4 ก.ค. 2021 เวลา 07:50 • สุขภาพ
ติดโควิด แต่เตียงเต็ม !! ทำยังไง ?
แนวทางในการปฏิบัติตัวเมื่ออยู่ที่บ้าน !
มีหลายคนที่กำลังอยู่ในสถานการณ์ที่กำลังติดเชื้อโควิด 19 แต่กลับต้องพบเจอกับปัญหา เตียงเต็ม หรืออยู่ในระหว่างรอเจ้าหน้าที่ติดต่อประสานงานให้มา Admit หรือ กำลังหาสถานที่ให้เราไป Admit
Learning Never Ends
ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลสนาม หรือที่ไหนก็ตาม ซึ่งแน่นอนว่าผู้ที่กำลังป่วยเป็นโควิด 19 ต่างก็กำลังจิตตก เครียด และกลัว
วันนี้เราจะมาลองดูกันว่า ประเทศอื่นที่เขาผ่านวิกฤติปัญหา หรือช่วงการระบาดหนักๆ มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก เตียงเต็ม และผู้ป่วยต้องอยู่ที่บ้าน เขาทำกันอย่างไร และรอดกันมาได้ยังไง ?
วันนี้แอดเลยมาบอกวิธีหรือแนวทางในการปฏิบัติตัวระหว่างที่เราต้องรอเตียงจากโรงพยาบาลอยู่ที่บ้านกันนะคะ ว่าควรทำอย่างไรบ้าง ?
💥 ข้อปฏิบัติตัวเมื่ออยู่ที่บ้าน
1. แยกห้องนอนและแยกส่วนการใช้ชีวิตในบ้าน
หากใครที่มีห้องส่วนตัวได้จะดีมากๆ แต่หากคุณอยู่ห้องรวมไม่สามารถแยกห้องส่วนตัวได้ อย่างน้อยที่ที่เราจะต้องนอนหรือทานอาหาร หรือใช้ชีวิตในระหว่างวัน ควรจะอยู่ห่างๆจากคนอื่น สัก 1-2 เมตร ก็ยังดี โดยการแยกมุมออกมาคนเดียว
สำหรับผู้ป่วยที่บ้าน ที่มีผู้อาศัย เช่น มีผู้สูงอายุ มีเด็ก และมีสถานที่ในบ้านจำกัด ต้องอยู่รวมกัน ก็สามารถอยู่ได้นะคะ แต่ต้องเว้นระยะห่าง แยกมุมออกมา ห้ามไปไกล้คนอื่นๆและสวมหน้ากากตลอดเวลาค่ะ
2. ต้องมีคนดูแล
freepik
ต้องมีคนดูแลสัก 1 คน และบุคคลนั้นควรจะเป็นคนที่แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว อายุวัยกลางคนก็จะดีมาก คล่องแคล่ว สื่อสารได้และคุยกับเจ้าหน้าที่รู้เรื่อง เพื่อที่จะช่วยเราในเวลาที่หาอาหารมาให้ทาน หรือติดต่อกับเจ้าหน้าที่ให้ได้ในเวลาที่เกิดเหตุฉุกเฉิน
2
3. อุปกรณ์ที่เราต้องเตรียมข้างเตียง
freepik
📍เริ่มตั้งแต่ ถังขยะก่อนเลย ถังขยะของเราจะต้องเป็นส่วนตัวและมีฝาปิดให้เรียบร้อย
📍กระดาษทิชชู่หรือผ้าส่วนตัว ที่จะต้องเอาไว้คอยเช็ดปากในเวลาที่เราไอหรือจาม
📍แอลกอฮอล์ล้างมือ
📍ถุงมือและหน้ากากอนามัย
📍ที่วัดอุณหภูมิ
📍ที่วัดออกซิเจน (ถ้ามีนะคะ)
📍ผ้าเย็นหรือน้ำแข็ง เอาไว้สำหรับประคบหน้าผากเวลาที่เราตัวร้อนมากๆ
📍 น้ำดื่มและแก้วน้ำ ส่วนตัว
📍 ยาสามัญ ยาในที่นี้คือ ยาแก้ปวดเมื่อย, ยาพารา,ยานวด, ยาแก้ไอ, ยาลดน้ำมูก , ยาละลายเสมหะ , ยาอม รวมไปถึงยาส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับโรคประจำตัวที่รับประทานอยู่แล้ว ( ถ้ามีนะคะ )
📍 ที่ชาร์จแบตโทรศัพท์ , ไอแพด, คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คส่วนตัว , มือถือ , หนังสือ อื่นๆ
4. พยายามใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา
1
freepik
คุณควรจะสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา เพราะเราจะได้ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่คนอื่น กฏเหล็กเลยคือ เราอยู่บ้านเราต้องห้ามแพร่กระจายเชื้อให้กับคนในบ้าน
2
เมื่อไหร่ที่เราต้องการไอหรือจามก็ควรไอหรือจามใส่กระดาษทิชชู่ หรือผ้าส่วนตัวของเรา และทิ้งในถังขยะส่วนตัวที่มีฝาปิดสนิท (กรณีใช้ผ้าส่วนตัว ผ้านั้นจะต้องหมั่นซักและตากหรือผึ่งส่วนตัว )เป็นไปได้แนะนำว่าให้ใช้กระดาษทิชชู่จะดีกว่ามาก ใช้แล้วทิ้งลงในถังขยะปิดฝาสนิท จะดีกว่า
5. ระวังเรื่องมือ การสัมผัส
freepik
มือของเรา บางทีเราจะเผลอไปสัมผัสกับสารคัดหลั่งของเรา ไม่ว่าจะเป็น ไอ จาม น้ำมูก น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ ดังนั้นเมื่อไหร่ที่เราสัมผัสสารคัดหลั่งเหล่านี้แล้ว สิ่งสำคัญที่สุด คือ อย่าลืมล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ (สามารถหาข้อมูลหรือเทคนิคการล้างมือได้นะคะ) เช็ดให้แห้งด้วยกระดาษทิชชู่ แล้วทิ้งในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด
อย่าลืมนะคะ มือของเราสำคัญมาก เพราะมือของเราสามารถแพร่เชื้อไปหาผู้อื่นได้และสามารถนำเชื้อกลับเข้ามาสู่ตัวเราได้เช่นกันค่ะ
6. อาบน้ำ
freepik
คุณสามารถลุกอาบน้ำได้ตามปกติ แต่ถ้าหากว่าคุณรู้สึกว่าเมื่อย เพลีย ไม่มีแรง ยืนนานๆแล้วรู้สึกเหนื่อย ก็ให้ใช้วิธีเช็ดตัวแทนนะคะ อ้อ! มีอีกหนึ่งอย่าง คือการอาบน้ำฝักบัวอยากให้งดเว้นเปิดฝักบัวราดหรือรดลงมาบนศรีษะของเราโดยตรง หลายคนไม่รู้นะคะ ว่าการที่เราเปิดน้ำฝักบัวจากข้างบน รดลงมาบนหัวเรา มันทำให้ปอดของเราทำงานหนัก โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ควรงดการกระทำแบบนี้นะคะ
และพยายามอย่าอาบเช้าเกินไปนะคะ ให้อาบในเวลาที่อากาศกำลังดี เช่น 9 โมงเป็นต้นไป ส่วนกลางคืนก็อาบตั้งแต่เย็นๆหรือหัวค่ำ อย่าอาบน้ำดึกจนเกินไปค่ะ
7. แยกทานอาหาร ภาชนะต่างๆ
https://pin.it/7x0Oa3c
ควรแยกจาน ช้อน อาหาร ภาชนะ ต่างๆจากของคนอื่นเมื่อทานเสร็จแล้ว ล้างให้สะอาดและแยกภาชนะเหล่านั้นเป็นของเราคนเดียว ห้ามปะปนกับของคนอื่นเด็ดขาด
สำหรับคนที่ดูแล หรือปรุงอาหารให้กับคนป่วย เวลาที่เอาอาหารไปให้ผู้ป่วยหรือไปเก็บจาน แก้ว ช้อน ต่างๆ ควรสวมหน้ากากอนามัยและสวมถุงมือทุกครั้ง เพราะตามแก้ว จาน ช้อน อาจจะมีสารคัดหลั่งของผู้ป่วยติดมาได้ และสามารถติดเชื้อได้
กรณีบ้านที่มีคนอยู่เยอะๆ เช่น สังคมคนอินเดีย หรือเชื้อสายจีน จะมีโอกาสที่ติดกันได้สูงมาก จุดที่มักจะพลาดส่วนใหญ่ คือ ตามราวจับ ราวบันได ลูกบิดประตู ฝักบัว ก๊อกน้ำ เป็นต้น ต้องระมัดระวังกันด้วยนะคะ
💥 ข้อปฏิบัติของผู้ป่วยที่ต้องทำมีอะไรบ้าง
1. ยาประจำตัว
freepik
หากผู้ป่วยมียารักษาโรคประจำตัว ก็รับประทานยาตามปกติ ถ้าแพทย์ไม่ได้สั่งให้หยุด ก็ทานตามปกติได้เลยค่ะ
2.อาจมีอาการปวดเมื่อย ไข้ มีน้ำมูก และไอได้
freepik
สิ่งเหล่านี้คุณต้องเตรียมใจไว้เลยว่า มีแน่นอน เพราะฉะนั้นอย่าลืมเตรียมยา พารา (ทานได้ 4-6 ชม. แต่ถ้าหากปวดเมื่อยเฉยๆไม่มีไข้ ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้ ถ้าปวดเมื่อย มีไข้ด้วย ก็ใช้พาราช่วยได้ค่ะ) ,แก้ไอ, ลดน้ำมูก, ยาละลายเสมหะ ,ยาอม
3. ดื่มน้ำให้เพียงพอ
freepik
ดื่มน้ำอุณหภูมิห้องให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย วันละ 2 ลิตรก็จะดีมากค่ะ น้ำจะช่วยขับสารต่างๆ ในร่างกายออกมาทางปัสสาวะได้ดี ถ้าเราไม่ได้มีข้อห้าม เช่น ไม่ได้เป็นโรคไต โรคหัวใจ หรืแพทย์ไม่ได้สั่งห้าม ดื่มน้ำได้เต็มที่เลยค่ะ
น้ำดื่มหรือประเภทเครื่องดื่มที่ต้องระวัง คือ แอลกอฮอล์ คาเฟอีน 2 อย่างนี้ห้ามดื่มเลยนะคะ การดื่มคาเฟอีนจะทำให้เรารู้สึกกระหายน้ำหรือขาดน้ำได้ และจะกระตุ้นให้หัวใจของเราเต้นเร็ว และแอลกอฮอล์อาจจะทำให้เราเป็นตับอักเสบได้
3. อาหารที่ควรทาน
https://pin.it/LDXCeQq
บอกก่อนเลยว่าช่วงนี้คุณจะมีอาการเบื่ออาหาร จะไม่ค่อยอยากกินอะไร จะรู้สึกขมปาก อาหารควรจะเป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย หากไม่ค่อยหิว ก็สามารถทานน้อยๆได้แต่ให้กินบ่อยๆ
หลีกเลี่ยงอาหารย่อยยาก เช่น ทอด มัน กะทิ หวาน ปิ้ง ย่าง งดไปก่อนนะคะ ถ้าท้องเราเบาก็จะช่วยลดการใช้พลังงานในร่างกาย อย่าลืมนะคะว่าช่วงนี้ คือ ช่วงที่เราป่วย เป็นช่วงที่เราต้องพักฟื้นและเก็บตัว พยายามใช้พลังงานให้น้อย
ส่วนอาหารเสริม ยังไม่ขอแนะนำนะคะ เพราะตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลในการแพทย์ว่าอาหารเสริมชนิดไหนป้องกันได้ดี ถ้าอยากกินจริงๆแนะนำให้ทานผักผลไม้สด น้ำผลไม้สด ไปเลยจะดีกว่าค่ะ และหากช่วงนี้รู้สึกขมปาก ยาอมจะช่วยคุณได้ค่ะ
4. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
freepik
การนอนสำคัญมากนะคะ พยายามนอนพักให้อิ่ม หากไม่ง่วงไม่เป็นไรค่ะ ก็นอนพักนอนเล่นบนเตียงไป อย่าลืมว่าช่วงนี้ร่างกายของคุณติดเชื้อ การนอนเป็นเทคนิคเดียวที่จะช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายได้ดีมากๆค่ะ พยายามนอนและเก็บแรงให้เยอะๆ
6. หากปวดเมื่อยร่างกาย อย่านวดหรือกดจุด
freepik
หากคุณมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย อย่าบีบ นวดหรือกดจุดนะคะ แต่สามารถทายาเบาๆได้ เพราะหากเรากดหรือนวด อาจจะทำให้กล้ามเนื้อเราอักเสบได้ค่ะหากรู้สึกแน่นหรือหนักหัวมากก็ประคบเย็น ก็จะสามารถช่วยได้อีกทางค่ะ
7. การใช้สายตา
1
https://pin.it/3fT8FJn
อันนี้สำคัญมาก การมองหน้าจอโทรศัพท์มือถือหรือใช้สายตาเยอะ การที่คุณพักผ่อนอยู่บ้าน ไม่ได้หมายถึงว่า คุณต้องเล่นมือถือ หรือเล่นคอมทั้งวันนะคะ การใช้สายตาเยอะๆ จะทำให้สมองทำงานหนัก คุณควรใช้สายตาแต่พอดี อาจจะอ่านหรือฟังบ้างก็ได้ แต่ขอว่าเวลาที่ใช้กับหน้าจอควรจะให้น้อยที่สุด
8. อารมณ์
freepik
แน่นอนว่าช่วงนี้แอดเชื่อว่าคุณจะต้องกังวล จิตตก เครียด กลัว ผสมปนเปกันไปหมด ขอแนะนำว่าคุณควรพยายามควบคุมอารมณ์ของตนเองให้ดี การที่เราจะคุมอารมณ์ของเราได้ดีเลย คือ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ต่อมาให้สังเหตุอาการป่วย หากเจ็บ ปวด ตรงไหนก็ให้หายาทา หรือประคบเย็น ห้ามนวดนะคะ
หลังจากนั้นคุณก็มาพัฒนาอารมณ์ของตนเอง เช่น ฟัง หรือดูคลิปหรือสิ่งที่คุณชอบ ดูตลก ละคร ดูหนัง ฟังเพลง ฟังธรรมะ หรืออ่านหนังสือ อ่านแมกกาซีน โทรคุยกับเพื่อน แต่ถ้าเกี่ยวกับหน้าจอพยายามอย่าใช้เวลานานนะคะ
9. งดออกกำลังกาย
freepik
ช่วงที่ป่วยยังขอแนะนำว่า ยังไม่อยากให้ออกกำลังกายนะคะ เพราะอยากให้ร่างกายพักผ่อนอย่างเพียงพอ เวลาอยู่บนเตียงก็พยายามพลิกตัว ขยับตัวไปมา ทุก 2 ชม. เปลี่ยนท่าบ่อยๆหรือฝึกการหายใจเข้า - ออก บนเตียงแทนค่ะ
💥 ข้อสังเกตุตนเอง
หากคุณแค่พลิกตัวอยู่บนเตียงแล้วรู้สึกว่าตนเองหายใจเหนื่อย หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่ทัน หรือปกติเวลาเราเดินไปอาบน้ำ แปรงฟัน ทานข้าว ไม่เคยเหนื่อยแต่พอป่วยแล้วเรารู้สึกเหนื่อยมากๆ แบบนี้อาจจะต้องรีบโทรแจ้งไปที่โรงพยาบาลที่เราตรวจโควิดทันทีนะคะ
1
หากมีที่วัดออกซิเจนก็ลองวัดออกซิเจนดูนะคะ หากว่าออกซิเจนต่ำกว่า 96-95 หรือหายใจเข้าลึกๆแล้วสะอึกหรือไอรวมไปถึงทานอาหารอะไรก็ไม่ได้ ทานไปแล้วอาเจียนออกมาตลอด ก็ควรรีบแจ้งโรงพยาบาลที่ตรวจโควิดทันทีค่ะ
แอดหวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านหรือหรือผู้ที่กำลังติดเชื้อโควิด 19 และกำลังรอเตียงอยู่นะคะ และที่สำคัญแอดขอให้ผู้ที่กำลังติดเชื้อพยายามมีสติ และดูแลตนเองให้ดีที่สุดนะคะ แอดขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจช่วยให้คุณต่อสู้กับสถานการณ์ที่ยากลำบากเช่นนี้ค่ะ เป็นกำลังใจให้นะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
นพ.วินัย โบเวจา แพทย์คลินิกอายุรกรรม โรคปอด โรงพยาบาล พญาไท 3
โฆษณา