15 มิ.ย. 2021 เวลา 23:01 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ส่องหุ้น BPP “บ้านปู เพาเวอร์”
กับกลยุทธ์การเติบโตใหม่ที่น่าจับตามอง
เรียกได้ว่าราคาหุ้นของ BPP หรือบมจ. บ้านปู เพาเวอร์ นั้นก็ได้มีการปรับตัวกันขึ้นมาอย่างน่าสนใจตั้งแต่ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา สวนทางกับหุ้นตัวอื่นๆในกลุ่ม “โรงไฟฟ้า” ที่ยังมีราคาค่อนข้าง laggard อยู่พอสมควร
ซึ่ง BPP ก็จะถือว่าเป็นบริษัทย่อยในเครือของ BANPU(บมจ.บ้านปู) ที่ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อปีพ.ศ. 2539 ด้วยการมอบหมายให้มาทำธุรกิจด้านพลังงานไฟฟ้า
ด้วยการดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป(Thermal Power Generation) และพลังงานหมุนเวียน (Renewable Power Generation) ในพื้นที่แถบเอเชีย-แปซิฟิก ได้แก่ ไทย ลาว จีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม
ส่วนรายละเอียดอื่นๆของ BPP นั้นจะเป็นยังไง เดี๋ยววันนี้พวกเรา หุ้นพอร์ทระเบิด จะพาเพื่อนๆไปส่องหุ้นตัวนี้กันเลยรวมไปถึงแผนการเติบโตใหม่ของพวกเขาด้วยนั่นเอง
1
หากเรามองไปที่สัดส่วนของกำลังการผลิตของ BPP ก็จะพบว่ายังเป็นการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากถ่านหินอยู่เป็นหลักถึง 86% - 87% ส่วนที่เหลือคือกลุ่มพลังงานหมุนเวียนอย่าง แสงแดด & สายลม อยู่ราวๆ 13% - 14%
และถ้าแบ่งตามประเภทสัญญาแล้ว BPP ก็จะมีโรงไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่เป็นสัญญาแบบ IPP หรือโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ซึ่งมีสัญญาระยะยาวกับ EGAT ทำให้กลุ่ม IPP สามารถปรับราคาขึ้นได้ตามข้อกำหนดการซื้อขาย และไม่ได้รับผลกระทบอะไรกับราคาพลังงานต้นทุนที่สูงขึ้นสักเท่าไหร่
1
ปัจจุบัน BPP มีกำลังผลิตไฟฟ้าและไอน้ำตามสัดส่วนการลงทุนที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วทั้งหมดราวๆ 2,800 เมกะวัตต์
และทางบริษัทก็ได้ตั้งเป้าหมายในการขยายกำลังผลิตตามสัดส่วนการลงทุนให้ได้มากกว่า 5,300 เมกะวัตต์ ด้วยกำลังผลิตจากพลังงานหมุนเวียน 800 เมกะวัตต์ ให้ได้ภายในปี 2568
อย่างไรก็ตามนอกจากธุรกิจหลักที่พวกเราได้กล่าวไปแล้ว BPP ก็ยังมีการขยายธุรกิจไปลงทุนในธุรกิจแบตเตอรี่และรถยนต์ไฟฟ้าด้วยการเข้าไปถือหุ้นในบริษัท DuraPower ผู้ผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าและ Energy Storage เป็นสัดส่วน 47.7% อีกด้วย
และก็มีแผนที่จะเพิ่มกำลังการผลิตจากเดิมที่ 1,000 เมกะวัตต์ให้กลายเป็น 3,000 เมกะวัตต์ให้ได้ภายในปีพ.ศ. 2568 ด้วยเช่นกัน เพื่อเป็นการตอบสนองเทรนด์ของรถยนต์ไฟฟ้าที่น่าจะมีอัตราการเติบโตสูงในอนาคต
นอกจากนี้ BPP ยังถือว่าเป็นบริษัทที่มีหนี้สินน้อยมากโดยสังเกตุได้จากระดับ D/E ที่มีอยู่เพียง 0.18 เท่า เปรียบเทียบกับผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าเจ้าอื่นๆที่มีอยู่กันอยู่ราวๆ 0.5 - 1.5 เท่า หมายความว่า BPP ก็จะมีความพร้อมในการก่อหนี้อีกเยอะซึ่งจำเป็นสำหรับการขยายธุรกิจ หรือขยายกำลังการผลิตนั่นเอง
💰งบการเงินของ BPP
ปี 2561 รายได้ 6,768.50 ล้านบาท
กำไร 3,812.67 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 6,402.14 ล้านบาท
กำไร 2,968.93 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 6,526.59 ล้านบาท
กำไร 3,702.48 ล้านบาท
ไตรมาส 1/64 รายได้ 2,034.40 ล้านบาท
กำไร 1,034.16 ล้านบาท
ส่วนแนวโน้มผลการดำเนินงานของ BPP ในช่วงไตรมาส 2 และที่เหลือในปีพ.ศ. 2564 ก็น่าจะยังคงเป็นไปอย่างแข็งแกร่ง จากโครงการใหม่ๆของทางบริษัทอย่างโรงไฟฟ้า Nakoso(IGGC) ที่ประเทศญี่ปุ่น และการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินซานซีลู่กวง (SLG) ที่ประเทศจีนซึ่งปัจจุบันก่อสร้างเสร็จไปแล้ว 2 หน่วยผลิต
ในขณะที่ BANPU Next ก็กำลังมีความคืบหน้าจากโครงการมากมายเช่น โซลาร์ลอยน้ำ, เรือไฟฟ้า(E-Ferry) และโครงการเมืองอัจฉริยะของภูเก็ต
ส่งผลให้รวมๆแล้ว BPP กำลังกลายเป็นหุ้นที่ถูกนักลงทุนมากหน้าหลายตาจับตามอง เพราะถึงแม้ว่าจะมีข้อเสียคือยังมีพอร์ตเป็นโรงไฟฟ้าจากพลังงานถ่านหินซะเป็นส่วนใหญ่ แต่กลยุทธ์การเติบโตใหม่ด้วยธุรกิจที่เกี่ยวกับ “พลังงานสะอาด” และ “เทคโนโลยีพลังงาน” ก็มีความน่าสนใจไม่น้อย
แล้วเพื่อนๆล่ะ คิดยังไงเกี่ยวกับหุ้นตัวนี้ ? เชิญมาร่วมก้นแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ BPP กันได้เลย
สำหรับในวันนี้พวกเรา หุ้นพอร์ทระเบิด ก็คงจะต้องขอตัวลาเพื่อนๆทุกท่านกันไปก่อน
สวัสดีครับ...
ผู้สนับสนุน
สนใจเปิดบัญชี ค่าคอมหุ้น 0.08 %
TFEX สัญญาละ 18-20
กับโบรคเกอร์
แนะนำหุ้นโดยที่ผู้แนะนำการลงทุนที่มีใบอนุญาต
แจ้งชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรทาง INBOX ได้เลยครับ
โฆษณา