21 มิ.ย. 2021 เวลา 13:31 • สุขภาพ
Phantom Ringing Syndrome
2
Phantom Ringing Syndrome หรือ แฟนธอม ริงกิง ซินโดรม คือ คำเรียกอาการที่เชื่อว่าโทรศัพท์กำลังดังอยู่ แต่จริง ๆ แล้วไม่ได้มีเสียงแจ้งเตือนจากโทรศัพท์เลย นี่เป็นเหตุให้เราหยิบโทรศัพท์ออกมาเช็คบ่อยครั้ง ชื่อเล่นของอาการนี้คือ ‘ริงไซตี’ (Ringxiety) ที่ตั้งโดยจิตแพทย์ เดวิด ลารามี (David Laramie) โดยเกี่ยวโยงกับอาการแฟนธอม ไวเบรชัน ซินโดรม (Phanthom Vibration Syndrome) หรือความรู้สึกที่ว่าโทรศัพท์สั่นทั้งที่ไม่ได้สั่นเกิดจากอะไร
ดร.โรเบิร์ต โรเซนเบอร์เกอร์ (Dr. Robert Rosenberger) จากสถาบันเทคโนโลยีจอร์เจีย (Georgia Institute of Technology) เผยกับหนังสือพิมพ์ The Independent ว่าปรากฏการณ์นี้เกิดจาก ‘กระบวนการเรียนรู้ของร่างกาย’ นิสัยที่เกิดจากการเรียนรู้ของร่างกายนี้เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงว่าร่างกายรับรู้ว่าโทรศัพท์เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย และเรียนรู้ที่จะไวต่อการตอบสนองของการสั่นของโทรศัพท์เมื่อมีคนโทรเข้าหรือได้รับการแจ้งเตือนหรือส่งข้อความ
Phantom Ringing Syndrome
อาการ
ดร.โรเบิร์ต โรเซนเบอร์เกอร์ (Dr. Robert Rosenberger) ได้ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของเทคโนโลยี ต่อพฤติกรรมของผู้ใช้ระบุว่าเกิดจากความกังวลว่าโทรศัพท์จะสั่นจนกลายเป็นนิสัย อาการหลอนว่ามือถือสั่นบ่อย ๆ กว่า 90% เกิดจากการเรียนรู้ของร่างกาย และแทบจะกลายเป็นพฤติกรรมติดตัวของคนยุคนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีการแจ้งเตือนใดๆ ซึ่ง Phantom Vibration Syndrome (PVS) น่าจะเกิดจากความวิตกกังวลว่าจะพลาดสายเรียกเข้าหรือข้อความ จนหลอนว่าโทรศัพท์อาจจะสั่นเตือน ซึ่งบางคนถึงกับหูแว่วได้ยินเสียงโทรศัพท์เลยก็มี จนลามไปถึงการไหวของเสื้อผ้าเป็นการสั่นของโทรศัพท์ด้วย
แม้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของอาการดังกล่าวจะมีหลายตัวแปร แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามันมีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการใช้มือถือเป็นหลัก นั่นคือ เมื่อโทรศัพท์มีบทบาทในการใช้ชีวิตมากขึ้น ย่อมทำให้สมองจดจำพฤติกรรมและความรู้สึกเวลาที่มันสั่นแจ้งเตือนเอาไว้ จากนั้นด้วยความหวังดีของสมอง มันก็จัดให้การสั่นนี้เป็นความสำคัญลำดับแรก ๆ และหากยิ่งใช้บ่อยสมองก็จะจดจ่อและโฟกัสกับการสั่นทำให้เกิดอาการ “สั่นหลอก” ขึ้นในที่สุด โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ให้ความสำคัญกับการส่งข้อความมาก ๆ พบว่ามีโอกาสเกิด Phantom vibration Syndrome บ่อยครั้ง บางคนมีอาการนี้เป็นประจำติดต่อกัน เพราะยิ่งมีความคาดหวังว่าจะได้รับข้อความ หรือให้ความสำคัญกับโทรศัพท์มากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีโอกาสเกิดอาการดังกล่าวมากขึ้นเท่านั้น
#สาระจี๊ดจี๊ด
อาการนี้น่าจะก่อความรำคาญและอาจทำให้เสียสมาธิไปไม่น้อยเหมือนกัน หากเป็นไปได้ ลองเว้นระยะห่างจากสมาร์ทโฟนและเครื่องสื่อสารเพิ่มขึ้นอีกนิด ยกตัวอย่างเช่น ตอนเข้านอนก็ปิดโทรศัพท์มือถือไปเลย หรือลองวางเครื่องมือสื่อสารไว้ห่างตัว แล้วหันมาใช้ชีวิตสโลว์ไลฟ์ดูบ้าง
แม้ว่า Phantom Vibration Syndrome จะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ทว่าในปัจจุบันนักวิจัยกลับพบว่าอาการนี้แพร่ไปในวงกว้างได้อย่างรวดเร็วขึ้นทุกวัน ซึ่งก็น่าตกใจไม่น้อยที่สังคมปัจจุบันปล่อยให้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นเหมือนอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายที่ขาดแทบไม่ได้
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา