2 ก.ค. 2021 เวลา 12:59 • การศึกษา
Holding Company
วิธีจัดการทรัพย์สินของคนรวย
เป็นกลยุทธ์ในการบริหารสินทรัพย์ และจัดการภาษี ของกลุ่มธุรกิจซึ่งมักจะพบในธุรกิจครอบครัว (กงสี) หรือ แม้แต่บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ และเริ่มเกิดขึ้นเยอะในช่วงที่มีกระแสของ ภาษีมรดก
1
ลักษณะของบริษัท Holding คือบริษัทที่ไม่ได้มีการดำเนินการ แต่เป็นบริษัทที่นำเงินหรือทรัพย์สิน ไปลงทุนในกิจการอื่นๆ (บริษัทลูก) อีกทอดหนึ่ง เพื่อรับเงินปันผล อีกทั้งยังสามารถควบคุมนโยบาย บริษัทลูกๆ ได้เพราะ Holding เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
1
ทรัพย์สินต่างๆ สามารถนำมาเป็นสินทรัพย์เพื่อจัดตั้ง กิจการ Holding ได้ เช่น เครื่องจักร, อสังหาฯ, เครื่องหมายการค้า แล้วสามารถปล่อยเช่าให้กับบริษัทลูกอื่นๆ ได้อีกด้วย
1
ธุรกิจกงสี มักใช้บริษัท Holding ในการแบ่งส่วนให้กับลูกหลาน เช่น นายเอมี 3 บริษัท แต่มีลูกชาย 5 คนก็สามารถจัดตั้ง Holding เพื่อแบ่งหุ้นให้แต่ละคนได้
หรือ ถ้าลูกแต่ละคนควบคุมกิจการแต่ละบริษัท สามารถให้บริษัทลูก ส่งกำไรเข้า Holding และจัดสรรออกในฐานะกองกลาง เพื่อสามารถป้องกันความขัดแย้งได้อีกทางหนึ่ง
ตัวอย่าง Holding Company ที่มีอยู่ในประเทศไทย เช่น
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) – PTT ถือหุ้นบริษัทลูกในเครือ ได้แก่ PTTEP, PTTGC, IRCP, GPSC, GGC และ TOP
บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) – BTS ถือหุ้นบริษัทลูกในเครือ ได้แก่ BTSGIF, VGI, MACO, COM7, JMART, RS, NOBLE และ U
บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) – INTUCH ถือหุ้นบริษัทลูกในเครือ ได้แก่ ADVANCE และ THCOM
1
⛳ ประโยชน์ที่ได้จากการจัดตั้งบริษัท Holding
1. จำกัดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ
เพราะโครงสร้าง Holding สามารถแบ่งสัดส่วนในบริษัทลูกต่างๆ เจ้าหนี้ไม่สามารถฟ้องร้อง ข้ามบริษัท และเข้ามาไม่ถึงกรรมการได้ (บริษัทลูก ล้มแต่บริษัทอื่นยังอยู่)
2. จัดการทรัพย์สินสามารถทำได้สะดวกกว่า
Holding Company ช่วยให้ธุรกิจครอบครัวโปร่งใส สามารถแบ่งไลน์ธุรกิจและสัดส่วนทรัพย์สิน รวมถึงเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้สะดวก และเท่าเทียม
เช่น หากครอบครัวมี 3 บริษัท และอยากจะแบ่งทรัพย์สินให้กับลูก 5 คน แทนที่จะมาจัดการกระจายแบ่งหุ้นทีละบริษัทให้ลูกๆ ก็ตั้ง Holding Company ขึ้นมา แล้วทำการออกหุ้นในนามโฮลดิ้งให้ลูกทั้ง 5 คนนั้น โดยเราสามารถกำหนดสัดส่วนของการแบ่งหุ้นให้กับลูกๆ ได้อีกด้วย
3. ช่วยลดภาระภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากเงินปันผล
หากบริษัทมีกำไรสะสมอยู่ และจำทำการจ่ายปันผลออกมาจะต้องเสีย ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% ในการจ่ายแก่กรรมการผู้เป็นเจ้าของ แต่ในกรณี บริษัท Holding ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อถือหุ้นบริษัทอื่นๆนั้น หากดำเนินการจ่ายปันผล สามารถยกเว้นภาษี หัก ณ ที่จ่ายตัวนี้ได้ ตามมาตร 65ทวิ10
ซึ่งมีเงื่อนไขดังนี้
- Holding ต้องถือหุ้นเกินกว่า 25% ของหุ้นที่สิทธิออกเสียง
- Holding ต้องถือหุ้นก่อนวันที่มีสทธิรับปันผลมากกว่า 3 เดือนและต้องถือต่อไปอีก 3 เดือน หลังมีสิทธิ ได้รับปันผล (หน้า3/หลัง3)
- บริษัทลูกต้องไม่ถือหุ้นใน Holding (ห้ามถือหุ้นไขว้)
4. ช่วยลดภาระภาษีจากรายได้ดอกเบี้ยรับระหว่างกิจการในเครือ
Holding Company ได้สิทธิไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่จ่ายให้แก่กันและกันระหว่างบริษัทในเครือเดียวกัน ตามข้อ 2 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 26/2534
2
กล่าวคือ Holding Company สามารถนำเงินที่ได้มาปล่อยกู้ให้กับบริษัทลูก โดยที่ตัว Holding Company จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะจากดอกเบี้ยที่ได้รับ ( ร้อยละ 3.3% ) โดยดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปล่อยให้บริษัทลูกจะต้องเป็นราคาที่อ้างอิงจากตลาด ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
5. ลดภาระในทางกฏหมาย
1
เช่น ผู้ถือหุ้นไม่ต้องตามประชุมผู้ถือหุ้นทุกบริษัทที่เข้าไปลงทุน หากแต่เข้าประชุมในบริษัท Holding company แห่งเดียวก็สามารถทราบผลการดำเนินงานในทุกบริษัทย่อยที่เข้าลงทุน
จะเห็นได้ว่าการจัดตั้ง Holding Company มีประโยชน์หลายด้าน และที่เห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ สิทธิประโยชน์ด้านภาษีนั่นเอง
💦.....อย่างไรก็ตาม สำหรับนักลงทุน การจะลงทุนใน Holding Company ถือว่าเป็นกิจการที่มีความซับซ้อน เพราะบริษัทแม่ส่วนใหญ่จะถือหุ้นในบริษัทลูกหลายบริษัท ซึ่งแต่ละบริษัทก็มีลักษณะเฉพาะตัวที่มีความแตกต่างกันไป การจะพิจารณาลงทุนจึงต้องเพิ่มความระมัดระวังและรอบคอบมากยิ่งขึ้น
1
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
สามารถเยี่ยมชมเราผ่านช่องทางอื่นตามลิ้งข้างล่างนี้ค่ะ :
ขอบคุณทุกๆ กำลังใจที่มีให้กันเสมอค่ะ
🌷🌷❤❤🙏🙏🙏🙏❤❤🌷🌷

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา