25 มิ.ย. 2021 เวลา 01:00 • อาหาร
ถั่วพู (Winged Bean) คืออะไร?
#สาระจี๊ดจี๊ด
ถั่วพู มักถูกเรียกผิด ๆ ว่า ถั่วพลู เป็นประจำ ที่จริงต้องเรียกว่า ถั่วพู
ถั่วพู มีชื่อวิทยาศาสตร์ : Psophocarpus tetragonolobus เป็นไม้เลื้อยขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศเขตร้อนแถบปาปัวนิวกินี และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนที่นำมาปรุงเป็นอาหารคือส่วนฝักที่มีลักษณะแบนยาว มีปีกหยักคล้ายฟันเลื่อย 4 ด้าน ภายในฝักมีเมล็ดทรงกลมอยู่ ฝักอ่อนให้รสมันและมีโปรตีนสูง เหมาะกับคนกินมังสวิรัติ นอกจากนี้แล้ว รากของถั่วพูยังมีคุณสมบัติในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศลงดิน ถั่วพูจึงถือเป็นพืชบำรุงดินที่นิยมปลูกในระหว่างพักดินอีกด้วย
ถั่วพู (Winged Bean)
ถั่วพูมีกากใยสูง ช่วยให้ระบบการขับถ่ายทำงานได้ดี ทั้งยังถือกันว่าเป็นพืชที่มีฤทธิ์เย็น ช่วยแก้ร้อนใน กระหายน้ำ บรรเทาอาการปวดเมื่อย แก้ตัวร้อน ลดไข้ และช่วยให้มีการดูดซึมแคลเซียมและสารอาหารต่างๆ ได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ถั่วพูดิบมีสารเอนไซม์ทริปซิน (Trypsin) ที่ขัดขวางการย่อยโปรตีนอยู่ จึงไม่ควรกินถั่วพูสดในปริมาณที่มากเกินไป
สรรพคุณของถั่วพู
ฝัก,ฝักอ่อน
- ช่วยบำรุงร่างกาย
- ช่วยแก้อาการอ่อนเพลียได้
- ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายและทำให้ร่างกายแข็งแรง
- ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
- ช่วยระบบขับถ่ายให้ทำงานอย่างเป็นปกติ ช่วยป้องกันอาการท้องผูก
- ช่วยแก้อาการตัวร้อน ลดไข้ในเด็กทารก
- ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
1
หัว
- ช่วยบำรุงกำลัง
- ช่วยทำให้ดวงจิตชุ่มชื่น
- ช่วยแก้ไข้กาฬ
- ช่วยแก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ
ใบ
- ใบถั่วพูช่วยแก้อาการอาเจียน
ราก
- รากใช้ประกอบสมุนไพรและน้ำดอกไม้ ใช้เป็นยาแก้โรคหัวใจ
- ช่วยแก้อาการปวดมวนท้อง
- ช่วยแก้โรคลมพิษกำเริบ ทำให้คลั่ง
- ใช้ปรุงเป็นยาโรคเพื่อวาโยธาตุกำเริบ
- ​ใช้รักษาดีพลุ่งพล่าน ให้คลั่งเพ้อ อาการปวดมวนท้อง กระทำให้ตาแดง ซึ่งในตำรับยาประกอบไปด้วย รากถั่วพู, พริกไทย, จันทร์ทั้งสอง, กฤษณาเสมอภาค, น้ำกระทือ, น้ำมะนาว, น้ำอ้อย, และคุลีกา
#สาระจี๊ดจี๊ด
ถั่วพูเป็นยอดอาหารเหนือชั้นที่มีความเหนือกว่าพี่น้องตระกูลถั่วทั้งหลาย มีประโยชน์มาก และยังเป็นพืชเพียงไม่กี่ชนิดที่สามารถนำมารับประทานได้แทบทุกส่วนของต้น เป็นพืชที่มีสารขัดขวางต่ำ จึงช่วยทำให้การดูดซึมของแคลเซียมเป็นไปได้ด้วยดี เมื่อรับประทานถั่วพูแล้วร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมไปใช้ได้ถึง 39.1-51.9% เลยทีเดียว
#สาระจี๊ดจี๊ด
ในบ้านเรามีการบริโภคหัวถั่วพู ด้วยการนำมาต้มกินคล้ายกับหัวมัน โดยหัวใต้ดินของถั่วพูนี้จะมีประมาณของโปรตีนสูงถึงร้อยละ 20-30 เลยทีเดียว จึงมีการนำหัวมาแปรรูปเป็นแป้งสำหรับใช้ประกอบอาหาร หรือนำไปเชื่อมเป็นขนมหวาน หรือจะฝานเป็นแผ่นบาง ๆ แล้วนำมาทอดกรอบเหมือนมันฝรั่งก็ได้ แถมยังเป็นอาหารขบเคี้ยวที่มีโปรตีนสูงอีกด้วย
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา