่ำกว่า 16 ปีฉีดวัคซีนไฟเซอร์
- ผู้ที่มีอาการแพ้ หรือโรคภูมิแพ้ทั้งแบบรุนแรง และไม่รุนแรง ต่อส่วนผสมของ mRNA ในวัคซีนโควิด-19 ไม่ควรรับวัคซีนชนิดนี้
- ผู้ที่มีอาการแพ้โพลี เอธิลีน ไกคอล และ พอลิซอร์เบต เป็นสารชนิดหนึ่งที่ใช้ในเครื่องสำอาง และยาบางชนิด
Moderna
เหมาะกับ
- ผู้ที่อายุ 18 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง และอาจมีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อติดโควิด 19 เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหอบหืด โรคปอด โรคตับ และโรคไต
- ผู้ที่ต้องทำงานด้านสาธารณสุข ใกล้ชิดกับผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อ หรืองานใดๆ ที่ถือว่ามีความเสี่ยงรับเชื้อสูง
- ผู้สูงอายุ
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาความเหมาะสมก่อนรับวัคซีน
- ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV เพราะอาจมีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อติดโควิด 19
- ผู้ที่เคยติดโควิด 19 แล้ว ควรรับวัคซีนหลังจากติดเชื้ออย่างน้อย 6 เดือน
- สตรีที่อยู่ระหว่างให้นมบุตร
- สตรีที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์เป็นรายบุคคลก่อน
.
ไม่เหมาะกับ
- ผู้สูงอายุที่มีร่างกายอ่อนแอมาก หรือได้รับการประเมินว่าอาจมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 3 เดือน ควรได้รับการพิจารณาร่วมกับแพทย์เป็นรายบุคคล
- ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี ควรรอผลการศึกษาเพิ่มเติมก่อน
- ผู้ที่มีอาการแพ้ทั้งแบบรุนแรง และไม่รุนแรงต่อส่วนผสม mRNA ในวัคซีนโควิด-19 ไม่ควรรับวัคซีนชนิดนี้
- ผู้ที่มีพบว่ามีอาการแพ้หลังจากฉีดวัคซีนเข็มแรกไปแล้ว ไม่ควรรับวัคซีนชนิดนี้เพิ่มเติม
- ผู้ที่มีประวัติแพ้สารโพลีเอธิลีน ไกคอล ซึ่งเป็นส่วนผสมในยาและเครื่องสำอางบางชนิด ซึ่งมีอยู่ในวัคซีนโควิดโมเดอร์นา
- ผู้ที่มีประวัติแพ้สารพอลิซอร์เบต ซึ่งเป็นส่วนผสมในยาและเครื่องสำอางบางชนิด แม้จะไม่มีอยู่ในวัคซีนโควิดโมเดอร์นา แต่คุณสมบัติใกล้เคียงกับ PEG มาก จึงอาจเป็นอันตรายได้
Sinovac
เหมาะกับ
- ผู้ที่อายุ 18 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีอายุ 59 ปีลงมา
- ผู้ที่ไม่มีการแพ้บางส่วนผสมของตัววัคซีน ซึ้งวรปรึกษาแพทย์ถึงความเหมาะสมก่อนรับวัคซีน
- สตรีที่กำลังอยู่ระหว่างให้นมบุตร โดยเฉพาะหากเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านสาธารณสุข ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับวัคซีน
- สตรีมีครรภ์ อาจควรรับวัคซีนหากแพทย์พิจารณาแล้วว่าประโยชน์ที่จะได้รับ มีมากกว่าความเสี่ยง เช่น สตรีมีครรภ์มีโรคประจำตัวอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงเมื่อติดโควิด
.
ไม่เหมาะกับ
- ผู้ที่มีประวัติแพ้วัคซีนอย่างรุนแรง
- ผู้ที่มีประวัติภูมิแพ้อย่างรุนแรง เช่น แพ้อาหาร แพ้โลหะ
- ผู้มีไข้ หรือเจ็บป่วยรุนแรง
- ผู้ป่วยโรคเรื้อรังซึ่งไม่สามารถควบคุมโรคให้อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยได้
- ผู้ที่มีภาวะทางระบบประสาทรุนแรง
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- หญิงตั้งครรภ์และหญิงที่อยู่ระหว่างให้นมบุตร ยังไม่ควรเข้ารับวัคซีนโควิด เว้นแต่ได้รับการประกาศยืนยันจากกระทรวงสาธารณสุขแล้ว
AstraZeneca
เหมาะกับ
- ผู้ที่อายุ 18 ปีขึ้นไป
- ผู้สูงอายุ
- สตรีที่กำลังอยู่ระหว่างให้นมบุตร โดยเฉพาะหากเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านสาธารณสุข ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับวัคซีน
- สตรีมีครรภ์ ที่ได้รับการปรึกษาจากเจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านสาธารณสุข ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับวัคซีน
.
ไม่เหมาะกับ
- ผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงต่อส่วนผสมในวัคซีนโควิด AstraZeneca
- ผู้ที่มีประวัติแพ้วัคซีนชนิดอื่นใดมาก่อน ควรปรึกษาแพทย์ถึงความเหมาะสมก่อนรับวัคซีน
- ผู้ที่มีอาการแบบเดียวกับโรคติดเชื้อ เช่น มีไข้สูง 38 องศา
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคเลือด มีรอยช้ำง่าย
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน หรือกำลังกินยาที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน
ประสิทธิภาพของวัคซีน
Pfizer
หลังจากฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่ 2 แล้ว จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด 19 สูงถึง 91.3% ในช่วง 7 วันถึง 6 เดือนหลังฉีด
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ CDC กำหนดให้วัคซีนไฟเซอร์มีประสิทธิภาพสูงถึง 100% ในการป้องกันความรุนแรงของโรคที่เกิดจากโควิด 19
องค์การอาหารและยาของสหรัฐ FDA กำหนดให้ประสิทธิภาพในการป้องกันอาการรุนแรงที่เกิดจากโรคโควิด 19 ไว้ที่ 95.3%
Moderna
วัคซีน Moderna อาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด 19 อยู่ที่ประมาณ 92% โดย หลังจากฉีดเข็มแรกไปแล้ว 14 วัน จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันประมาณ 50.8% และ หลังจากฉีดเข็มที่ 2 ไปแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันได้ประมาณ 92.1%
Sinovac
วัคซีนซิโนแวคในจีนยืนยันประสิทธิภาพ 78 เปอร์เซ็นต์ในกลุ่มผู้ป่วยโควิดที่มีอาการไม่รุนแรง อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการยืนยันประสิทธิภาพของวัคซีนโควิดยี่ห้อนี้กลับแตกต่างไปในหลายประเทศ บราซิลยืนยันประสิทธิภาพวัคซีนที่ 78 เปอร์เซ็นต์ แต่ล่าสุดประกาศประสิทธิภาพลดลงมาอยู่ที่ 50.38 เปอร์เซ็นต์ อินโดนีเซียยืนยันในประสิทธิภาพวัคซีนที่ 65.3 เปอร์เซ็นต์
AstraZeneca
การทดสอบวัคซีนกว่า 23,000 ราย พบว่าอาสาสมัครมีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโคโรนา โดยมี 2,800 ราย ที่ได้รับยาในเข็มแรกเพียงครึ่งเดียวกับที่การทดสอบกำหนด ซึ่งเกิดจากความบังเอิญ และในภายหลังจึงได้ฉีดอีกเข็มให้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ในผู้ที่รับวัคซีนเข็มแรกเพียงครั้งเดียว กลับมีผลป้องกันโควิด-19 ได้ถึง 90% ในขณะที่ผู้รับวัคซีนเต็มทั้ง 2 เข็มกลับมีผลป้องกันเพียง 62% (ผลป้องกันโดยเฉลี่ยที่ประมาณ 70%)
สรุป
วัคซีนที่ดีที่สุด
1. Pfizer อันดับที่ 1
2. Moderna อันดับที่ 2
3. AstraZeneca อันดับที่ 3
4. Sinovac อันดับที่ 6
ผลข้างเคียงของวัคซีน
Pfizer
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย และไม่รุนแรงของวัคซีนไฟเซอร์ มีดังนี้
- มีไข้ หนาวสั่น
- ปวดศีรษะ
- ปวดกล้ามเนื้อ
- อ่อนเพลีย
- ปวด บวม หรือรอยแดงบริเวณที่ฉีด
- คลื่นไส้
- อาเจียน
.
ผลข้างเคียงที่พบได้ยาก อาจมีดังนี้
- เป็นลม
- เวียนศีรษะ
- การมองเห็นผิดปกติ
- รู้สึกชาตามร่างกาย
Moderna
- เจ็บ หรือบวมบริเวณที่ฉีด
- อาจมีอาการหนาวสั่น เป็นไข้
- อาจมีอาการอ่อนเพลีย
- อาจมีอาการปวดหัว
ผลข้างเคียงของวัคซีนโควิดโมเดอร์นา อาจเริ่มแสดงออกภายใน 1-2 วันหลังจากรับวัคซีน โดยอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นใน 2-3 วัน
Sinovac
- อาเจียน 17%
- ปวดเมื่อยเนื้อตัว 14%
- อักเสบบริเวณที่ฉีด 13%
- มีไข้ 11%
นอกจากนั้นยังมีอาการปวดศีรษะ ท้องเสีย ผื่นขึ้น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ มีอาการปวด บวมแดง บริเวณที่ฉีดวัคซีน ซึ่งกรมควบคุมโรคยืนยันว่า เป็นอาการที่พบได้เป็นปกติหลังรับวัคซีน อาการดังกล่าวจะไม่รุนแรงและหายได้เองภายใน 1-2 วันหลังรับวัคซีน
AstraZeneca
- เจ็บ ระคายเคือง บวม หรือช้ำบริเวณที่ฉีด
- รู้สึกอ่อนเพลีย
- รู้สึกมีไข้ หนาวสั่น
- ปวดหัว
- รู้สึกป่วย
- ปวดกล้ามเนื้อ
- ไอ เจ็บคอ
- น้ำมูกไหล
.
ส่วนอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น (1 ใน 100) อาจมีดังนี้
- มึนหัว เวียนหัว
- เบื่ออาหาร หรืออยากอาหารลดลง
- ปวดท้อง
- ต่อมน้ำเหลืองโต
- เหงื่อออกมาก
- มีผื่นขึ้น
ข้อดีข้อเสียของวัคซีน
Pfizer & Moderna
ข้อดี
1. มีข้อมูลการศึกษาและใช้จริงในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศในทวีปยุโรป ซึ่งเห็นผลประสิทธิภาพสูงมาก รวมทั้งการศึกษาในประเทศอิสราเอล พบว่า วัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อทั้งหมด ได้ร้อยละ 95
2. ป้องกันการติดเชื้อที่ไม่มีอาการได้ร้อยละ 91
3. ป้องกันการนอนโรงพยาบาลเนื่องจากป่วยหนักและเสียชีวิตได้ ร้อยละ 97
4. การศึกษาในประเทศอังกฤษ พบว่า วัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ร้อยละ 70 ตั้งแต่หลังการฉีดเข็มแรก 26 และในประเทศ สกอตแลนด์พบว่าวัคซีนสามารถป้องกัน การนอนโรงพยาบาลได้ถึงร้อยละ 91 ตั้งแต่หลังการฉีดเข็มแรก
5. มีข้อมูลการใช้ในหญิงตั้งครรภ์และผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่องว่าปลอดภัยและได้ผลดี มีการรับรองและยอมรับสำหรับประเทศในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา อาจทำให้เกิดอุปสรรคน้อยกว่าในการต้องเดินทางเข้าเมืองในประเทศเหล่านั้น
ข้อเสีย
1. มีอาการข้างเคียงพบได้บ่อยประมาณครึ่งหนึ่งแต่ส่วนใหญ่ไม่รุนแรง
2. เป็นเทคโนโลยีใหม่ทำให้มีความระแวงถึงผลข้างเคียงในระยะยาว
Sinovac
ข้อดี
- มีอาการข้างเคียงน้อย
- เป็นวัคซีนเชื้อตายจึงไม่ต้องกังวลในการใช้กับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องและหญิงตั้งครรภ์
- เทคโนโลยีในการผลิต เป็นแบบที่เคยมีการใช้มาก่อนในวัคซีนตัวอื่นๆ เช่น โปลิโอ ตับอักเสบเอ ทำให้มีความไว้วางใจในความปลอดภัยระยะยาว
ข้อเสีย
- ประสิทธิภาพจะยังเกิดไม่เต็มที่หลังเข็มแรก ต้องฉีดครบ 2 เข็ม จึงจะมีประสิทธิภาพเกิด ได้เต็มที่
- มีรายงานอาการข้างเคียงซึ่งคล้ายอาการทางระบบประสาท ที่เรียกว่า ปฏิกิริยาเครียดสนองตอบต่อการฉีดวัคซีน (Immunization stress-related response (ISRR)) ซึ่งพบในช่วงที่ระดมฉีดให้บุคลากรที่อายุน้อยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จึงทำให้เกิดความระแวงและไม่มั่นใจ
AstraZeneca
ข้อดี
1.ประสิทธิภาพเกิดขึ้นเร็วตั้งแต่หลังฉีดเข็มแรกเพียง 2 สัปดาห์ มีประสิทธิภาพเกิดเต็มที่และจากประสบการณ์ในประเทศสกอตแลนด์ป้องกันการป่วยหนักและนอนโรงพยาบาลได้ร้อยละ 89 หลังฉีดเข็มแรก ไม่แตกต่างจากวัคซีนของไฟเซอร์ (Pfizer) ซึ่งป้องกันได้ร้อยละ 91
2.จะมีประโยชน์และประสิทธิภาพสูงมากในกรณีที่มีการระบาด เพราะจะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันที่สูงอย่างรวดเร็ว เมื่อฉีดแบบปูพรมเป็นวงกว้างจะยุติการระบาดได้เร็ว
3.มีการรับรองและยอมรับในประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกาอาจทำให้เกิดอุปสรรคน้อยกว่า ในการต้องเดินทางเข้าเมืองในประเทศเหล่านั้น
ข้อเสีย
1.มีอาการข้างเคียงเกิดขึ้นได้บ่อย มีไข้ เพลีย ได้ถึงร้อยละ 70-80 แต่ส่วนใหญ่อาการไม่มาก
2.สัมพันธ์กับภาวะหลอดเลือดอุดตันกับเกล็ดเลือดต่ำ (VITT) แต่พบน้อยประมาณ 1 ต่อแสนถึง 1 ต่อล้านโดส โดยในประเทศ ไทยคาดการณ์ว่าจะมีอุบัติการณ์ต่ำกว่านี้ เพราะมีพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคที่คล้ายคลึงโรคนี้ต่ำมาก แต่เป็นภาวะที่รักษาได้ ซึ่งวิเคราะห์ความเสี่ยงในข้อนี้จะพบว่า ประโยชน์จากวัคซีนยังสูงกว่ามาก
3.แม้จะไม่มีข้อมูลการศึกษาในหญิงตั้งครรภ์และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างมาก แต่หากไม่มีวัคซีนอื่นเป็นทางเลือกการใช้วัคซีนก็ยังมีประโยชน์กว่าการเสี่ยงที่จะติดเชื้อและเป็นโรคโควิด19 ซึ่งจะมีความรุนแรงและอันตรายในคนกลุ่มนี้มากกว่าความเสี่ยงจากการฉีดวัคซีน
4.เป็นเทคโนโลยีใหม่ยังไม่แน่ใจว่าการมีแอนติบอดีต่อไวรัสที่เป็นพาหะ (anti-vector antibody) จะลดทอนประสิทธิภาพในการฉีดครั้งต่อๆ ไปหรือไม่
สรุป
Pfizer & Moderna
วัคซีนดี แต่พบผลข้างเคียงได้ประมาณนึงแต่ไม่รุ่แรง มีความกังวลถึงผลข้างเคียงในระยะยาว
Sinovac
อาการข้างเคียงน้อย เทคโนโลยีน่าเชื่อถือ ประสิทธิภาพไม่ดีเท่า Pfizer & Moderna & AstraZeneca ในเข็มแรก
AstraZeneca
ประสิทธิภาพดี เกิดภูมิคุ้มกันเร็ว แต่เกิดอาการข้างเคียงบ่อยซึ้งไม่รุ่นแรง สามารถเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันกับเกล็ดเลือดต่ำได้แต่พบน้อยประมาณ 1 ต่อแสนถึง 1 ต่อล้านโดส
ฝากกดติดตามทุกๆช่องทางเพื่อรับรับข่าวสารที่น่าสนใจ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา