26 มิ.ย. 2021 เวลา 00:00 • การศึกษา
10 เรื่องน่ารู้ เพราะโลกเราอยู่ในอวกาศ ตอนที่ 1
1. เรากำลังอยู่ในสวนสนุก
จักรวาลเปรียบเสมือนดรีมเวิร์ล สวนสยาม หรือไม่ก็ ดิสนีย์แลนด์อะไรประมาณนั้น เพราะแม้เราจะรู้สึกว่า ตัวเองไม่ได้เคลื่อนที่หรือเล่นผาดโผน แต่โลกของเรากลับกำลังพุ่งอยู่ในอวกาศด้วยความเร็วระดับมหาศาล
โลกหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็ว 1,670 กม.ต่อชั่วโมง หรือที่เราเข้าใจกันดีว่า หนึ่งรอบที่โลกหมุนใช้เวลาเกือบ ๆ 24 ชม. ความเร็วนี้เมื่อเทียบกับรถไฟความเร็วสูง มันยังเร็วกว่า 3 เท่าด้วยกัน นอกจากนี้ โลกยังโคจรรอบดวงอาทิตย์ ด้วยความเร็ว 107,000 กม.ต่อชั่วโมง มันเร็วกว่า 30 เท่า​ ของเครื่องบินที่เร็วที่สุด เกร็ดน่ารู้เล็กน้อย ดวงอาทิตย์ก็หมุนรอบตัวเองเช่นกัน มันใช้เวลาหมุน 1 รอบ เท่ากับ 25 วันบนโลก
1
นอกจากนี้ ระบบสุริยะจักรวาล ที่ประกอบด้วยดาวเคราะห์ 8 ดวง ยังเคลื่อนที่ไปพร้อม ๆ กับการหมุนรอบแกนของกาแลคซี่ทางช้างเผือกอีกด้วย รวมระยะเวลากว่าจะครบ 1 รอบ ก็ราว​ ​ๆ​ 250 ล้านปีบนโลก ด้วยความเร็ว 800,000 กม. ต่อชั่วโมง ซึ่งเร็วกว่าความเร็วของการส่งจรวดขึ้นสู่อวกาศ 20 เท่า รู้อย่างนี้แล้ว แม้เวลานอน เราก็ไม่ได้อยู่นิ่ง ๆ เลยใช่มั๊ยล่ะ
2
2. ซูเปอร์คลัสเตอร์ คือถุงใส่กาแลคซี่
ก่อนปี ค.ศ. 1920 เคยมีดาราศาสตร์ จินตนาการถึงจักรวาลอันกว้างใหญ่ และมโนไปว่า กาแลคซี่ทางช้างเผือก คือกาแลคซี่ที่ใหญ่ที่สุด ดาวแทบทุกดวง อยู่ในกาแลคซี่นี้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป เราก็ค้นพบกาแลคซี่ใหม่ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ตราบเท่าที่อุปกรณ์สำหรับส่องดาว​ของมนุษย์จะส่องถึง นั่นทำให้เราพบรูปแบบการมีอยู่ของแต่ละกาแลคซี่
ซูเปอร์คลัสเตอร์ เปรียบเสมือนลูกโป่งบรรจุกาแลคซี่ ในซูเปอร์คลัสเตอร์ลานีอาเคีย​ ซึ่งมีกาแลคซี่ทางช้างเผือก ยังเต็มไปด้วยกาแลคซี่อื่น ๆ อีกไม่ต่ำกว่า 100,000 กาแลคซี่ ใน 1 กาแลคซี่จะมีดาวฤกษ์ หรือดาวที่ให้แสงสว่างคล้ายดวงอาทิตย์ไม่ต่ำกว่า 200,000 ล้านดวง
2
จากที่ส่องด้วยกล้องบนโลก และกล้องจากยานต์อวกาศ ที่ส่งออกไปสำรวจนอกโลก ทำให้เราพอจะทราบตัวเลขที่นับได้​ อย่างน้อยก็ขณะนี้ คือมีซูเปอร์คลัสเตอร์อยู่ประมาณ 10 ล้านซูเปอร์คลัสเตอร์ นั่นเท่ากับว่ามีกาแลคซี่อยู่ประมาณ 100,000 ล้านกาแลคซี่ และมีจำนวนดาวฤกษ์ ดาวที่สามารถให้แสงสว่างได้ประมาณ 1 .. ตามด้วยเลขศูนย์อีก 22 ตัว นอกถุงซูเปอร์คลัสเตอร์ ก็จะเป็นเพียงพื้นที่เวิ้งว้าง ไร้หมู่ดาว
2
3 เส้นทางการเป็นนักบินอวกาศ
การจะเป็นนักบินอวกาศได้ หรือสามารถควบคุมกระสวยอวกาศได้ มีระเบียบและกฎเกณฑ์อยู่มากมาย โดยเฉพาะเรื่องภาษารัสเซีย ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด กฎหลักข้อสำคัญของผู้ฝูงคือ ต้องอ่านภาษารัสเซียออก และเข้าใจมันได้เป็นอย่างดีเท่านั้น
สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะบนสถานีอวกาศ หรือกระสวยอวกาศมักเต็มไปด้วยอักษรภาษารัสเชีย เสียเป็นส่วนใหญ่ ทั้งแผงควบคุม วงจรหลักต่าง ๆ นี่ยังไม่รวมมนุษย์อวกาศ ที่ประจำการอยู่บนสถานีไอเอสเอส ครึ่งหนึ่งนั้นเป็นชาวรัสเซีย
1
นอกจากนี้ก็ยังมีกฎย่อย ๆ อีกหลายข้อ อาทิเช่น นักบินอวกาศต้องว่ายน้ำเป็น ต้องสูง 157-190 เซนติเมตร ต้องจบปริญญาด้านวิทยาศาสตร์ หรือไม่ก็คณิตศาสตร์ ต้องเคยฝึกเอาตัวรอดในป่า ต้องขับเครื่องบินเจ็ทได้ เป็นต้น
4 ดวงอาทิตย์ตกวันละ 15 ครั้ง บนไอเอสเอส
International Space Station (ISS)​ หรือ สถานีอวกาศนานาชาติ คือโครงการจากความร่วมมือของ 5 หน่วยงานวิจัยอวกาศ คือ NASA (สหรัฐอเมริกา), RKA (รัสเซีย ), CSA (แคนาดา), JAXA (ญี่ปุ่น), ESA (สหภาพยุโรป) เพื่อสร้างสถานนีสำหรับการทดลองสิ่งต่าง ๆ ที่ลอยลำอยู่เหนือพื้นผิวโลก บริเวณที่เรียกว่า วงโคจรต่ำ
3
โครงการเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 1998 และมีแผนจะใช้งานไปจนถึงปี 2028 ถือว่าเป็นสิ่งก่อสร้างจากฝีมือมนุษย์ใหญ่ที่สุด ที่ลอยอยู่นอกโลก มันสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จากพื้นดิน
1
สำหรับนักบินอวกาศ ที่ปฎิบัติภาระกิจอยู่บนสถานีอวกาศไอเอสเอส จะสามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ตก ได้วันละ 15 ครั้ง เนื่องจากมันจะโคจรรอบโลกในทุก ๆ 92 นาที นั่นแปลว่า นักบินฯ​จะได้เห็นดวงอาทิตย์ขึ้น หรือตกในทุก ๆ 46 นาที
1
5 ชาวมายา คือนักดาราศาสตร์ขั้นเทพ
ย้อนกลับไปในอดีตกาลพันกว่าปีที่แล้ว ชนชาวมายาที่อาศัยอยู่​แถบอเมริกากลาง ใช้การทำนายดวงดาวต่างๆ ทั้งดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวศุกร์ และดาวเคราะห์ น่าอัศจรรย์​ที่มีความแม่นยำมากถึง 99.9%
เทพดาราศาสตร์แห่งชาวมายาค้นพบว่า ดาวศุกร์จะวนกลับมา หรือโคจรมาที่ตำแหน่งเดิม ในทุก ๆ 584 วัน และยังค้นพบวันเริ่มต้นของการโคจรซึ่งเท่ากับ 365 วัน หรือ 1 ปีบนโลก จะตรงกับวันเริ่มต้นโคจร 584 วัน ของดาวศุกร์ ในทุก ๆ 8 ปี
1
สิ่งนี้ทำให้ชาวมายา​ บูชาดาวศุกร์ เสมือนเทพแห่งสงคราม มักวางแผนการโจมตีแต่ละครั้ง ให้สัมพันธ์กับการโคจรของดวงดาว ด้วยความเชื่อว่าเทพแห่งสงครามจะอยู่เคียงข้างพวกเขา
6 มีคนเกือบบ้าเท่านั้นที่นับดาว
เชื่อว่าหลายคนอาจเคยนอนดูดาว พร้อมกับใช้เวลานั้นนับดาวควบคู่กันไปด้วย ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่คุณรู้ไหม มีคนบางคนตั้งใจนับมันอย่างจริงจัง ซึ่งแน่นอนว่า คงต้องนับเฉพาะดวงที่สามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่าเท่านั้น​
ให้ตายเถอะ !! คนเกือบบ้าคนนี้ คือศาสตราจารย์ชาวอเมริกันชื่อ ดอร์ริต ฮอฟไฟต์ เธออุทิศเวลาหลายปี ให้กับการนับดาว และอัพเดทรายการอยู่อย่างสม่ำเสมอ เธอตั้งชื่อบันทึกนี้ว่า เยลไบร้สตาร์แคตตาล็อก ซึ่งหากดูจากข้อมูลของศาสตราจารย์ จะพบว่า มีดาวอยู่ในบันทึกจำนวน 9,096 ดวง ให้เราได้ชมจากท้องฟ้า
1
7 เราเคยมีดาวเคราะห์ 19 ดวง
ก่อนช่วงศตวรรษที่ 19 นักดาราศาสตร์ค้นพบดวงดาวจำนวน 19 ดวง ซึ่งโคจรรอบดวงอาทิตย์ ประกอบขึ้นเป็นระบบสุริยะจักรวาล ที่เรารู้จักกันดี ผ่านมาช่วงต้นศตวรรษที่ 19 นักดาราศาสตร์ ก็พบว่ามันไม่ถูกต้องเท่าไหร่ เหตุผลมาจากกลุ่มดาวขนาดเล็ก ที่อยู่ระหว่างดาวอังคารไปถึงดาวพฤหัสนั้นต่างออกไป จึงได้ตำแนกสถานะให้เป็น ดาวเคราะห์ย่อย ซึ่งนับจากนิ้วแล้ว ก็ได้ 10 ดวงพอดี
ต่อมาในปี ค.ศ.1850 นักดาราศาสตร์ มองว่ากลุ่มดาวเหล่านี้นั้น มีขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์มากเกินไป จึงลำดับสถานะใหม่ ให้เป็นดาวเคราะห์น้อย และบริเวณส่วนนี้ของวงโคจรจึงถูกเรียกว่า แถบดาวเคราะห์น้อย
ในปี ค.ศ. 1930 โลกเราก็ได้ค้นพบเข้ากับดาวพลูโต ดาวดวงที่ไกลที่สุดในขณะนั้น และมอบสถานะดาวห์เคราะห์ ให้แก่มัน จนกระทั่งล่วงเลยเข้าสู่ปี ค.ศ. 2008 นักดาราศาสตร์ก็ดันค้นพบดวงดาวขนาดใกล้เคียงกับพลูโตอีกสามดวง นั่นเป็นเหตุให้พลูโต ถูกลดฐานะลงเป็น ดาวเคราะห์แคระแทน
อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัยว่า นักดาราศาสตร์จำแนกดวงดาวเหล่านี้ออกจากกันอย่างไร เรื่องนี้เราอาจต้องย้อนกลับไปที่จุดกำเนิดของดวงดาว โดยจากการสันนิฐาน ตอนที่ระบบสุริยะถือกำเนิด ก็เกิดกลุ่มก้อนหิน กลุ่มก๊าซและฝุ่นละอองต่าง ๆ มากมายมารวมกัน เกิดเป็นวัตถุที่มีรูปร่างแตกต่างกันออกไป
1
กลุ่มก้อนขนาดใหญ่ ที่หล่อหลอมรวมกัน กลายเป็นวัตถุขนาดใหญ่ กระทั่งแรงโน้มถ่วงจากตัวมันเองดึงดูดให้กลายเป็นทรงกลมขนาดมหึมา หรือก็คือดาวเคราะห์นั่นเอง ในขณะที่ก่อตัว แรงดึงดูดของดาวเคราะห์ ยังสามารถดึงเอาดาวเคราะห์น้อยเข้ามาได้อีกด้วย ซึ่งในจุดนี้ ดาวเคราะห์แคระไม่สามารถทำได้
8 ดาวแต่ละดวงประกอบด้วยแร่ธาตุต่างกัน
มีสมมุติ​ฐานเกี่ยวกับดวงจันทร์​ ที่นักดาราศาสตร์​เชื่อถือมากที่สุดคือ ดวงจันทร์อาจเกิดจากการพุ่งชนของอะไรซักอย่าง อาจเป็นดาวหาง หรือวัตุบินไม่ปรากฎสัญชาติ​ (ไปโน่น)​ จนทำให้ส่วนหนึ่งของโลกหลุดออกไปในอวกาศ เศษชิ้นส่วนขนาดใหญ่หลายชิ้น ได้หลอมรวมเข้าด้วยกัน จนสุดท้ายเกิดเป็นดวงจันทร์ ที่กลายเป็นดาวบริวารของโลกในที่สุด
สำหรับดาวดวงอื่นนั้น​ มักประกอบจากสะสารแร่ธาตุที่แตกต่างกันออกไป เช่น ดาวหาง ประกอบไปด้วย น้ำแข็ง ก๊าซที่แข็งตัว และก้อนหิน ดาวเสาร์ประกอบไปด้วย มีเทน กำมะถัน และแอมโมเนีย ดาวอังคารประกอบไปด้วย บะซอลต์ ซิลิกอน และผงเหล็ก แม้ในอวกาศที่ว่างเปล่า ไร้ดวงดาว ก็ยังประกอบไปด้วยอะตอมไฮโดรเจน ถึงแม้​จะมีเพียงเล็กน้อยก็ตาม
สิ่งที่น่าสนใจคือ บนดาวแคระขาวเย็น ประกอบไปด้วยคาร์บอนที่ผ่านการบีบอัด จนมีโครงสร้างที่อัดแน่น ซึ่งนั่นเป็นรูปแบบเดียวกับการตกผลึกของเพชร นอกจากนี้ บนดาวเคราะห์น้อย ยังประกอบไปด้วย หิน น้ำแข็ง และแพลททินั่ม ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดการณ์กันว่า โลหะที่อยู่บนดาวเคราะห์น้อยขนาด 500 เมตร หนึ่งดวงนั้น อาจมีมูลค่ากว่า 3 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ
1
9 ความเย็นสุดขั้วอยู่ที่ไหน
เรามักเข้าใจกันว่า ความเย็นสุดขั้วนั้น น่าจะอยู่นอกอวกาศหรืออาจอยู่บนดาวที่ห่างไกล​ ดวงไหนซักดวง แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เลย อย่างน้อยก็ในตอนนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่า หลุมอุกกาบาตเฮอร์ไมต์ บนด้านมืดของดวงจันทร์ มีความเย็นระดับมหัศจรรย์ที่ -247 องศาเซลเซียส
ในห้วงอวกาศ อุณหภูมิก๊าซที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วของเนบิวล่าบูเมอร์แรง มีความเย็นมากถึง -272.15 องศาเซลเซียส และสถานที่ ที่เย็นที่สุดในจักรวาล อยู่บนโลกเรา ในห้องทดลอง ขณะที่ทีมนักวิทยาศาสตร์ใช้แสงเลเซอร์ แยกความร้อนออกจากกลุ่มหมอกขนาดเล็กของอะตอม อุณหภูมิบันทึกไว้ได้ที่ -273.14 องศาเซลเซียส
ในทางทฤษฎีแล้ว อุณหภูมิ -273.15 คือค่าศูนย์สัมบูรณ์ ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ต่ำที่สุด "ที่เป็นไปไม่ได้" แต่การทดลองครั้งนี้ ทำให้เราเข้าใกล้องศาศูนย์สัมบูรณ์ แม้ว่าความจริง ค่านี้จะไม่สามารถเข้าถึงได้ก็ตาม
10 เรามองเห็นดวงดาวได้ แม้ในตอนกลางวัน
นอกจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ในช่วงกลางวัน​ เราก็ยังสามารถสังเกตเห็นดาวฤกษ์ดวงอื่นได้อีกด้วย แค่ไม่ใช่ด้วยตาเปล่า แต่ด้วยกล้องโทรทรรศน์คลื่นวิทยุ นั่นเป็นเพราะว่า ดาวฤกษ์แต่ละดวง จะปล่อยคลื่นออกมาตลอดเวลา
1
คลื่นที่ดาวฤกษ์ปล่อยออกมา แบ่งเป็นสามคลื่นด้วยกัน ความสูงของคลื่น 1 ถึง 2 เมตร (ไม่เกี่ยวซักหน่อย) คลื่นพลังงานเหล่านี้ มีขนาดความยาวที่ต่างกัน โดยคลื่นพลังงานขนาดกลาง จะอยู่ในรูปแบบแสง ที่เราสามารถมองเห็นได้ ในเวลากลางคืนนั่นเอง
คลื่นอย่างที่สอง คือคลื่นพลังงานขนาดยาว มันเป็นคลื่นที่มีคุณลักษณ์ต่างออกไป มีความเข้มข้นมากพอที่จะก่อให้เกิดคลื่นไมโครเวฟ ส่วนแบบสุดท้าย คือคลื่นพลังงานความยาวพิเศษ คลื่นชนิดนี้สามารถทำให้เกิดคลื่นวิทยุ
กล้องโทรทรรศน์คลื่นวิทยุ ที่อยู่ตามหน่วยงานหรือศูนย์วิจัยต่าง ๆ นั้น สามารถรับคลื่นพลังงานความเข้มข้นสูง จากดาวฤกษ์ได้ แม้ในช่วงเวลากลางกัน ที่ถูกบดบังด้วยแสงจากดวงอาทิตย์
อ้างอิง
หนังสือ 100 เรื่องต้องรู้ก่อนโต อวกาศ
กดไลค์ถ้าถูกใจ
แชร์หากเห็นว่ามีประโยชน์
คอมเมนท์เพื่อแนะนำติชม
1
โฆษณา