19 มิ.ย. 2021 เวลา 01:09 • ธุรกิจ
Billion Dollar Loser ตอนที่ 6 : Greater Fools
ต้องบอกว่าการสร้างบริษัททางด้านซอฟต์แวร์ อาจต้องใช้เวลาหลายปีในการดำเนินการ Benchmark ต้องทุ่มเงินจำนวนมากให้ WeWork ใช้ในการลงทุนเซิร์ฟเวอร์ จ้างพนักงานด้านไอที รวมถึงเม็ดเงินสำหรับการเปิดสำนักงานให้เช่าแห่งใหม่
2
Billion Dollar Loser ตอนที่ 6 : Greater Fools
WeWork ไม่ใช่บริษัท ซอฟต์แวร์ ค่าใช้จ่ายในการเช่า การปรับปรุงสถานที่ และการดำเนินงานประจำวันนั้นสูงมาก และต้องใช้เงินทุนเพิ่มเติมเพื่อให้ทันกับการเติบโต
Adam มีแนวโน้มที่จะเปิดสำนักงานใหม่ ๆ ในปี 2014 มากกว่าที่เคยทำใน 4 ปีแรก เช่นเดียวกับความหวังที่เพิ่มขึ้นจากนักลงทุนรายใหญ่ที่มีต่อธุรกิจ WeWork
2
ซึ่งเมื่อพา WeWork มาไกลถึงเพียงนี้แล้ว Adam เองก็ไม่ยอมถอยง่าย ๆ การที่บริษัทจะขยายออกไปอีก Adam ก็จำเป็นต้องออกไปหาเงินเพิ่ม ทีมงานของ WeWork ได้เริ่มรวบรวมเอกสารเกี่ยวกับบริษัท เพื่อเสนอให้กับนักลงทุนในวงกว้างมากขึ้น
2
เริ่มมีข้อเสนอมาจากนักลงทุนใหม่ Goldman Sachs ยินดีที่จะลงทุน 220 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมากกว่าตัวเลขที่ Benchmark ลงทุนในครั้งแรกถึงสองเท่า แต่ Adam คิดว่าตัวเลขนี้มันต่ำเกินไป ในตอนนั้น Airbnb กำลังทำข้อตกลงที่มีมูลค่ามากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์
ความเชื่อของ Adam นั้นเป็นผล ไม่นานหลังจากปฏิเสธข้อตกลงจาก Goldman Sachs WeWork ได้ระดมทุน 40 ล้านดอลลาร์ จากนักลงทุนนำโดย DAG Ventures รวมถึงเงินทุนเพิ่มเติมจาก Benchmark ทำให้ WeWork กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่า 440 ล้านดอลลาร์
1
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 ไม่ถึงหนึ่งปีหลังจากการลงทุนรอบล่าสุด JPMorgan Asset Management และนักลงทุนรายอื่น ๆ ได้ลงทุนเพิ่ม 150 ล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่าบริษัทเพิ่มสูงเป็น 1,500 ล้านดอลลาร์ และนั่นเองที่ทำให้ WeWork กลายเป็นบริษัท Unicorn น้องใหม่ของอเมริกาได้สำเร็จ
1
มูลค่า WeWork เพิ่มขึ้นจากการระดมทุนสู่ Unicorn ได้สำเร็จ (CR:IPWatchdog.com)
ในปี 2014 Benchmark ได้นำตัว Luca Gualco ซึ่งเคยช่วยขยายธุรกิจให้ Uber ในระดับสากล ให้มาเป็นหนึ่งในผู้บริหารของ WeWork เพื่อช่วยเหลือ Adam ในการขยายธุรกิจไปในต่างประเทศ
เรียกได้ว่า WeWork กำลังอยู่ในเส้นทางที่สดใส ในการขยายธุรกิจไปทั่วโลก ซึ่งหลังจากนั้นมีการลงทุนในรอบ Series D ที่ทำให้ WeWork กลายเป็นหนึ่งใน Unicorn ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกแซงหน้า Spotify และตามหลัง Theranos เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
3
Adam และ Miguel ได้เก็บหุ้นของพวกเขาไว้ในนามนิติบุคคลที่เรียกว่า We Holdings ซึ่ง Adam เป็นคนคอยควบคุมอยู่ และได้ขายหุ้นมูลค่า 40 ล้านดอลลาร์ออกไป ซึ่งต้องบอกว่า เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจมาก ๆ ที่ Adam ได้ปล่อยหุ้นออกไปจำนวนมหาศาลขนาดนั้น ในขณะที่บริษัทกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด
1
แต่ต้องบอกว่า เขายังมีคะแนนโหวต 65% ของคณะกรรมการบริษัทอยู่ ที่เขายังสามารถควบคุมบริษัทได้แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดจากรูปแบบของหุ้น supervoting
หุ้น “supervoting” ดังกล่าว ได้รับความนิยมใน Silicon Valley ซึ่งเหล่าผู้ก่อตั้งกลัวว่าจะสูญเสียการควบคุมบริษัท Mark Zuckerberg ได้เจรจาข้อตกลงในลักษณะเดียวกัน เช่นเดียวกับ Travis Kalanick แห่ง Uber
2
ถึงสิ้นปี 2014 WeWork มีมูลค่าประเมินอยู่ที่ 5 พันล้านดอลลาร์ ในทางตรงกันข้ามบริษัทอย่าง Regus อดีตฟันเฟืองสำคัญในธุรกิจ Startup ที่เฟื่องฟูในยุค 90 และเกือบต้องล้มละลายเมื่อเกิดฟองสบู่ดอทคอมในปี 2000 ได้เปลี่ยนโฉมหน้าใหม่กลายเป็น IWG – International Workplace Group
ต้องบอกว่า IWG นั้นเป็นธุรกิจที่คล้าย ๆ กับ WeWork แต่มันดูไม่ Sexy เหมือน WeWork มันกลายเป็นธุรกิจที่น่าเบื่อ แม้ว่า IWG จะมีสำนักงานให้เช่ามากกว่าสองพันแห่งที่สร้างรายได้มากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเรียกได้ว่านำห่างสิ่งที่ WeWork มีอยู่มาก ที่ตอนนั้น WeWork สร้างรายได้เพียงแค่ 150 ล้านดอลลาร์เท่านั้น แต่มูลค่าบริษัทกลับสูงถึง 5 พันล้านดอลลาร์
แม้ WeWork จะทำสิ่งที่แตกต่างจาก IWG อย่างชัดเจน มีการสร้างสีสัน และเป็นมิตรกับเหล่าผู้เช่า พร้อมทะยานไปกับเหล่า Startup ที่กำลังจะมาเปลี่ยนโลก แต่ IWG ส่วนใหญ่เป็น office สำนักงานใช้จริง และ ดูล้าสมัย แต่พวกเขาก็ทำเงินได้จริงเฉกเช่นเดียวกัน
2
นั่นทำให้ Adam ต้องการความช่วยเหลือเมื่อ WeWork ต้องเริ่มเข้าหานักลงทุนรายใหญ่ Adam ได้ว่าจ้าง Michael Gross ซึ่งเข้ามาแทนที่ Ariel Tiger อดีตเพื่อนในกองทัพเรือของเขาในตำแหน่ง CFO ของ WeWork
2
Michael Gross มือดีที่ Adam ได้มาช่วยในการระดมทุนครั้งใหญ่ (CR:crainsnewyork.com)
ความพยายามในการระดมทุนของ Adam และ Gross เป็นกุญแจสำคัญในการเติบโตของบริษัท ในขณะที่ Miguel นั้น เป็นคนดูแลในเรื่องสำนักงาน รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของบริษัท ให้เป็นที่สนใจของนักลงทุน
Miguel นั้นเชื่อมั่นในบริษัท และคุณภาพของสิ่งที่พวกเขากำลังก่อสร้าง แต่เขาไม่ได้มีความสามารถแบบ Adam ที่มีความทะเยอะทะยานอันยิ่งใหญ่
แต่ต้องบอกว่า อสังหาริมทรัพย์ นั้นมันแตกต่างจากธุรกิจแพล็ตฟอร์มในโลกของเทคโนโลยี มันไม่มีพลังของ Network Effect ที่ทำให้บริษัทอสังหาริมทรัพย์ใด ๆ กลืนกินอุตสาหกรรมทั้งหมดแบบที่บริษัทเทคโนโลยีทำได้ แม้แต่บริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็มีสัดส่วนการตลาดแค่ 1% เพียงเท่านั้น
2
เมื่อ Adam เข้าหานักลงทุนด้านเทคโนโลยี เขาเน้นย้ำถึงเงินที่สามารถทำได้ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยในปี 2015 Adam ได้นำเสนอแนวทางใหม่ : WeWork จะเป็นบริษัทชุมชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ sharing economy ซึ่ง WeWork ต้องการ Economy of scale เพื่อบีบให้มีผู้เช่าจ่ายเงินเงินมากขึ้นได้
แต่ปัญหามันได้เริ่มเกิดขึ้น ในปี 2015 เพียงไม่กี่เดือนหลังจาก WeWork ได้รับการลงทุนใน Series D ทีมการเงินเริ่มเข้าหานักลงทุนเกี่ยวกับการเพิ่มทุนอีกครั้ง ซึ่งจะช่วยให้บริษัทสามารถรับมือกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้
ราคาอสังหาริมทรัพย์พุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เนื่องจากเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหมายความว่า WeWork ต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าของจำนวนเงินต่อตารางฟุตเลยทีเดียว
ในบรรดาบริษัทที่พิจารณาการลงทุน หนึ่งในนั้นคือ Softbank ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทของญี่ปุ่น ซึ่งมีบริษัทร่วมทุนขนาดเล็กในอเมริกา นักลงทุนรายหนึ่งในนิวยอร์กแนะนำ WeWork ให้กับ Softbank ที่อาจต้องการวางเดิมพันก้อนใหญ่
1
แต่เรื่องราวของ WeWork มันแทบไม่ถึงหูของ Masayoshi Son ผู้ก่อตั้งของ Softbank เลยในตอนนั้น เพราะ Softbank มองไม่เห็นว่า WeWork เกี่ยวข้องกับบริษัททางด้านเทคโนโลยีอย่างไร การตอบสนองจาก Softbank เป็นไปในทางลบเป็นอย่างมาก
ในเดือนมิถุนายมปี 2015 Glade Brook , Fidelity และนักลงทุนอีกหลายคน ได้ร่วมลงทุน 434 ล้านดอลลาร์ใน Series E ของ WeWork ด้วยการประเมินมูลค่าที่สูงกว่า IWG ที่มีการซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนมากกว่า 3 เท่า
การประเมินมูลค่ารอบใหม่ทำให้นักลงทุนกลุ่มแรก ๆ ร่ำรวยกันไปตาม ๆ กัน แต่ก็ทำให้เกิดความวิตกกังวัลภายใน
“นี่เป็นตัวเลขที่โง่มาก” สมาชิกคนหนึ่งในทีมการเงินของ WeWork กล่าวในการประชุมกับ Adam และผู้บริหารอื่น ๆ เกี่ยวกับข้อตกลงในรอบการลงทุน Series E
2
นักลงทุนต่างร้สึกทึ่งกับการเติบโตของรายได้บริษัท ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในทุก ๆ ปี โดยพวกเขาเลือกมองข้ามความเป็นจริงที่ว่า ต้นทุนก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน
1
แม้มูลค่าบริษัทจะพุ่งขึ้นไปสูงถึง 10,000 ล้านดอลลาร์ แต่สวัสดิการของพนักงาน WeWork เองดูเหมือนจะไม่พัฒนาขึ้นมาเลย เหล่าคนงานทำเงินได้ 11 เหรียญต่อชั่วโมง โดยไม่มีสวัสดิการใด ๆ ในขณะที่ภารโรงในนิวยอร์กส่วนใหญ่ได้รับค่าจ้างรายชั่วโมงมากกว่า 20 เหรียญพร้อมกับสวัสดิการที่ดีกว่ามาก
และนั่นเองที่ทำให้ WeWork ต้องมาเจออีกหนึ่งปัญหาใหญ่นั่นก็คือ สหภาพแรงงาน ที่ได้กลายเป็นตัวแทนของคนงานในไซต์ก่อสร้างและการจัดการอาคารต่าง ๆ ของบริษัท ที่กำลังก่อตัวขึ้น และ Adam เองก็ไม่ชอบมันเป็นอย่างมาก
แต่ WeWork หลีกหนีสหภาพแรงงานเหล่านี้ โดยว่าจ้าง UA Builders ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในโลกแห่งการก่อสร้างในนิวยอร์กที่หลีกเลี่ยงการใช้แรงงานที่อยู่ภายใต้สหภาพแรงงานแทน ซึ่งยิ่งทำให้ปัญหาเริ่มหมักหมมขึ้นเรื่อย ๆ
2
ในช่วงฤดูร้อนปี 2015 WeWork ได้ว่าจ้างพนักงานใหม่มากกว่า 30 คนทุกสัปดาห์ ซึ่งคิดเป็น 10 เท่าของจำนวนคนที่เข้ามาใหม่ และพนักงานก็ลาออกอย่างต่อเนื่อง แม้ Adam จะพยายามขายฝันของเขาหลอกล่อให้คนเข้ามาทำงานใหม่ได้เรื่อย ๆ ก็ตามที
1
และตัว Adam เอง ก็มักไปทะเลาะกับพนักงานอยู่เป็นประจำ เขาไล่คนทำความสะอาดคนหนึ่งที่ชี้หน้าด่า Adam ว่า เขาเป็นมหาเศรษฐีบนกระดาษ
เหล่าพนักงานภายในเริ่มสุมหัวกัน วิจารณ์นโยบายต่าง ๆ ของ WeWork ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสวัสดิการ รายได้ หรือแม้กระทั่งการแบ่งแยกทางเพศ ที่ผู้ชายมักได้รับโอกาสมากกว่าผู้หญิง โดยเฉพาะในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง
ดูเหมือนว่า เมื่อถึงปี 2015 แม้จะระดมทุนได้จำนวนมหาศาล แต่ปัญหาภายในกำลังรุมเร้า WeWork และ Adam มากขึ้นเรื่อย ๆ และ การจะเติบโตต่อไปได้นั้น ก็ต้องการเงินลงทุนเพิ่ม
2
ต้องบอกว่า WeWork ไม่สามารถเติบโตได้เหมือนธุรกิจแพล็ตฟอร์ม และดูเหมือนมันใกล้จะถึงทางตันเต็มที่แล้ว หากไม่สามารถหาเงินทุนมาต่อยอดออกไปเรื่อย ๆ ได้ แล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อกับ Adam และ WeWork โปรดอย่าพลาดติดตามต่อในตอนหน้านะครับผม
อ่านตอนที่​ 7​ : Last Breath
ย้อนไปอ่านตั้งแต่ตอนแรก & Credit แหล่งข้อมูลบทความ
ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA ด.ดล Blog
รวม Blog Post ที่มีผู้อ่านมากที่สุด
=========================
ร่วมสนับสนุน ด.ดล Blog และ Geek Forever Podcast
เพื่อให้เรามีกำลังในการผลิต Content ดี ๆ ให้กับท่าน
——————————————–
ติดตาม ด.ดล Blog ผ่าน Line OA เพียงคลิก :
=========================
ฟัง PodCast เรื่องเกี่ยวเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ที่ Geek Forever’s Podcast
——————————————–
ฟังผ่าน Podbean :
——————————————–
ฟังผ่าน Apple Podcast :
——————————————–
ฟังผ่าน Google Podcast :
——————————————–
ฟังผ่าน Spotify :
——————————————–
ฟังผ่าน Youtube :
——————————————–
ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
=========================

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา