11 มิ.ย. 2021 เวลา 04:30 • สุขภาพ
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ แจง 6 ขั้นตอน เปิดจอง "ซิโนฟาร์ม" 14 มิ.ย.นี้
1
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เผยแพร่ขั้นตอนการขอรับจัดสรรวัคซีนตัวเลือก "ซิโนฟาร์ม" ในราคาเข็มละ 888 บาท เปิดจอง 14 มิ.ย.นี้
8
เว็บไซต์ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เผยแพร่ขั้นตอนการขอรับจัดสรรวัคซีนตัวเลือก “ซิโนฟาร์ม” ระยะที่ 1 (สำหรับองค์กรและหน่วยงาน) โดยมีข้อกำหนดผู้ขอรับการจัดสรรวัคซีนดังนี้
3
1. เป็นองค์กรนิติบุคคลหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐ (สำหรับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่ให้เป็นไปตามประกาศ ศบค. เรื่องแนวทางการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ข้อ 5) องค์กรการกุศลและหน่วยงานเอกชน โดยจะพิจารณาการจัดสรรในระยะที่ 1 ตามประเภทการดำเนินงานของหน่วยงาน (ความสำคัญด้านความมั่นคงทางสังคม เศรษฐกิจ และความเหลื่อมล้ำ) ระดับความเสี่ยงของโอกาสในการแพร่เชื้อให้กับสังคม และระดับความเสี่ยงโควิดบนพื้นที่ของทำเลที่ตั้งสถานประกอบการ
4
2. องค์กร/หน่วยงานสามารถจัดสรรวัคซีนให้แก่กลุ่มบุคคลที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนตัวเลือกได้ทุกประเภท ทั้งพนักงาน ครอบครัวพนักงานและแรงงานต่างชาติ แต่ไม่อนุญาตให้เรียกเก็บเงินค่าวัคซีนและค่าบริการอื่นๆ กับผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนได้และห้ามหาผลประโยชน์ทางการค้า ทั้งนี้ หากองค์กร/หน่วยงานใดฝ่าฝืนระเบียบตามข้อกำหนดราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะดำเนินการปรับในอัตรา 15 เท่าของมูลค่าวัคซีนที่ได้รับการจัดสรร
7
3. องค์กร/หน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรวัคซีนตัวเลือกยินดีร่วมช่วยเหลือสังคม ด้วยการบริจาควัคซีนตัวเลือก จำนวน 10% ของจำนวนวัคซีนตัวเลือกที่ได้รับการจัดสรรจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เพื่อให้กับชุมชนผู้ด้อยโอกาส โดยรายละเอียดและขั้นตอนในเรื่องนี้จะแจ้งให้ทราบต่อไป
1
4. องค์กร/หน่วยงาน จะต้องประสานจัดหาโรงพยาบาลเพื่อรองรับการฉีดวัคซีนตัวเลือก โดยโรงพยาบาลดังกล่าวจะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสถานพยาบาลให้บริการฉีดวัคซีนตัวเลือกกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เพื่อควบคุมมาตรฐานความปลอดภัย โดยค่าบริการฉีดวัคซีนนั้น สถานพยาบาลสามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายได้กับองค์กร/หน่วยงานนั้นได้ แต่ห้ามเรียกเก็บจากผู้รับการฉีดเป็นอันขาด
โดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์กำหนดอัตราวัคซีนตัวเลือก “ซิโนฟาร์ม” ราคาเข็มละ 888 บาท ซึ่งอัตราดังกล่าวรวมค่าวัคซีน ค่าขนส่ง ค่าเก็บรักษาพร้อมประกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากวัคซีนแล้ว แต่ไม่รวมค่าบริการของโรงพยาบาลและค่าบริการทางการแพทย์ที่ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาลที่ทางองค์กร/หน่วยงานติดต่อประสานเพื่อการบริการฉีดวัคซีน
สำหรับแนวทางการบริหารจัดการวัคซีนในระยะที่ 2 สำหรับบุคคลทั่วไปที่ประสงค์จะเข้ารับการฉีดวัคซีนตัวเลือกนี้ จะประกาศให้ทราบต่อไป หลังจากตรวจสอบระบบความปลอดภัย และการเชื่อมต่อข้อมูลกับสถานพยาบาลแล้ว
1
นอกจากนั้น ยังกำหนดขั้นตอนการขอรับการจัดสรรวัคซีนตัวเลือก "ซิโนฟาร์ม" ระยะที่ 1 (สำหรับองค์กรและหน่วยงานเท่านั้น) ดังนี้
1. องค์กรและหน่วยงานลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ขอรับการจัดสรรวัคซีนโควิดตัวเลือก "ซิโนฟาร์ม" ผ่านระบบออนไลน์ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้ที่ https://vaccine.cra.ac.th ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2564 เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป
1
เอกสารนิติบุคคลประกอบการยื่นแจ้งความประสงค์ขอรับจัดสรรวัคซีนตัวเลือกผ่านระบบออนไลน์
2
- หนังสือรับรองนิติบุคคล หุ้นส่วนบริษัทกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หนังสือจดทะเบียนพาณิชย์ ที่ออกให้ไว้ไม่เกิน 6 เดือน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องจากผู้มีอำนาจลงนาม (สำหรับองค์กรที่เคยส่งหนังสือแจ้งความประสงค์มาแล้วก่อนหน้านั้น ขอให้ท่านดำเนินการลงทะเบียนเข้าระบบเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติและลำดับจัดสรรโควตาต่อไป)
2. คณะกรรมการบริหารวัคซีนตัวเลือก ตรวจสอบคุณสมบัติและการจัดสรรโควตาการกระจายวัคซีนตัวเลือก โดยใช้ระยะเวลา 5 วันทำการ นับจากวันที่ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์
3. อนุมัติแจ้งจำนวนวัคซีนที่ได้รับการจัดสรร ระบบจะส่งอีเมลแจ้งรหัสให้องค์กรหน่วยงานเข้าล็อกอินเพื่อรับทราบจำนวนวัคซีนที่ได้รับการจัดสรร วิธีการชำระเงิน รอบการจัดส่งวัคซีน และสถานพยาบาลที่ให้บริการฉีดวัคซีน
2
4. องค์กรและหน่วยงาน ทำสัญญาพร้อมชำระเงิน ตามเงื่อนไขข้อตกลง
5. องค์กรและหน่วยงาน อัปโหลดรายชื่อผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนเข้าสู่ระบบของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และรอการกระจายวัคซีนตัวเลือก “ซิโนฟาร์ม” ไปยังสถานพยาบาลที่ได้เลือกไว้ตามรอบการจัดส่งที่กำหนด
การเตรียมข้อมูลลงทะเบียนก่อนฉีดสำหรับองค์กรและหน่วยงาน
- เตรียมไฟล์รายชื่อผู้รับวัคซีนตาม Format ที่ได้รับแจ้งจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
- อัปโหลดรายชื่อผู้ฉีดเพื่อลงทะเบียนเข้าระบบตามโควตาวัคซีนที่ได้รับการจัดสรรในบัญชีของบริษัท
1
6. ผู้ที่มีรายชื่อในระบบเข้ารับการฉีดวัคซีนกับโรงพยาบาลที่องค์กรได้เลือกประสานไว้ตามวันเวลาที่กำหนด
วันที่ให้บริการฉีดวัคซีน
- สถานพยาบาลบันทึกข้อมูลผู้เข้าฉีดวัคซีนโดยใส่รหัสบัตรประชาชนหรือสแกนคิวอาร์โค้ดเข้ามาในระบบราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
- สถานพยาบาลสแกนบาร์โค้ดวัคซีนเพื่อบันทึก lot number ยาให้กับผู้เข้ารับการฉีด
ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนจะสามารถเช็กข้อมูลการได้รับวัคซีนตัวเลือก ผ่านระบบหมอพร้อมของกระทรวงสาธารณสุขได้เช่นกัน
โฆษณา