26 มิ.ย. 2021 เวลา 06:05
การนั่งสมาธิโดยจับอาการของลมหายใจ ที่เรียกว่าอานาปาณสติ เป็นแค่วิธีหนึ่งในหมวดกายานุสติปัฏฐาน ซึ่งมีหมวดใหญ่อีก 4 หมวด ได้แก่ กายานุสติ, เวทนานุสติ, จิตตานุสติ และธรรมมานุสติ
การนั่งสมาธิ แบบเพ่ง ที่เรียกว่าสมถะกรรมฐาน ก็จะต่างจากสติปัฏฐาน 4 เพราะได้ผลลัพธ์ในเรื่องฌาน มีอารมณ์เช่น วิตก-วิจาร ปิติ สุข เอกคตา เป็นต้น
การนั่งสมาธิ ทั้ง 2 แบบข้างต้น คนทั่วไป อาจจะสับสนแยกไม่ออก เพราะท่านั่งที่มองเห็นจากภายนอกดูไม่ต่างกัน แต่สิ่งที่ต่างคืออารมณ์ของคนนั่ง
ถ้านั่งสมาธิแบบกายานุสติ คนทั่วไปสามารถทำได้ง่ายและไม่จำเป็นต้องอยู่ในท่านั่งสมาธิ
แต่ถ้านั่งแบบสมถะกรรมฐาน คนทั่วไปทำได้ยากถ้าไม่ได้อยู่ในท่านั่งสมาธิ (นอกจากผู้ที่เชี่ยวชาญมาก ๆ แล้ว จึงสามารถทำสมถะกรรมฐานได้ทุกอริยาบท)
ที่กล่าวมายืดยาว เพื่อให้ทราบว่า การนั่งสมาธิ เป็นคำที่กว้างมาก สามารถเข้าใจไปหลายแบบที่แตกต่างกัน และต้องทำความเข้าใจแบบลึกซึ้ง จึงจะตอบคำถามได้แบบละเอียดครับ
ถ้าให้ตอบคำถามง่าย ๆ แบบคนไม่เข้าใจลึกซึ้งคือ
คนทั่วไป ควรทำสติปัฏฐาน 4 เป็นพื้นฐาน มีวิธีทั่วไปคือ
1. นั่งสมาธิ กำหนดลมหายใจ
2. เดินจงกรม
3. กำหนดลมหายใจตลอดเวลาเมื่อใช้ชีวิตปกติ
ดังนั้น เป็นคำตอบของคำถาม คือ เราสามารถกำหนดสติโดยไม่ต้องนั่งสมาธิได้ครับ
วิธีการคือ ไม่ว่าเราจะทำอะไรในชีวิตประจำวัน ให้เรานึกถึงลมหายใจตลอดเวลา
ระหว่างเดิน ระหว่างเคี้ยวข้าว ระหว่างขับรถ ให้เรากำหนดจิตมารู้ลมหายใจไปด้วย
หายใจเข้ารู้ว่าหายใจเข้า, หายใจออกรู้ว่าหายใจออก, หายใจสั้นรู้ว่าสั้น, หายใจยาวรู้ว่ายาว
แบบนี้จึงเรียกว่าทำสมาธิ (ในความหมายของคนทั่วไป) โดยไม่ต้องนั่งสมาธิครับ
โฆษณา