15 มิ.ย. 2021 เวลา 10:23 • ธุรกิจ
‘Cheng Wei’ อดีตพนักงาน Alibaba สู่เจ้าของบริษัทมูลค่าล้านล้าน EP1
แพลตฟอร์มเรียกรถโดยสาร Didi Chuxing สัญชาติจีน
รู้ไหมว่าอีกไม่นาน Didi กำลังจะยื่นจดทะเบียนเข้าสู่การเป็นหุ้นใหม่ IPO ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่อาจมีขนาดใหญ่ที่สุดในปีนี้
ซึ่งมีรายงานก่อนหน้านี้ว่า บริษัทมีแผนเพิ่มทุนจาก IPO ราว 10,000 ล้านเหรียญ ทำให้มูลค่ากิจการของ Didi เพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ราว 1 แสนล้านเหรียญ หรือมากกว่า 3 ล้านล้านบาท
โดยมีผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สำคัญเข้ามาร่วมลงทุนด้วย ไม่ว่าจะเป็น SoftBank จากเกาะญี่ปุ่น Alibaba และ Tencent จากจีนแผ่นดินใหญ่
ปัจจุบัน Didi ดำเนินกิจการมากกว่า 4,000 เมือง ใน 15 ประเทศ มีผู้ใช้งานมากกว่า 493 ล้านคน
แต่รู้ไหมว่าผู้ก่อตั้งกิจการนี้ คืออดีตพนักงานของบริษัทยักษ์ใหญ่ Alibaba ที่เคยรับเงินเดือนเพียง 7,000 พันบาทไทย
แล้วเขาคนนี้เป็นใคร ก้าวขึ้นมาเป็น Billionnair ได้อย่างไร ?
ไปทำความรู้จักเขาคนนี้กัน..
10-20 ปีที่ผ่านมา เบื้องหลังการสู้รบในศึกสามก๊กของกลุ่ม BAT (Baidu, Alibaba และ Tencent) เป็นอะไรที่ดุเดือดกว่าพงศาวดารจีน
ซึ่งการสู้รบสามก๊กยุคใหม่นี้ มีหนึ่งในเรื่องราวของขุนพลชั้นผู้น้อยอย่าง ‘เฉิง เหว่ย’ อยู่ด้วย
แล้ว ‘เฉิง’ เป็นใคร ?
จุดเริ่มต้นของขุนพลชั้นผู้น้อยอย่างเฉิง เริ่มขึ้นที่ เมืองฉางเหลา ทางใต้ของมณฑลเจียงซี
ในวัยหนุ่มเฉิงเรียนจบปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ในปี 1983
เขาจบมาด้วยคะแนนกลางๆ ไม่ได้มีความโดดเด่นอะไรจากกลุ่มเพื่อนมากนัก หลังจากนั้นเฉิงเริ่มทำงานจิปาถะ
จนกระทั่งได้สมัครเข้าเป็นผู้ช่วยผู้จัดการบริษัทนวดฝ่าเท้าแห่งหนึ่ง
แต่หลังจากที่ทำงานได้เพียง 1 ปี เฉิงก็เริ่มรู้สึกว่า งานที่ทำไม่สามารถเติบโตไปได้มากกว่านี้
เขาจึงตัดสินใจลาออกมาสมัครงานกับ `อาลีบาบา` ของเศรษฐี แจ็ค หม่า
เฉิงเริ่มต้นจากการเป็นพนักงานขายทั่วไป ในปี 2005 ด้วยเงินเดือนเริ่มต้น 225 เหรียญ หรือราว 7 พันกว่าบาท
เฉิงไต่เต้าตำแหน่งของตัวเอง จนขึ้นเป็นผู้จัดการประจำภาคเหนือของจีน
หลังจากนั้น เขาก็ได้รับตำแหน่งเป็น ผู้จัดการ Alipay บริษัทตัวกลางรับชำระเงินที่ใหญ่ที่สุดในจีน
ไม่นานนับจากนั้น เฉิงได้ก้าวขึ้นมาเป็น รองประธานของ Alipay
ซึ่งในเวลานั้น ชื่อเสียงของเฉิง เริ่มโด่งดังขึ้น หลังจากได้รับการยกย่องว่าเป็น `ผู้บริหารที่มีความสามารถและอายุน้อยที่สุดในจีน`
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตของเฉิง เริ่มขึ้นในปี 2012 หลังจากที่เขาได้ก่อตั้ง `Didi Dache` หรือ `ตีตี ตาเชอ`
ซึ่งคำว่า `ตาเชอ` ในภาษาจีน แปลว่าการเรียกรถอย่างรถแท็กซี่ อะไรทำนองนี้
Didi มีการให้บริการผ่านแอปพลิเคชั่น คล้ายกับ Uber จนได้รับฉายาในช่วงแรกว่าเป็น Uber แห่งเมืองจีน
รู้ไหมว่าธุรกิจใหม่ของเฉิงเกิดจากการที่เขาทำอะไรไม่เป็น นั่นคือ เฉิงขับรถไม่เป็น และไม่จ้างคนขับรถส่วนตัว แม้จะเคยเป็นผู้บริหารระดับสูง
เวลาเดินทาง เฉิงมักจะเรียกใช้บริการแท็กซี่เป็นหลัก จึงทำให้เขาผุดไอเดียในการทำแอปพลิเคชั่นเรียกรถขึ้นมา
เฉิงจ้างโปรแกรมเมอร์แบบสัญญาจ้าง เพื่อเขียนแอป Didi เวอร์ชันแรก แต่หลังจากที่เปิดตัว กลับไม่ได้รับความนิยมแม้แต่นิด
เพราะแท็กซี่จีนในเวลานั้น มีงานล้นมือ จนทำให้เฉิงต้องจ้างคนมาเรียกแท็กซี่ผ่านแอปของตนเอง เพื่อเรียกความมั่นใจให้กับคนขับว่าถ้าเป็นพาร์ทเนอร์กับ Didi แล้ว พวกเขาจะมีลูกค้าแน่ๆ
ทว่าช่วงปลายปี 2012 ลมฟ้าอากาศกับเป็นใจให้กับการสู้รบของขุนพลเฉิง เนื่องจากเกิดพายุหิมะขึ้น ผู้คนจึงไม่สามารถยืนรอแท็กซี่ได้นานๆ ทำให้ Didi กลายเป็นแอปทางเลือกที่น่าสนใจ จนมีการเรียกใช้งานมากถึง 1,000 ครั้งต่อวัน
หลังจากนั้น Didi ก็เริ่มเป็นกระแส และมีสายตาจ้องมองจากนักลงทุนมากมาย และนักลงทุนรายแรกในการระดมทุนครั้งแรก ที่ร่วมลงทุนกับ Didi ก็คือ บริษัทเฮดจ์ฟันด์อย่าง `GSR Ventures`
GSR ร่วมลงทุนกว่า 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และก่อนที่จะมีการประกาศระดมทุนรอบสอง คู่แข่งคนสำคัญที่อาจเข้ามาต่อกรในสนามรบอย่าง `Garratt Camp` ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้บริหารระดับสูงของ Uber
ได้เข้ามาสังเกตุการณ์ในประเทศจีน แต่ทว่าเขาได้แนะนำให้ Hans Tung ผู้จัดการกองทุนขนาดใหญ่ `GGV Capital` ให้หันมาลงทุนกับ Didi พร้อมให้เหตุผลว่า แม้เขาจะเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Uber
แต่เขาก็สนับสนุนให้มีการลงทุนใน Didi เพราะเวลานั้น ยังเร็วไปที่ Uber จะลงสนามรบ เข้าตีตลาดในประเทศจีน
อย่างไรก็ดี แม้จะดูเหมือนว่าสนามรบไม่ได้มีคู่แข่งเยอะมากนัก แต่หลังจากนั้นไม่นาน ก็เกิดคู่แข่งขึ้นมากมาย และ Uber ที่บอกว่าไม่พร้อมรบ กลับกลายเป็นว่าลงสนามรบมาจนแทบขุนพลเฉิงไม่ทันตั้งตัว
หลังจากนั้น สนามรบก็เริ่มดุเดือดขึ้น มีการนองเลือดไปทั่วผืนแผ่นดินจีน จากก๊กต่างๆ ที่รบกันปางตาย ได้จับมือกันเป็นพันธมิตร และจากพันธมิตรก็กลายเป็นศัตรู
เรื่องราวที่เสี้ยมกันยิ่งกว่าสามก๊กในพงศาวดาร จะเป็นอย่างไร ติดตามต่อไปใน Episode2
#ขอบพระคุณทุกท่านที่อ่านจนจบ #และให้การติดตามเพจเล็กๆนี้เรื่อยมา
#เราจะสร้างคอนเทนท์ที่เป็นประโยชน์ต่อไป #ขอบพระคุณจากใจครับ
ติดตามเพิ่มเติมได้ที่..
โฆษณา